ก่อนหน้านี้การตัดสินใจรักษาโรคความดันโลหิตสูง จะพิจารณาจากระดับความดันโลหิตโดยตรวจเช็คได้จาก เครื่องวัดความดัน แต่่เนื่องจากคนทั่วไปมักจะมีหลายโรคที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ดังนั้นการตัดสินใจในการรักษาโรคความดันโลหิต ต้องพิจารณาหลายๆด้าน เช่น
- ระดับความดันโลหิตตัวบน ตัวล่าง ค่าเหล่านี้จะใช้ เครื่องวัดความดัน ในการตรวจเช็ค
- โรคที่เป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน อ้วน เป็นต้น
- อวัยวะเสียหายจากความดันโดยที่ไม่มีอาการ
- โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต
ในการตัดสินใจเริ่มให้การรักษา หรือการกำหนดค่าระดับความดันเป้าหมาย จะต้องประเมินว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนสูงหรือต่ำ ในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนจะแบ่งเป็น
- ความเสี่ยงต่ำ
- ปานกลาง
- สูง
- และสูงมาก
ในการประเมินความเสี่ยงจะมีวิธีการดังต่อไปนี้
- เริ่มต้นพิจารณาค่าความดันโลหิตของคุณว่าเท่าใด โดยจะใช้ เครื่องวัดความดัน เช็คแล้วมาพิจารณาในแนวตั้ง เวลาพิจารณาจะพิจารณา ทั้งค่าความดันโลหิตตัวบนและความดันโลหิตตัวล่างที่ได้จาก เครื่องวัดความดัน โดยพิจารณาค่าที่สูงกว่า เช่นความดันโลหิตวัดได้ 135/95 มิลิเมตรปรอท เราจะจัดอยู่ในเกณฑ์ความดัน GRADE1
- ขั้นสองให้คุณพิจารณาว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกี่ข้อโดยเปิดหน้าความเสี่ยงดู ความเสี่ยงกี่ข้อจะมาดูตามแนวนอนของตาราง หากคุณความดันโลหิต144/86 คุณมีความเสี่ยง2ข้อ (แนวนอนช่อง2)คุณก็ตกอยู่ในช่องเหลือง แล้วไปดูรายละเอียดข้างล่างว่าช่องสีเหลืองเค้าแนะนำอะไรบ้าง
- ขั้นตอนที่สามก็มาดูว่าอวัยวะคุณได้รับผลเสียหายจากความดันโดยไม่เกิดอาการหรือเปล่า ค่านี้จะได้รับผลจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจ echocardiography การเจาะเลือดหาค่า Creatinin การทำ ultrasound หลอดเลือด การตรวจเบาหวาน หากเป็นเบาหวานก็จะอยู่ในช่องนี้ การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะ ตัวอย่างหากคุณวัดความดันโลหิตได้ 144/86 มีความเสี่ยง2 ข้อ แต่คุณตรวจปัสาวะพบว่ามีไข่ขาว ดังนั้นตารางในแนวนอนจะอยู่ในช่องที่ 3 คุณจะตกในช่องสีส้มแทนที่จะเป็นสีเหลือง
- ขั้นตอนสุดท้ายให้พิจารณาว่าคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตหรือไม่ หากเคยเป็นจะพิจารณาแนวนอนช่องที่ 4
เมื่อพิจารณาครบแล้วคุณก็จะได้ว่าคำแนะนำในการรักษาความดันของคุณอยู่ในสีอะไร คุณก็ไปเลือกอ่านในสีนั้นๆ
โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/esc/ht_risk.html#.VdWIP25dxe8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น