Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความดันโลหิตสูง...ฆาตกรเงียบ ควรใช้ เครื่องวัดความดัน หมั่นตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ

เครื่องวัดความดัน


จากข้อมูลองค์กรอนามัยโลก พบว่า ประชากรทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นภาวะความดันโลหิตสูงเกือบ 1,000 ล้านคน และ 2 ใน 3 ของจำนวนดังกล่าวอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สถิตินี้ได้มาจากการใช้ เครื่องวัดความดัน ในการตรวจเช็ค โดยพบว่าคนในวัยผู้ใหญ่ของเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย มีประชากร 1 ใน 3 คน มีภาวะความดันโลหิตสูง และคาดว่าในปี 2568 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกจะมีภาวะความดันโลหิตสูงประมาณ 1.56 พันล้านคน สำหรับภาวะ “ความดันโลหิตสูง” หรือ Hypertension อาจจะเป็นชื่อที่คุ้นหูของทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักภาวะดังกล่าวเป็นอย่างดี

วันนี้ นพ.ปัญเกียรติ โตพิพัฒน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายถึงภาวะดังกล่าว ว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจถึงเรื่องแรงดันโลหิต หรือ ความดันเลือด คือ แรงดันที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการหัวใจที่เปรียบเสมือนปั๊มน้ำที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย การบอกค่าความดันโลหิตเรามักจะบอกเป็น 2 ค่า คือ ความดันโลหิตค่าบน (Systolic Blood Pressure) ซึ่งเป็นแรงดันขณะหัวใจสูบฉีดเลือดออกมาในเส้นเลือดแดง (หัวใจบีบตัว) และความดันโลหิตค่าล่าง (Diastolic Blood Pressure) ซึ่งเป็นแรงดันที่ยังมีค้างอยู่ในหลอดเลือดแดง โดยเราสามารถเช็คค่าเหล่านี้ได้ด้วย เครื่องวัดความดัน ขณะที่หัวใจไม่ได้ฉีดเลือดออกมา (หัวใจกำลังคลายตัว) ตามเกณฑ์ปัจจุบัน เราแบ่งภาวะความดันโลหิตเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. ความดันโลหิตปกติ คือ ค่าความดันโลหิตค่าบนน้อยกว่า 120 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตค่าล่างน้อยกว่า 80 มม.ปรอท

2. ความดันโลหิตเริ่มสูง คือ ความดันโลหิตค่าบน 120 - 139 มม.ปรอท หรือความดันโลหิตค่าล่าง 80 – 89 มม.ปรอท

3. ความดันโลหิตสูง คือความดันโลหิตค่าบนตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันโลหิตค่าล่างตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป

นพ.ปัญเกียรติ กล่าวต่อว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยหรือคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าหากเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีอาการปวดศีรษะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะไม่มีอาการใดๆ จึงทำให้เกิดผลเสียโดยไม่ทันได้ป้องกันหรือรับการรักษา ด้วยเหตุนี้โรคความดันโลหิตสูงจึงได้รับสมญาว่า “ฆาตกรเงียบ” ดังนั้นคุณจึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน ติดบ้านไว้ แล้วหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำ

สำหรับผลเสียจากโรคความดันโลหิตสูงที่มีต่อร่างกายนั้น มีหลายโรคต่างๆ ดังนี้

1. โรคหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวและหัวใจโตขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพและเกิดการอุดตัน ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก เกิดเป็นโรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวายได้

2. โรคสมอง ความดันโลหิตสูง สามารถทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันได้เช่นเดียวกับเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะทำให้เส้นเลือดสมองแตก ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

3. โรคไต ความดันโลหิตสูง สามารถทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อม เกิดภาวะไตวายได้เช่นเดียวกัน

4. โรคตา จอประสาทตาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเสื่อมจากเส้นเลือดฝอยอุดตัน เส้นเลือดฝอยแตก จอประสาทตาลอกได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะตามัว หรืออาจตาบอดได้

5. โรคหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อม ซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั่วร่างกาย เช่น เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ทำให้ปวดกล้ามเนื้อ ปวดขา เดินได้ไม่ไกล

ส่วนวิธีการป้องกัน ควบคุม รักษา ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถทำได้ดังนี้

1. ควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักตัวเกินกำหนด เมื่อลดน้ำหนักลง 1 กิโลกรัม จะสามารถลดความดันโลหิตค่าบนลงได้ 2.5 มม.ปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่างลงได้ 1.5 มม.ปรอท

2. จำกัดปริมาณเกลือในอาหาร การรับประทานอาหารเค็มสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ควรจำกัดปริมาณเกลือที่รับประทานในแต่ละวันไม่เกิน 6 กรัม (เกลือ 1 ช้อนชา มีปริมาณเกลือประมาณ 5 กรัม) ซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 2-8 มม.ปรอท

3. หลีกเลี่ยงความเครียด เนื่องจากความเครียดจะทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้

4. งดสูบบุหรี่ บุหรี่มีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายขึ้น รวมทั้งบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่ออวัยวะในร่างกายร่วมกับความดันโลหิตสูงได้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งอีกด้วย

5. งด หรือ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้ จึงควรงดดื่มแอลกอฮอล์ หรือหากดื่มก็ควรลดลง โดยในแต่ละวันไม่ควรดื่มสุราเกิน 60 ลบ.ซม.เบียร์ 720 ลบ.ซม.หรือไวน์ไม่เกิน 240 ลบ.ซม.

6. ออกกำลังกาย จากการศึกษาพบว่าหลังจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 3-6 เดือนขึ้นไป จะสามารถลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 10-20 มม.ปรอท ซึ่งการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จะต้องเป็นการออกกำลังกายแบบที่มีการใช้ออกซิเจน มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่หรือที่เรียกว่าการออกกำลังกาย แอโรบิก โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีความแรงอยู่ในระดับปานกลาง คือขณะออกกำลังกายอัตราการเต้นของชีพจรควรจะอยู่ที่ประมาณ 70% ของอัตราชีพจรสูงสุด (อัตราชีพจรสูงสุดคำนวณจาก 220 ลบด้วย อายุ) และควรออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อย 20-30 นาที และไม่ควรเกิน 90 นาที โดยออกกำลังกายเช่นนี้เป็นประจำ สัปดาห์ละ 3-5 วัน หรืออาจจะถึง 7 วันต่อสัปดาห์ได้

7. การพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวและยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำทุกชนิด แพทย์จะพิจารณายาลดความดันโลหิตที่เหมาะสมและติดตามผลการรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนขนาดหรือชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป

8. ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ ในกรณีที่ท่านมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน (หรือมีห้องพยาบาลในที่ทำงาน) การวัดความดันโลหิตเป็นประจำและจดบันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์ควบคุมความดันโลหิตของท่านได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ เชื่อว่าหากเข้าใจและปฏิบัติตนได้ตามคำแนะนำนี้แล้ว ทุกคนจะรู้ทันฆาตกรเงียบรายนี้ และสามารถป้องกันไม่ให้มันทำร้ายท่านได้

ที่มา : นพ.ปัญเกียรติ โตพิพัฒน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลเวชธานี


ขอขอบคุณเครดิต http://www.thairath.co.th/content/457931

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น