Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

สาเหตุของความดันโลหิตสูง

เครื่องวัดความดัน

     ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่วัดได้จาก เครื่องวัดความดัน และมักจะไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension  เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้


Primary hypertension

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย


Secondary hypertension

เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

  • โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน  hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง



เครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดัน


ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อยสามารถวัดได้จาก เครื่องวัดความดัน เช่นกันแต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด


เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
  • ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  • งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  • รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  • งดการสูบบุหรี่
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  • ไปตามแพทย์นัด
  • ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  • รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  • แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต


ความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
แม้ว่าความดันโลหิตสูงสามารถเป็นได้กับทุกคน แต่มีบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน มาไว้ตรวจเช็คที่บ้านของคุณเอง


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ได้แก่

  • ประวัติครอบครัว ถ้าปู่ บิดา มารดาเป็นความดันโลหิตสูง เมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน เช็คจะพบว่าโอกาสที่บุตรจะมีความดันโลหิตสูงมีมาก ดังนั้นคุณผู้อ่านที่มีคุณพ่อ แม่เป็นความดันโลหิตสูง ควรมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
  • อายุ และเพศ วัยก่อนหมดประจำเดือนผู้ชายจะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง เมื่อวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นความดันโลหิตมากกว่าผู้ชาย ส่านในคนแก่พบความดันโลหิตสูงพอๆกัน โดยมากมักพบความดันในช่วงอายุ 35-50 ปี
  • เชื้อชาติ พบความดันโลหิตสูงในผิวดำมากกว่าผิวขาว


ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ได้แก่

  • น้ำหนัก คนอ้วนพบความดันโลหิตสูงมากกว่าคนผอม โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 เมื่อลดน้ำหนักความดันจะลดลง
  • เกลือ ทานเค็มมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด
  • ความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่
  • ไขมันในเลือดสูง
  • เบาหวาน



อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/hypertension.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น