Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รู้จักและเข้าใจกับตัวเลข...ความดันโลหิตของเราจาก เครื่องวัดความดัน ต้นตอของโรคร้าย ที่ป้องกันได้

เครื่องวัดความดัน

ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูง นับเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่กำลังคุกคาม สามารถตรวจเช็คได้ด้วย เครื่องวัดความดัน  โดยในปัจจุบันมีประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเป็น โรคความดันโลหิตสูง และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านคน

   สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขคาดว่า จะมีผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเป็น โรคความดันโลหิตสูง ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่ง 70% ของคนกลุ่มนี้ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าวเพราะไม่ได้ใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจเช็คทำให้ไม่ได้รับการรักษาหรือการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม อันจะนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย อาทิ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย

ดังนั้นเราจึงควรหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับตัวเลขความดันโลหิตของเรากันได้แล้ว เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉิน  

สำหรับการวัดระดับความดันโลหิต

 ค่าตัวบนของ เครื่องวัดความดัน เรียกว่า ความดันช่วงหัวใจบีบ (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจบีบตัว
ค่าตัวล่างของ เครื่องวัดความดัน เรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดันไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว

โดยความดันโลหิตที่เรียกว่า "เหมาะสม" ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 18 ปี คือ ตัวบนไม่เกิน120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80มม.ปรอท เรียกสั้น ๆ ว่า 120/80

โดยความดันโลหิตที่ "อยู่ในเกณฑ์ปกติ" คือ 120-129/80-84 มม.ปรอท

ความดันโลหิตสูงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 130-139/85-89 มม.ปรอท

ความดันโลหิตสูง คือ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท


สาเหตุและอาการของความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารรสเค็ม และส่วนน้อยเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ไตวาย

ความดันโลหิตสูงได้ชื่อว่าเป็น ฆาตกรเงียบ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่ทราบว่าตัวเองมีความดันโลหิตสูง หรือแม้จะทราบแต่ละเลยไม่สนใจรักษา เพราะรู้สึกปกติ ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่าง ๆ ตามมาภายหลัง

 สำหรับการรักษา โรคความดันโลหิตสูง มี 2 ทางเลือกด้วยกัน คือ การใช้ยา และไม่ใช้ยา ในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ที่เริ่มรู้ตัวว่าเป็น แพทย์จะสามารถรักษา โรคความดันโลหิตสูง ได้โดยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ที่มีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย แพทย์จะต้องให้ยาและพยายามควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ

ดังนั้นก่อนจะสายเกินไปเราควรป้องกันต้นตอของโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยซื้อ เครื่องวัดความดัน ไว้ตรวจเช็คร่ายกาย และให้ความสำคัญกับอาหารการกิน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ เพียงเท่านี้ก็จะลดปัจจัยเสี่ยงได้ของภาวะอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้


ขอบคุณที่มา: เอกสารเผยแพร่โรงพยาบาลศิริราช  

                     กระทรวงสาธารณสุข

รูปภาพ http://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=184&auto_id=6&TopicPk=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น