Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

เครื่องวัดความดัน

การรักษาความดันโลหิตสูงคือการรักษาให้ความดันโลหิตมีค่าต่ำกว่า 140/90มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับอวัยวะที่สำคัญ คือ หัวใจ ตา ไต และสมอง


การรักษาความดันโลหิตสูง แบ่งใหญ่ ๆ ได้ 2 วิธี คือ

การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วน จำกัดเกลือหรืออาหารรสเค็ม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการบวม ออกกำลังกายให้พอเหมาะกับสภาพของร่างกายแต่ละบุคคล อย่าออกกำลังกายมากเกินไป งดหรือลดการดื่มสุรา ไม่ควรดื่มสุราเกินวันละ 2 ออนซ์ หรือ 60 มล. ผ่อนคลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเมื่อทำได้ตามนี้ทดลองใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจเช็คจะพบว่าความดันโลหิตลดต่ำลง
การรักษาโดยใช้ยา ผู้ป่วยจะได้รับยาลดความดันโลหิตสูงเมื่อการปฏิบัติตนโดยไม่ใช้ยาไม่สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ หรือผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมากตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูง


การดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

1. การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปมีดังนี้

แนะนำ ส่งเสริม และดูแลสุขภาพโดยทั่วไป เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้ประชาชนเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือถ้ามีความดันโลหิตสูงก็มีความรู้เพียงพอที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ตรวจวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน ให้แก่ประชาชนที่มาตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบว่ามีความดันโลหิตสูงหรือไม่ ตรวจหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงแก่ประชาชน ได้แก่ กระตุ้นให้สนใจหาความรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ สร้างสุขนิสัยหรือมีพฤติกรรมป้องกันความดันโลหิตสูง ได้แก่อย่าให้อ้วน เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความดันโลหิตสูง ต้องสร้างสุขนิสัยไม่บริโภคมากเกินโดยเฉพาะการรับประทานเนื้อสัตว์ ไขมันอิ่มตัว และอาหารที่มีรสเค็มจัด ผู้บริโภคมังสวิรัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้บริโภคเนื้อสัตว์ จากการวิจัยพบว่าถ้าคนอ้วนลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ความดันโลหิตจะลดลง 2.5มม.ปรอท ออกกำลังกายให้ถูกต้องเพียงพอโดยสม่ำเสมอ การฝึกจิตไม่ให้เครียดโดยการเจริญสติ เจริญสมาธิ มีความเมตตา ไม่โกรธหรือวู่วาม ช่วยลดการเป็นความดันโลหิตสูงได้ งดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัวทำให้หลอดเลือดตีบงดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย และเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย

2. การดูแลผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยถึงปานกลางซึ่งคนกลุ่มนี้จะรักษาตัวที่บ้านด้วยการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับภาวะโรคโดยไม่ต้องใช้ยาหรือใช้ยาร่วมด้วย

2.1 ถ้าได้รับการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตนแนะนำให้มาตรวจร่างกายและใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิตตามหลักการจัดระดับของความดันโลหิตสูง แบบ 4 ระดับ (Four stages) ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ ดังนี้

เครื่องวัดความดัน

2.2  ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยตระหนักถึงการรับประทานยาและมารับยาไปรักษาโดยสม่ำเสมอ เพราะอาจต้องปรับขนาดของยาหรือเปลี่ยนชนิดของยาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และต้องหมั่นตรวจด้วย เครื่องวัดความดัน โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดพยาธิสภาพมากขึ้นโดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ต้องให้ข้อมูลและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ป่วยจนเกินไป

3.  ถ้าผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ หรือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง จะต้องเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจทางห้องทดลองและการตรวจพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray) เจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่า BUN, creatinineเพื่อประเมินหน้าที่ของไต ตรวจหา cholesterol และtriglyceride เพื่อประเมินการเกิดภาวะตีบตันของหลอดเลือด และการตรวจเพื่อหาสาเหตุของความดันโลหิตสูง ได้แก่ electrolyte ระดับน้ำตาลในเลือด และตรวจปัสสาวะ

4. การดูแลผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง มีดังนี้
ใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิตทุก 1-2 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านี้ตามความจำเป็น ให้ยาลดความดันโลหิตทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา ซึ่งยาจะลดความดันโลหิตเร็วมาก จึงอาจต้องวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน ทุก 5 นาที และตรวจวัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินการรักษาด้วยยา  ตรวจร่างกาย เน้นระบบประสาท ได้แก่ ประเมินระดับความรู้สึก โดยดูจากขนาดและปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา การเคลื่อนไหวของแขน ขา ตรวจปฏิกิริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ ตรวจหัวใจ ปอด และไต เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความดันโลหิตสูงรุนแรง เช่น ปอดบวม (pulmonary edema) หัวใจวาย หัวใจขาดเลือด และไตวาย เป็นต้น

ประเมินอาการปวดศีรษะว่ามีหรือไม่ มีอาการตั้งแต่เมื่อไร อะไรเป็นสาเหตุส่งเสริม เพื่อพิจารณาให้การแก้ไข เช่น แก้ไขภาวะเครียดโดยการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พูดคุย ตอบข้อซักถามด้วยความเต็มใจ จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ วางแผนร่วมกับผู้ป่วยในการดูแลจิตใจให้สงบ ให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดช่วยร่วมวางแผนการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะการช่วยเหลือให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมาก อาจต้องใช้ยากล่อมประสาทตามแผนการรักษา เป็นต้น

5. การดูแลผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงในระยะเรื้อรัง มีดังนี้
5.1 การควบคุมอาหารเค็ม อาหารไขมัน และอาหารที่ให้พลังงานสูง กล่าวคือแนะนำให้ผู้ป่วยลดหรืองดรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารรสเค็มต่างๆ อาหารกระป๋องซึ่งมักจะมีส่วนผสมของโซเดียม อาหารเคี้ยวกรอบที่มีรสเค็ม หลีกเลี่ยงการใช้สารอาหารและยาที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ ผงชูรส (monosodium glutamate) รวมทั้งเครื่องปรุงรสของบะหมี่สำเร็จรูป ผงกันบูด(sodium benzoate) สารกันเชื้อราในขนมปัง (sodium propionate) สารใส่ไอศกรีมให้เหนียว (sodium alginate) ผงฟูในการทำเค้กหรือขนมปัง (sodium bicarbonate) สารใส่ผลไม้กระป๋องให้คงสีธรรมชาติ (sodium sulfite) ยาโซดามินท์ เป็นต้น เกลือ 1 กรัม มีโซเดียม 17.1 มิลลิอีควิวาเลนท์ และเกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2.3 กรัม หรือ 100 มิลลิอีควิวาเลนท์ สำหรับอาหารที่รับประทานประจำวันโดยทั่วไปมีปริมาณเกลือ 10 – 20 กรัม จากปริมาณนี้ เกลือประมาณ 2/3 พบในอาหารตามธรรมชาติ ส่วนอีก 1/3 เป็นเกลือที่เพิ่มขึ้นจากการปรุงอาหาร จากการศึกษาพบว่าถ้าลดปริมาณการบริโภคเกลือจาก 10 กรัม ลงเหลือ 5 กรัมต่อวัน เมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน เช็คจะพบว่าสามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 10 มม.ปรอท ควบคุมอาหารไขมัน โดยใช้น้ำมันพืช น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนลิอิคสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว เป็นต้น แต่ไม่ควรใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มเพราะให้พลังงานสูง ไม่ควรใช้น้ำมันจากสัตว์เพราะเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวมีสารโคเลสเตอรอลสูงชึ่งทำให้หลอดเลือดอุดตัน ควบคุมอาหารที่มีพลังงานสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากกะทิ หอยนางรม ไข่แดง อาหารที่มันมาก เช่น ข้าวขาหมู หนังเป็ด หนังไก่ หนังหมู มันกุ้ง มันปู โดยเฉพาะผู้ที่มี cholesterol สูง

ตัวอย่างอาหารที่เหมาะกับผู้ที่มรความดันโลหิตสูงThe  DASH  (Dietary  Approach  to  Stop  Hypertension)  Eating  Plan

เครื่องวัดความดัน

5.2 การออกกำลังกาย แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับสภาพหัวใจ หลอดเลือด สภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อม เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือแม้แต่การทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องระวังไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหมหรือมากเกินไป เช่นการออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อย การยก ผลัก ดึง แบก เข็น และหลีกเลี่ยงการแข่งขันเพราะทำให้เกิดความเครียด


การบริหารร่างกายสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง ควรปฏิบัติดังนี้


  • เดินไปมาในระยะ 1-2 กิโลเมตร หรือตามความเหมาะสมตามสุขภาพของร่างกาย
  • รำมวยจีน เล่นปิงปอง หรือสนุ๊กเกอร์
  • ห้ามวิ่งหรือยกของหนักๆ หรือเล่นกีฬาที่ออกกำลังกายมากๆ เช่น ตีเทนนิส หรือยกน้ำหนัก
  • แกว่งแขนทั้งสองข้างเบาๆ ไปข้างๆ ข้างหน้า ข้างหลัง และแกว่งรอบตัวตามความเหมาะสม การรักษาและการปฏิบัติตนสำหรับผู้มีความดันโลหิตต่ำ
  • ต้องบริหารร่างกายทุกวัน โดยการวิ่งเบาๆ กระโดดเชือก เล่นปิงปอง แบดมินตัน ว่ายน้ำหรือกีฬาเบาๆ ที่ชอบและถนัด
  • ถ้ามีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ ก็ขอยาบำรุงความดันโลหิตจากแพทย์ได้การออกกำลังการอย่างไรให้เหมาะสม ความถี่  อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์  หรือวันเว้นวัน ทำต่อเนื่องนาน 20 นาที ถึง 60 นาที ระดับความหนักที่เหมาะสม  ให้เหนื่อยพอสมควร  ยังพอพูดและคุยได้  อย่าให้เหนื่อยมากจนพูดไม่ออก สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกาย  หรือออกกำลังไม่สม่ำเสมอ  ควรเริ่มต้นโดยการออกกำลังในระดับเบา  และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาดังนี้

–  สัปดาห็ที่ 1 วันละ 1- 2ครั้ง  ครั้งละ10 โ€“ 15 นาที
–  สัปดาห็ที่ 2 วันละ 1- 2ครั้ง  ครั้งละ15 โ€“ 20 นาที
–  สัปดาห็ที่ 3 วันละ 1-2ครั้ง  ครั้งละ20 โ€“ 25 นาที
–  สัปดาห็ที่ 4 วันละ 1- 2ครั้ง  ครั้งละ25 โ€“ 30 นาที
ถ้าเริ่มออกกำลังกายต่อเนื่องได้นาน 30 นาที ครั้งต่อไปให้เริ่มออกกำลังในระดับที่หนักขึ้น
–   หลังสัปดาห์ที่ 5- 6 ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาจนได้30 โ€“ 60 นาที ทำวันละ 1 รอบ หรือวันเว้นวัน


ขั้นตอนการออกกำลังกาย

  1. เริ่มต้นด้วยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  2. เริ่มออกกำลังกายเบา ๆ 5 -10 นาที
  3. เมื่อออกกำลังกายเบา ๆ ครบ 5- 10นาที ให้ออกกำลังกายหนักขึ้นจนรู้สึกเหนื่อยพอสมควร
  4. เมื่อออกกำลังกายต่อเนื่องครบตามเวลาที่ตั้งเป้าไว้ให้ออกกำลังเบาลง 5- 10นาที  จึงหยุดออกกำลังกาย
  5. จบด้วยการเหยียดยืดกล้ามเนื้ออีกครั้ง

ถ้าท่านต้องการออกกำลังกายให้หนักมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์  เพราะการออกกำลังกายหนักเกินไป  อาจทำให้ความดันโลหิตสูงจนเกิดอันตรายได้  การออกกำลังกายแบบยกน้ำหนักกล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกน้ำหนักจะมีการเกร็งตัวมาก  ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้  ถ้าท่านต้องการออกกำลังกายประเภทนี้  ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ว่าท่านทำได้อย่างปลอดภัยหรือไม่  และควรใช้น้ำหนักเท่าไรก่อนเริ่มออกกำลังด้วยตนเอง  โดยทั่วไปควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอระยะหนึ่งก่อน  จึงเริ่มยกน้ำหนักได้ขณะออกกำลังควรทำช้า ๆ ขณะที่เกร็งกล้ามเนื้อให้หายใจออกจังหวะที่คลายกล้ามเนื้อให้หายใจ  เข้า -ออก  อย่ากลั้นหายใจ  ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยมาก  เวียนศีรษะ  เจ็บหน้าอก  ให้หยุดออกกำลังกายและปรึกษาแพทย์
5.3 แนะนำให้ผู้ป่วยงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบด้วย เพราะนิโคติน (nicotine) ในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัวซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
5.4 แนะนำให้ผู้ป่วยงดดื่มสุรา เพราะแอลกอฮอล์จะเพิ่ม renin หรือ aldosterone ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
5.5 แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงภาวะเครียดซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ควรทำจิตใจให้ แจ่มใส หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่นการออกกำลังกาย เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนั่งสมาธิ การพักผ่อนให้เพียงพอโดยเฉพาะการนอนหลับให้สนิท ถ้ามีปัญหาหรือมีความเครียดสูงอาจต้องปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ซึ่งอาจปรึกษาทางโทรศัพท์ก็ได้ หรืออาจใช้เครื่องมือให้ข้อมูลป้อนกลับ(Bio feedback) ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยทราบกลไกที่เกิดขึ้นในร่างกายได้ด้วยตนเอง จากการวิจัยพบว่าวิธีนี้ช่วยลดความดันโลหิตได้
5.6 แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยา ได้แก่


ยาลดความดันโลหิตสูง

ยาลดความดันโลหิตสูงแบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 5 กลุ่มซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน ยาในแต่ละกลุ่มมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ยาทั้ง 5 กลุ่มได้แก่

1 ยาขับปัสสาวะ  (Diuretics) เป็นยาที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาความดันโลหิตสูงที่ไม่รุนแรง ตลอดจนเป็นยาที่ใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความดันได้เป็นอย่างดี ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ในการควบคุมความดันได้ดีที่ขนาดยาต่ำๆ ทั้งนี้การเพิ่มขนาดยาให้สูงขึ้นไม่ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น แต่จะเพิ่มอาการไม่พึงประสงค์ของยาเช่นทำให้ระดับกรดยูริคหรือระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และผลที่สำคัญคือการทำให้ระดับโปตัสเซี่ยมต่ำที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นได้

2 Beta-blockersใช้รักษาความดันโลหิตสูงทุกระดับความรุนแรง สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มี angina, post-myocardial infarction, tachyarrthymiaผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มี nephropathy ยาในกลุ่มนี้นอกจากลดความดันแล้ว จะมีฤทธิ์กดการทำงานของหัวใจ จึงห้ามใช้ผู้ที่มี second หรือ third degree heart block รวมทั้งห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด นอกจากนี้ยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการมือเท้าเย็น นอนไม่หลับ ฝันร้าย  ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า บางรายอาจเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
ยากลุ่ม beta-blockers ยังมีผลทำให้เกิด glucose tolerance และไขมันในเลือดสูง ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงที่ใช้ beta-blockers จึงต้องระวังผลดังกล่าวด้วย

3 Calcium channel blockers ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เป็นยาขยายหลอดเลือดทำให้สามารถลดความดันโลหิตได้ แต่ยาในกลุ่มนี้แต่ละตัวอาจมีผลต่อการทำงานของหัวใจต่างกัน เช่น nifedipine, amlodipine, felodipine จะเพิ่มอัตราเต้นของหัวใจ แต่บางตัวเช่น verapamil, diltiazemลดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งความแตกต่างนี้จะใช้เป็นสิ่งที่ช่วยพิจารณาในการเลือกใช้ยาสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยาในกลุ่มนี้คือ เท้าบวม ปวดศีรษะ หน้าแดง nifedipine เป็นยาที่ได้รับความนิยมและมีผลข้างเคียงไม่มากนัก แต่ส่วน verapamil, diltiazem อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก และ เกิด heart block ได้จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

4  Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEI)  และ Angiotensin II receptor antagonists (AII antagonists)
4.1ACEI ยาในกลุ่มนี้เป็นยากลุ่มที่ได้รับความนิยมมากกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากประสิทธิภาพที่ดีในการลดความดัน และมีผลในการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจโต ตลอดจนยังมีผลดีต่อไตและหลอดเลือดที่ไตจึงสามารถใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตร่วมด้วย ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยาในกลุ่มนี้คืออาการไอแห้งๆโดยเฉพาะในสตรีและผู้สูงอายุ อาการอื่นเช่นการรับรสเฝื่อนไป ระดับโปตัสเซี่ยมสูง ความดันโลหิตต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ยาเป็นครั้งแรกซึ่งต้องระวังอย่างมากในผู้ที่ได้รับยาขับปัสสาวะปริมาณสูงหรือผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ยานี้มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดที่ไตตีบเพราะจะทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ยังห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์เพราะมีความเสี่ยงจะทำให้ทารกผิดปกติและมีความดันโลหิตลดลง
4.2 AII antagonistsยาในกลุ่มนี้ให้ผลในการรักษาและอาการข้างเคียงจะคล้ายคลึงกับการใช้ ACEI แต่ไม่เกิดอาการไอเหมือนกับผู้ใช้  ACEI

5. Alpha-blockers ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เป็นยาขยายหลอดเลือด อาการข้างเคียงที่สำคัญจากการใช้ยาในกลุ่มนี้คือทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า รวมทั้งอาการปวดศีรษะและอ่อนเพลียซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในการใช้ยาลดความดันโลหิตทั่วไป ยาในกลุ่มนี้มีข้อดีคือไม่มีผลข้างเคียงทาง metabolic และระดับไขมัน แต่อย่างไรก็ตามผลทางคลินิกของยากลุ่มนี้กลับไม่ดีนัก ในปัจจุบันยากลุ่มนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้มากนักในการควบคุมความดันโลหิต แต่ยังมีที่ใช้บ้างในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไขมัน หรือในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตสูงในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนชนิดของยา ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าช้า ๆ จากนอนเป็นนั่งหรือจากนั่งเป็นยืน ระวังอาการหน้ามืด เป็นลมล้มลง เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมากหรือเร็วเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยควรเริ่มได้รับยาลดความดันโลหิตในขนาดต่ำ ๆ ก่อนในระยะแรก ให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพราะโรคนี้รักษาไม่หายขาด การรักษาอย่างสม่ำเสมอช่วยควบคุมภาวะโรคไม่ให้เป็นมากขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยหรือช้าที่สุด ไม่ซื้อยามารับประทานเอง การได้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพราะอาจต้องมีการปรับขนาดของยา อาจเปลี่ยนยาเพื่อเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงของยา ควรบอกให้ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับยาและผลข้างเคียงของยาโดยสังเขป ถ้ามีอาการผิดปกติจากผลข้างเคียงของยาให้ผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง ควรไปตรวจตามนัดทุกครั้ง และนำยาที่มีทั้งหมดไปด้วย เพราะผู้ป่วยจะได้ยาตามระดับความรุนแรงของความดันโลหิต ถ้าผู้ป่วยได้รับยาขับปัสสาวะ (diuretic) ในกลุ่ม Thiazide ซึ่งมักจะเป็นยาตัวแรกในการรักษาความดันโลหิตสูง เนื่องจากราคาถูกและมีประสิทธิภาพในการรักษาดี แต่มีผลข้างเคียงทำให้โปแตสเซี่ยมต่ำ และจะต้องระวังมากยิ่งขึ้นถ้าผู้ป่วยได้ยา Digitalis ร่วมด้วย ควรแนะนำให้ผู้ป่วยลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม และรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซี่ยม เช่น ผลไม้ โดยเฉพาะกล้วย ส้ม เป็นต้น ถ้าผู้ป่วยได้รับยาที่ทำให้ง่วงได้ เช่น Clonidine,Methyldopaเป็นต้น ควรแนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับรถ การทำงานที่อาจเกิดอันตรายได้จากความง่วง

5.7 แนะนำการวัดความดันโลหิตให้กับผู้ป่วยหรือผู้ดูแล (care giver) เพื่อประเมิน
ผลการรักษาและพยาธิสภาพของผู้ป่วย การวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน ที่บ้านจะได้ค่าที่เที่ยงตรงมากขึ้นเนื่องจากอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากกว่า


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://kmhealth.bcnsurat.ac.th/?p=71

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น