เครื่องวัดความดัน |
ยกเว้นว่าใช้ เครื่องวัดความดัน พบว่าความดันโลหิตที่สูงมากและมีอาการแสดงของอวัยวะที่เกิดจากผลกระทบของภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังให้เห็น เช่นหัวใจโต เส้นเลือดสมองตีบ ตามัว ไตเสื่อม ก็อาจให้การวินิจฉัยได้เมื่อตรวจความดันโลหิตเพียงครั้งเดียว ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงทั้งในเรื่องการวินิจฉัย การรักษา การดำเนินโรค ภาวะแทรกซ้อน และการติดตามผลการรักษา ยังมีความคลาดเคลื่อนไปจากความจริงหลายประการ
บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่เป็นความดันโลหิตสูงที่กำลังรักษาอยู่ หรือมีญาติพี่น้องเป็นภาวะความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง รวมทั้งท่านผู้สนใจทั่วไปที่ยังแข็งแรงดี ได้อ่านและทำการปรับความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงให้ถูกต้องและยังอาจมีส่วนช่วยอธิบายให้แก่ผู้อื่นที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนให้ปรับความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย จะขอ ให้คำอธิบายเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
ความเชื่อที่ว่า “ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะมีอาการปวดศีรษะเวียนหัวหรือเหนื่อยง่าย ถ้าสบายดีความดันโลหิตน่าจะปกติ” ความจริงคือ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นความดันโลหิตสูงในระยะแรกมักจะไม่มีอาการอะไรเลย จะมีอาการก็ต่อเมื่อความดันโลหิตไม่ได้รับการรักษาปล่อยไว้นานจนมีระดับสูงมากเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ จึงจะมีอาการเกิดขึ้น จึงควรได้รับการใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจความดันโลหิตเป็นประจำเมื่อมีโอกาสไปพบแพทย์หรืออย่างน้อยปีละ 2 – 3 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง หรือมีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไปถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยในระยะแรกก็จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้
ความเชื่อที่ว่า“ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ถ้าตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการโดยละเอียดน่าจะพบสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้” ความจริงคือ
มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพียง 5 % ที่สามารถค้นพบสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ ส่วนใหญ่ (95 %) ไม่พบสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดจึงมักต้องรับประทานยาลดความดันเป็นระยะเวลานานจนเกือบตลอดชีวิต
ความเชื่อที่ว่า “ความดันโลหิตในคนปกติจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นในคนสูงอายุที่มีความดันโลหิต 160/90 มิลลิเมตรปรอท ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะหากรักษาอาจจะเกิดอาการเวียนศีรษะจากยาลดความดัน” ความจริงคือ
เกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงใช้ได้กับทุกอายุ หากไม่รักษาความดันโลหิตในผู้ป่วยสูงอายุให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่นเส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน การลดความดันโลหิตลงช้า ๆ ด้วยวิธีการที่ถูกต้องไม่น่าจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะแต่อย่างใด
ความเชื่อที่ว่า “การรักษาความดันโลหิตทำได้แต่เพียงการให้ยาลดความดันในฐานะเป็นผู้ป่วยมีความรับผิดชอบแต่เพียงรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง” ความจริงคือ
มีการรักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการไม่ใช้ยาซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยได้แก่การงดสูบบุหรี่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การงดอาหารที่มีรสเค็มจัด การควบคุมน้ำหนักตัว การหลีกเลี่ยงความเครียด หรือการงดดื่มสุราปริมาณมาก ๆ ซึ่งจะได้ผลในการลดความดันโลหิตในรายที่ยังสูงไม่มาก และแม้แต่ในรายที่ต้องรับประทานยาคนไข้ทุกคน ก็สมควรที่จะทำตามข้อแนะนำดังกล่าวนี้โดยเคร่งครัดควบคู่กันไปด้วย
ความเชื่อที่ว่า “ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้เมื่อรับประทานยาจนความดันปกติแล้วก็น่าจะเลิกรับประทานยาได้ตลอดไป” ความจริงคือ
ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุที่รักษาให้หายขาดการรับประทานยาเป็นการควบคุมความดันโลหิตให้ลดลงชั่วคราวเท่านั้นยาส่วนใหญ่มีฤทธิ์ลดความดันเพียง 24 ชั่วโมงจึงจำเป็นต้องรับประทานวันละครั้งทุกวัน หากวันใดลืมรับประทานยา ความดันโลหิตก็จะเพิ่มสูงขึ้นกลับสู่ระดับเดิมผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่สามารถหยุดยาได้
ความเชื่อที่ว่า “ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเมื่อให้แพทย์สั่งยามารับประทานจนความดันโลหิตลงดีแล้วไม่จำเป็นต้องกลับไปพบแพทย์อีก สามารถซื้อยารับประทานเองไปได้ตลอดชีวิต” ความจริงคือ
ยาทุกชนิดในการรักษาความดันโลหิตต้องมีการปรับขนาดยาขึ้นลงหรือปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมตามความรุนแรงของความดันโลหิตและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นรวมทั้งโรคอื่น ๆ ที่พบร่วมกับความดันโลหิตสูงซึ่งอาจปรากฏขึ้นภายหลังได้แก่ โรคไต โรคเกาต์ โรคทางสมอง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ป่วยบางรายอาจปรากฏอาการแพ้ยาหลังจากเริ่มรับประทานไปแล้วเป็นเวลานานก็ได้ การซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไปโดยใช้ใบสั่งยาเดิมจึงอาจไม่ได้ผลดีในการลดความดันในระยะยาวและอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนของการใช้ยาได้
ความเชื่อที่ว่า “ถ้าได้รับประทานยาลดความดันโลหิตจนอยู่ในเกณฑ์ปกติย่อมต้องสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์” ความจริงคือ
การวัดความดันโลหิตโดยพบแพทย์เพียงครั้งเดียวในระยะเวลาทุก 2 – 3 เดือน แล้วพบว่าความดันปกติ ไม่สามารถรับรองผลได้อย่างสมบูรณ์ว่าความดันโลหิตจะปกติตลอดเวลา เนื่องจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะมีความดันโลหิตแกว่งขึ้นลงไม่เท่ากันตลอดทั้งวัน การใช้ เครื่องวัดความดัน อัตโนมัติระบบดิจิตอลวัดบ่อย ๆ และต่างเวลากันถึงแม้อาจไม่แม่นยำเหมือนกับให้แพทย์วัด แต่ก็อาจจะบอกได้ว่าสามารถควบคุมความดันโลหิตให้ดีตลอดเวลาหรือไม่
ความเชื่อที่ว่า “การประเมินผลและตรวจติดตามในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยแพทย์ทำเพียงตรวจวัดความดันและตรวจร่างกายผู้ป่วยก็เพียงพอแล้ว” ความจริงคือ
ในการตรวจประเมินผลและติดตามผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องมีการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมได้แก่ใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจความดันโลหิต ตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ ดูการทำงานของไต ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและถ่ายเอกซ์เรย์ปอดเพื่อดูขนาดหัวใจอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้งในบางรายอาจต้องทำการตรวจอัลตราซาวนด์หัวใจเพื่อดูขนาดและความหนาของผนังห้องหัวใจล่างซ้าย ดูประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ นอกจากนั้นยังต้องคอยดูว่าจะมีโรคหรือภาวะอย่างอื่นเกิดขึ้นใหม่อีกหรือไม่ ได้แก่โรคเบาหวาน โรคเกาต์ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอ้วน
ความเชื่อที่ว่า “ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ที่ไปพบแพทย์เป็นประจำสม่ำเสมอมักจะสามารถควบคุมความดันลงได้ในเกณฑ์ที่จัดว่าดี” ความเป็นจริงคือ
จากสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมความดันได้เป็นอย่างดีมีเพียง 10 - 30 % ของผู้ป่วยที่รับการรักษาทั้งหมดและส่วนใหญ่มักจะได้ยามากกว่า 1 ชนิด สถิติจากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่เจริญแล้ว ยังมีผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมได้เป็นอย่างดีอยู่เพียง 30 % สำหรับในประเทศไทยคาดการณ์ว่าตัวเลขน่าจะอยู่เพียง 10-15 % เท่านั้น เหตุผลที่ถึงแม้ไปพบแพทย์ก็ยังควบคุมไม่ได้ดีที่สุดมีอยู่หลายสาเหตุบางส่วนเป็นสาเหตุจากแพทย์ที่รักษา บางส่วนเป็นสาเหตุจากคนไข้ การให้ยาหลายอย่างที่มีความแรงในการลดความดันโลหิตก็มักมีภาวะแทรกซ้อนจากยา จึงอาจทำให้ไม่สามารถควบคุมความดัน
ได้ดีที่สุด
ความเชื่อที่ว่า “ความดันโลหิตเป้าหมายที่ควรลดลงมาได้ ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ดีควรต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทในทุกกรณี” ความเป็นจริงคือ
ความจริงไม่เป็นเช่นนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว ความดันเป้าหมายคือ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยความดันโลหิตเป้าหมายคือ 135/85 มิลลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่า ผู้ป่วยที่มีโรคไตเสื่อมหรือมีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ ความดันโลหิตเป้าหมายคือ 125/75 หรือต่ำกว่า
ความเชื่อที่ว่า “ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่” ความจริงคือ
การถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีส่วนอยู่บ้างที่ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หมายความว่าถ้าพ่อหรือแม่เป็นภาวะความดันโลหิตสูง ลูกมีโอกาสเป็นภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ แต่ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เป็นจากสภาวะแวดล้อม อาหารการกิน อุปนิสัยส่วนตัว การดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคน นอกจากนี้ ภาวะเคร่งเคียด การพัฒนาสังคมไปสู่ระบบทุนนิยม การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนชาวตะวันตก ยังมีส่วนช่วยให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.chanthaburi.go.th/redcross/article/blood.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น