มร.ริชาร์ด หยู ซีอีโอ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวในงาน โมบาย เวิลด์ คองเกรส 2015 ที่จัดขึ้น ณ ประเทศจีน เมื่อเร็วๆนี้ว่าเทรนด์ของอุปกรณ์อัจฉริยะในอนาคตจะเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และหัวเว่ยกำลังพัฒนา "ซุปเปอร์โฟน" อุปกรณ์อัจฉริยะที่จะเข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในปี 2020 และทำให้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน เพราะภายในซุปเปอร์โฟนนี้จะประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ที่รองรับการใช้งานที่หลากหลายเช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ฯลฯ
ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือได้ถูกพัฒนาจากเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารมาเป็น ผู้ช่วยส่วนตัว สื่อเพื่อความบันเทิง อุปกรณ์สำหรับช็อปปิ้ง เครื่องมือในการเข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ค และกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป เชื่อได้ว่าในอนาคตโทรศัพท์มือถือจะควบรวมเข้ากับชีวิตของมนุษย์อย่างแนบแน่น หัวเว่ย กำลังวิจัยและพัฒนาสมาร์ทโฟนเจเนอเรชั่นใหม่ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "ซุปเปอร์โฟน" ที่จะเผยโฉมครั้งแรกในปี 2020 เพื่อเปิดยุคใหม่แห่งการเชื่อมต่อที่เสมือนจริง โดย "ซุปเปอร์โฟน" เป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่เป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่เข้าใจในแบบแผนการดำเนินชีวิตของเราและมีส่วนทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น
เครื่องวัดความดัน |
มร.ริชาร์ด หยู กล่าวว่า "อุปกรณ์อัจฉริยะในอนาคตจะมีความสามารถในการเรียนรู้และประมวลผลจากพฤติกรรมของมนุษย์ เช่นเดียวกันกับการที่เครื่องบินเลียนแบบการบินของนก หรือเครื่องจักรกลที่ทำงานลอกเลียนแบบการใช้แขนของมนุษย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ "ซุปเปอร์โฟน" ในอนาคต ด้วยการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่องของเซ็นเซอร์ เทคโนโลยีการจดจำวัตถุ เครื่องสแกน 3 มิติ จะทำให้ "ซุปเปอร์โฟน" ทำงานได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ ในปัจจุบันอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะของหัวเว่ยมีความสามารถในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น การเดิน การนอน หรือการตรวจจับกิจกรมต่างๆ และรายงานผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามีแผนที่จะวิจัยและพัฒนาเซ็นเซอร์พิเศษอื่นๆต่อไปในอนาคต เพื่อเชื่อมโยง "ซุปเปอร์โฟน" ให้เข้ากับวิถีชีวิตของมนุษย์มากขึ้นเช่นการพัฒนาเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจน้ำตาลในกระแสเลือด เครื่องวัดความดัน สำหรับวัดความดันในกระแสเลือด เพื่อช่วยเตือนผู้ใช้งานในด้านของการรักษาสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการตรวจวัดคุณภาพของอากาศ ตลอดจนการแสดงตำแหน่งที่อยู่ในปัจจุบัน ความฉลาดเฉลียวของ "ซุปเปอร์โฟน" จะเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่งในโลกเข้าด้วยกันผ่านสิ่งที่เรียกว่า Internet of Thing ที่มีการรวมรวมข้อมูลมหาศาลเอามาไว้บนเน็ตเวิร์คและเชื่อมโยงถึงกันผ่านระบบการจัดการอันชาญฉลาด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ อาทิ ปัจจุบันมีการคิดค้นระบบ Miller Link ที่สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างสมาร์ทโฟนกับรถยนต์ได้แล้ว "ซุปเปอร์โฟน" จะสามารถสื่อสารและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ด้วยตนเองผ่านการจดจำรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์หรือแม้กระทั่งทำงานและเสนอแนะสิ่งต่างๆให้กับมนุษย์เช่น หัวเว่ย พีแปด และ หัวเว่ย ออเนอร์ 7 สมาร์ทโฟนทั้ง 2 รุ่นนี้สามารถบริหารจัดการตารางเวลา เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น สามารถส่งข้อมูลเกี่ยวกับการจองเที่ยวบิน รถไฟ หรือโรงแรมผ่านทาง SMS ดังนั้นในอนาคตความสามารถของ "ซุปเปอร์โฟน" จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AR/VR และ Holography เพื่อสร้างการสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ใช้งานและอุปกรณ์อัจฉริยะ ซึ่งการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้โดยการจำลอง ภาพ เสียง และสัมผัส เสมือนจริงขึ้นมาเพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้ขีดจำกัด เช่น การเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง การสื่อสารระหว่างคนไข้กับแพทย์ในระยะไกล หรือแม้กระทั่งการลองและสั่งซื้อเสื้อผ้า สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นผ่านการสั่งงานโดย "ซุปเปอร์โฟน" จากบ้านหรือที่ทำงานของคุณได้เลย ในฐานะที่เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี หัวเว่ยได้ลงทุนเป็นจำนวน 190 พันล้าน หยวนในเรื่องของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และมีสิทธิบัตรของตัวเองถึง 65,000 ชิ้น เราจะยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายขอบเขตของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสรรค์สร้างสมาร์ทโฟน ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อเสมือนจริงให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้หัวเว่ยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการมาของ "ซุปเปอร์โฟน" ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการรับรู้ เช่น เซ็นเซอร์ การรับรู้วัตถุ การสแกนแบบ 3 มิติ ตลอดจนเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Big Date เทคนิคในการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ การเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่ง และการสร้างประสบการณ์ภาพเสมือนจริงแบบ 360 องศา หัวเว่ยเชื่อมั่นว่า "ซุปเปอร์โฟน" จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมาและเราสัญญาว่าจะทำงานร่วมกับหุ้นส่วนในอุตสาหกรรมเพื่อผลักดันให้นวัตกรรมใหม่นี้เกิดขึ้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า"
ขอขอบคุณเครดิต http://www.ryt9.com/s/prg/2218922
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น