Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิต

เครื่องวัดความดัน



โรคความดันโลหิต


              ความดันโลหิต  หมายถึง แรงดันของเลือดที่มีต่อผนังของหลอดเลือดแดงที่จุดใดจุดหนึ่ง สามารถวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจบีบตัวฉีดเลือดที่มีออกซิเจน และสารอื่น ๆ เข้าสู่หลอดเลือดแดง เพื่อดันเลือดให้กระจายไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  โดยทั่วไปจะใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท  ขณะที่หัวใจบีบตัว เพื่อฉีดเลือดออกไปจะเกิดแรงดันภายในหลอดเลือดแดง และเมื่อหัวใจคลายตัวความดันโลหิตก็จะลดลง ดังนั้นระดับความดันโลหิต จึงมี 2 ค่า ซึ่งจะแสดงบนหน้าปัดของ เครื่องวัดความดัน คือ ค่าความดันโลหิตสูงสุดขณะที่หัวใจบีบตัว เรียกว่า ความดันซีสโตลิค (Systolic Blood Pressure)  และค่าความดันโลหิตต่ำสุดขณะหัวใจคลายตัว เรียกว่า ความดันไดแอสโตลิค (Diastolic Blood Pressure)  (ชวลิต รัตนกุล และกวี เจริญลาภ. 2539 : 155-156)    

              ตามปกติเด็กทารกเมื่อใช้ เครื่อววัดความดัน วัดจะพบว่ามีความดันโลหิตต่ำประมาณ 80/45 มิลลิเมตรปรอทในผู้ใหญ่ ความดันโลหิตปกติ ประมาณ 110/70 - 120/80 มิลลิเมตรปรอท และในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป จะมีความดันโลหิต ประมาณ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ในชีวิตประจำวันความดันโลหิตของแต่ละบุคคลมักเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะความดันโลหิตถูกควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ  ซึ่งมีศูนย์กลางการควบคุมอยู่ที่บริเวณก้านสมอง นอกจากนี้ปริมาณออกซิเจน ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กรดในเลือด ตลอดจนฮอร์โมนต่างๆก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตด้วย

             ความดันโลหิตของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น  พันธุกรรม  อายุ  เพศ  น้ำหนักตัว  หรือสภาวะทางอารมณ์ เป็นต้น ความดันโลหิตที่สูงกว่าปกติ เรียกว่า ความดันโลหิตสูง (Hypertension) ส่วนความดันโลหิตที่ต่ำกว่าปกติ  เรียกว่า ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) ความดันโลหิตสูงจัดได้ว่าเป็นโรคที่อันตรายสามารถคร่าชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน ไว้ตรวจเช็คที่บ้านของคุณเอง


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.ipesp.ac.th/learning/poungkaew/chapter8/Unti8_2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น