Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เทศบาลตำบลสำราญหนุน รพ.สุขภาพตำบล ดูแลผู้สูงอายุดุจญาติของตนเองที่ยโสธร โดยใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจเช็คสุภาพ

เครื่องวัดความดัน


นายไพรโรจน์ โคตรสมบัติ นายกเทศมนตรีตำบลสำราญ อ.เมือง จ.ยโสธร กล่าวว่า ประชากรของไทยเราได้เพิ่มมากขึ้นและที่สำคัญประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและในปัจจุบันนี้ผู้สูงอายุตามชนบทก็เหมือนถูกทอดทิ้งคืออยู่กับบ้านตามลำพังหรืออยู่เลี้ยงลูกหลานเพราะพ่อแม่ต้องเดินทางไปหากิน อีกทั้งยังมีผู้ป่วยสูงอายุอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถตรวจเช็ตได้ด้วย เครื่องวัดความดัน คือพูดง่ายๆ เดินทางไปประกอบอาชีพยังต่างถิ่นโดยเฉพาะในเมืองที่เจริญรุ่งเรืองจึงปล่อยบุตรหลานไว้ให้ตายายเลี้ยง นานๆ ก็จะกลับมาเยี่ยมบ้านสักครั้งซึ่งแทนที่ผู้สูงอายุจะได้พักผ่อนกลับต้องยุ่งยากในการดูแลหลาน มิหนำซ้ำผู้ที่ไปทำงานกลับไม่ส่งเงินมาให้เป็นค่าเลี้ยงหลานผู้สูงอายุก็ต้องออกไปรับจ้างตามกำลังที่สามารถทำได้เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่าย ลำพังเงินเบี้ยยังชีพของเทศบาลที่นำไปจ่ายให้แต่ละเดือนก็น้อยนิดไม่เพียงพอจึงทำให้ผู้สูงอายุลำบาก ลำพังตัวเองก็ไม่แข็งแรงเพราะความแก่ชราอีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บก็คอยจะเบียดเบียนและหากมองย้อนกลับไปดูและศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วผู้สูงอายุชาวชนบททุกข์ยากลำบาก ฝนตกก็ออกไปทำไร่ทำนาหรือทำสวนแดดออกก็ไปทำเหมือนเดิม ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นในส่วนหนึ่งทางเทศบาลตำบลสำราญจึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว่างฝึกอบรมบุคลากรและเจ้าหน้าที่ อสม.ให้มีความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพจะได้ดีและแข็งแรงปลอดจากโรคภัยต่างๆ ได้และพื้นที่ตำบลสำราญทั้ง 13 หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุจำนวน 675 คน ที่จะช่วยกันดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น


ทางด้าน นายบุญส่ง อินอ่อน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว่าง ต.สำราญ อ.เมือง จ.ยโสธร กล่าวว่า สำหรับผู้สูงอายุเป็นผู้ที่อยู่ในระยะที่จะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพแต่ยังไม่ถูกประเมินเป็นผู้พิการแต่ก็มีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตประจำวันเนื่องจากผู้สูงอายุมีความบกพร่องทางสายตามีการมองไม่เห็นหรือเห็นแต่ไม่ชัดเจน อีกทั้งการได้ยินเสียงตลอดจนการเคลื่อนไหวและการสื่อสารก็ไม่เต็มร้อย นอกจากนั้นแล้วในเรื่องจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรมสติปัญญาก็มีความบกพร่อง ดังนั้นผู้สูงอายุจำเป็นจะต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านสุขภาพให้ดีขึ้น สำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลสำราญนั้นมีทั้งสิ้น 675 คน ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 28 คน ติดเตียง 6 คน พิการ 17 คน และป่วยเป็นโรคเบาหวานอีก 103 คน โรคความดันโลหิตสูง 112 คน โดยใช้ เครื่องวัดความดัน ในการตรวจเช็ค ทั้งเบาหวานและความดันโลหิตสูง 54 คน เข่าเสื่อม 13 คน โรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย ผู้พิการอีก 64 ราย


และจากปัญหาดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว่างจึงได้ร่วมกับเทศบาลตำบลสำราญ ร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยได้เน้นที่กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงตลอดจนการดูแลผู้พิการและกลุ่มพิเศษในชุมชนและที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้าน (อสม.) นอกจากนั้นแล้วยังนำสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุมาฝึกอบรมให้ได้รับความรู้เพราะเป็นผู้ดูแลหลักอีกทั้งตัวแทนสมาชิกชมรมผู้สูงอายุทั้ง 13 หมู่บ้าน รวม 70 คน หลังจากได้ทำการฝึกอบรมเสร็จเรียบร้อยจึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุขึ้นเพื่อเข้าดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุผู้ป่วยอย่างเป็นระบบจะได้ดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   


นายบุญส่ง ยังกล่าวอีกว่าในส่วนการดำเนินการที่ผ่านมานั้นเราเริ่มตั้งแต่การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลจัดฐานข้อมูลคนพิการและผู้สูงอายุ นอกจากนั้นได้ดำเนินการคัดแยกประเภทของคนพิการพร้อมทั้งแบ่งกลุ่มในการให้ความช่วยเหลือตามสภาพของผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ กลุ่มที่ต้องได้รับการบริการทางแพทย์ในการรักษาพยาบาลและกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่มีสภาวะแทรกซ้อนที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ นอกจากในส่วนนี้แต่ละหมู่บ้านก็มีชมรมผู้สูงอายุที่ทำกิจกรรมร่วมกันโดยเฉพาะในตอนเย็นก็จะมีการรวมกลุ่มกันออกกำลังกายโดยยึดบริเวณพื้นที่ภายในวัดเป็นศูนย์รวมจะมีทั้งการเต้นแอโรบิก เล่นเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง ซึ่งการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเราก็มีอาสาสมัครคอยดูแลและแนะนำการออกกำลังกาย


สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ตามบ้านทางเราก็จะมีแพทย์เข้าไปตรวจรักษาและดูอาการที่บ้านเลยถ้าไม่หนักก็นอนอยู่บ้านส่วนหนักก็มาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากหมอที่เข้าไปดูแลในหมู่บ้านแล้วทางเรายังมี อสม.ประจำหมู่บ้านทุกหมู่จะคอยติดตามดูแลและสอบถามอาการป่วยอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ปล่อยผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และสำหรับงบประมาณนั้นทางเทศบาลตำบลสำราญได้สนับสนุนให้แม้จะไม่มากแต่ว่าพวกเราชาวตำบลสำราญมีความสามัคคีกันโดยเฉพาะภาคีเครือข่ายที่มองเห็นความสำคัญในผู้สูงอายุอีกทั้งยังเป็นญาติพี่น้องกัน ดังนั้นการดำเนินการที่ผ่านมาทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงพลานามัยสมบูรณ์และที่สำคัญผู้สูงอายุมองว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งจากสังคม


สมหมาย พาลพล/ยโสธร

ขอขอบคุณเครดิต http://www.banmuang.co.th/news/region/22228

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น