Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ยาสมองเสื่อม ความจริงที่คนทั่วไปไม่รู้ มีผลกับความดันโลหิตควรหมั่นเช็คด้วย เครื่องวัดความดัน

เครื่องวัดความดัน


“โรคสมองเสื่อม” อันมีอัลไซเมอร์เป็นพระเอกสำคัญ เป็นโรคน่ากลัว ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากป้องกันก็ไม่ได้ เมื่อเป็นไปแล้วอาการจะค่อยๆเลวร้ายลงเรื่อยๆ และหากกินยาสมองเสื่อมจะทำให้มีภาวะความดันโลหิตต่ำ จึงควรมี เครื่องวัดความดัน ไว้ตรวจเช็คอาการ กล่าวคือ เริ่มจากความจำสั้นเรื่อยไปจนถึงความผิดปกติทางความคิด อ่าน การใช้ภาษา การตัดสินใจ จนช่วยตัวเองไม่ได้ แม้แต่กระทั่งแต่งตัว ทานข้าว เข้าห้องน้ำ และมีอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหวและมีอารมณ์แปรปรวน

ยาต่างๆนานาที่มีในขณะนี้ล้วนแล้วแต่เป็นยาช่วยทางอ้อม ในการกระตุ้นสมองให้กระชุ่มกระชวย เหมือนดื่มโอเลี้ยงซักแก้ว ไม่ได้ช่วยแก้ไขสาเหตุ เพราะถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบปัจจัยการเกิดที่ชัดเจน ทั้งนี้โดยหวังว่าจะทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ และช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นและจะสามารถบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับจิต อารมณ์แปรปรวนได้ ซึ่งทำให้ลดภาระของผู้ดูแลได้

ยาที่ใช้กันทั่วโลกในขณะนี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Cholinesterase Inhibitor ซึ่งทำให้สาร Acetylcholine เพิ่มในสมอง และเป็นยาที่ถูกยอมรับให้ใช้ในสหรัฐฯ อังกฤษ และอื่นๆ ตกอยู่ในกลุ่ม cognitive enhancer ยาทั้งหมดในกลุ่มช่วยกระตุ้น แต่ ไม่มีผลในการชะลอโรคหรือไม่สามารถป้องกันการดำเนินของโรคในผู้ป่วย แม้เริ่มให้ในผู้ป่วยตั้งแต่มีอาการเริ่มแรก (mild cognitive impairment) ผลข้างเคียงมีทั้งอาการจิตประสาท การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและการทรงตัวไม่ดีและล้ม

ถ้าหากนำมาใช้ต้องทำการประเมินผลที่ได้ว่าเป็นที่พอใจหรือไม่ทุกๆ 2-3 เดือน และมีการยอมรับจากตัวผู้ป่วยและครอบครัวที่ดูแลหรือไม่ ไม่เช่นนั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ยาในกลุ่มพาร์กินสัน เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเช่นกัน และการรักษาถ้าต้องการเอาใจเพื่อให้ผู้ป่วยพอใจในการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ อาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วและรุนแรงขึ้นไปอีก

เมื่อนำมาประเมินการใช้และประโยชน์ที่มีต่อคนไข้ในประเทศไทยปรากฏว่า ยาในกลุ่มนี้ [donepezil (Aricept), rivastigmine (Exelon), galantamine (Reminyl)] จะให้อรรถประโยชน์จากจำนวนปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงหรือเหมือนกันทุกตัว กล่าวคือประมาณ 0.6 เดือนเท่านั้น ที่สำคัญยาทั้งกลุ่มไม่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย นั่นก็คือ ยาจะชะลอการดำเนินของโรคสู่ระยะที่ต้องให้คนช่วยตลอดเวลาในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายจากเตียงหรือเก้าอี้ได้ เพียงประมาณ 2 เดือนเท่านั้น

จากการประมาณการจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทย มีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่อยู่ในระยะแรกถึงระยะกลางจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 245,374 คน และถ้ารัฐรับภาระด้านงบประมาณของยาในกลุ่มนี้ โดยเลือกยาที่ถูกที่สุด จะต้องใช้เงินเป็นจำนวน 12,768 ล้านบาทในปีแรก และถ้าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 71,400 รายต่อปี จะทำให้รัฐมีภาระด้านงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 3,627 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ไม่รวมถึงผลข้างเคียงจากตัวยาเอง ซึ่งอาจทำให้บางรายมีความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นผู้ที่กินยาชนิดนี้จึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน ไว้ติดบ้านจะได้ตรวจเช็คได้ตลอดเวลา หัวใจเต้นผิดปกติจนถึงต้องใส่แบตเตอรี่หัวใจ หกล้ม กระดูกหัก และบางรายแทนที่จะช่วยบรรเทาอาการทางจิตอารมณ์ กลับมีลักษณะแปรปรวนมากขึ้น หรือมีภาพหลอน ทำให้กลับต้องใช้ยาโรคจิต (Anti-psychotic) ซึ่งมีผลข้างเคียงคือเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ สั่น แข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือมีอาการของโรคพาร์กินสัน อัตราที่ผู้ป่วยต้องเข้าสถานพักฟื้นคนชรา (Nursing Home) ในต่างประเทศ (วารสาร Archives of Internal Medicine 2009 และวารสาร Lancet 2004) หลังจากที่ใช้ยาไป 3 ปี เนื่องจากโรครุนแรงขึ้น ช่วยตัวเองไม่ได้เท่ากับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา และอาการทางพฤติกรรม จิต อารมณ์ ก็ไม่ได้ดูดีกว่ากลุ่มที่ใช้ยา

ข้อมูลของประเทศไทยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นงานวิจัยของ ภญ.เสาวลักษณ์ ตรุงคราวี และคณะ จากกระทรวงสาธารณสุข ที่กล่าวทั้งหมดจะเห็นได้ว่าทั้งคนไข้และหมอเองไม่มีทางเลือกมาก การใช้ยาในกลุ่มดังกล่าวและยาอีกตัวคือ memantine (Ebixa) ซึ่งไม่มี ผลทางการกระตุ้นให้ผู้ป่วยดีขึ้นแต่อาจมีผลชะลอโรคได้บ้างผ่านทางกระบวนการต้านฤทธิ์สารพิษในสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆสาเหตุที่เชื่อกันในขณะนี้ แต่ข้อมูลที่มีก็พบว่าชะลอการดำเนินของโรคได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น

ล่าสุดในปี 2014 ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย US Preventive Service Task Force ในวารสารทางการของสมาคมแพทย์สหรัฐฯ (Ann Intern Med 2014) สรุปเช่นกันว่ายากลุ่มนี้ไม่ได้มีประโยชน์ใดๆในการชะลอโรคอัลไซเมอร์ และผลที่ได้ในการกระตุ้นสมองก็แทบ ไม่เห็นผลชัดเจน เช่นเดียวกับที่มีการสรุป วิเคราะห์รวบรวม หลักฐานก่อนหน้านี้ ในปี 2013 (Carlos H Rojas-Fernandez. Evid Based Ment Health 2013)

เพราะฉะนั้นก่อนที่แพทย์จะสั่งยาต้องคิดหนักแล้วละครับ นอกจากความจริงที่ว่า ยาเหล่านี้ไม่ใช่ยารักษาแต่เป็นยากระตุ้นสมอง (cognitive enhancer) ช่วยปลายเหตุเล็กๆน้อยๆ ยังมีผลข้างเคียงพ่วงเข้ามาทางหัวใจ หกล้มหกลุกจนกระดูกหัก

และซ้ำร้ายได้ยาทางสงบจิตอารมณ์ (กลุ่ม anti-) เข้าไปอีกอาการทางหัวใจยิ่งมากขึ้น กลายเป็นนอกจากเสียเงินเดือนละเกือบหมื่นสำหรับยาตัวเดียว (ไม่รวมค่าหมอสำหรับโรงพยาบาลเอกชน ค่าเดินทาง ค่าเสียเวลาพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล จิปาถะ) นอกจากไม่ช่วยโรคเท่าใดนักและแถมมีผลข้างเคียงอีก ยังสิ้นเปลืองอย่างมาก

ประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับยาสมองเสื่อมอย่างเดียวเป็นพันๆล้านนะครับ (ตัวเลขจริงคงต้องสอบถาม อย.และกระทรวงการคลัง)


ขอขอบคุณเครดิต http://www.thairath.co.th/content/518444

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น