ซึ่งวัดได้ 2 ค่า คือ
ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
ความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว
ซึ่งใช้หน่วยวัดเป็น มิลลิเมตรปรอท (จะแสดงบนหน้าปัดของ เครื่องวัดความดัน )
ความดันโลหิตของคนปกติ ขณะพัก มีค่าดังนี้
ความดันโลหิตสูง หมายถึง ความดันโลหิตที่วัดจาก เครื่องวัดความดัน ค่าบนได้มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าล่าง มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือสูงทั้งค่าบนและค่าล่าง
โรคความดันโลหิตสูงมักเป็นในคนที่อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป หรือในคนอายุน้อยที่มีความผิด ปกติอื่น ๆ เช่น โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ภาวะไตวาย โรคเนื้องอกของสมอง เป็นต้น
บุคคลที่มีโอกาสใช้ เครื่องวัดความดัน แล้ววัดค่าออกมาเป็นความดันโลหิตสูง
- อ้วน และมีไขมันในเลือดสูง
- มีญาติพี่น้องเป็นความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่จัดหรือดื่มเหล่าเป็นประจำ
- เป็นโรคไต หรือโรคเบาหวาน
- มีความเครียดเป็นประจำ
สาเหตุที่หน้าปัดของ เครื่องวัดความดัน แสดงค่าออกมาเป็นความดันโลหิตสูง
1. ชนิดมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเนื้องอก ที่ต่อมหมวกไต ภาวะไตวาย โรคเนื้องอกของสมอง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้รับยาหรือสารบางชนิด เป็นต้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 5-10ของผู้ป่วย
2. ชนิดไม่ทราบสาเหตุ พบประมาณร้อยละ 90-95 ของผู้ป่วย ส่วนใหญ่ตรวจพบโดยบังเอิญ
อาการของผู้มีความดันโลหิตสูง
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดงให้รู้ แต่บางรายอาจพบอาการต่าง ๆ ได้ เช่น ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอขณะตื่นนอนใหม่ ๆ พอสาย ๆ อาการจะทุเลาลง อ่อนเพลีย หนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ตามัว มือเท้าชา อาจมีเลือดกำเดาไหล
การรักษา
1. ชนิดมีสาเหตุ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
2. ชนิดไม่ทราบสาเหตุ
ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
กินยาและตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสม
อันตรายจากโรคความดันโลหิตสูง
- อัมพาต เนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน
- ตามัว หรือตาบอด เนื่องจากหลอดเลือดในลูกตาตีบตัน หรือแตก
- ไตวาย หรือไตพิการ เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ
- หัวใจวาย ถ้ารุนแรงอาจชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้
คำแนะนำสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง
- ถ้าอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่งถูกวิธีและสม่ำเสมอ
- กินอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ เช่น มันหมู อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารใส่กะทิ ของหวาน เป็นต้น
- ลดอาหารเค็ม หรือใส่ผลชูรส ซอสปรุงรสต่าง ๆ
- รับประทานผัก และผลไม้ให้มากขึ้น
- ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ ควรงดสูบบุไร่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงความเครียด ทำให้จิตใจร่าเริงแจ่มใส
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.jetmt.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538767454
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น