วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ยาสมองเสื่อม ความจริงที่คนทั่วไปไม่รู้ มีผลกับความดันโลหิตควรหมั่นเช็คด้วย เครื่องวัดความดัน
“โรคสมองเสื่อม” อันมีอัลไซเมอร์เป็นพระเอกสำคัญ เป็นโรคน่ากลัว ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากป้องกันก็ไม่ได้ เมื่อเป็นไปแล้วอาการจะค่อยๆเลวร้ายลงเรื่อยๆ และหากกินยาสมองเสื่อมจะทำให้มีภาวะความดันโลหิตต่ำ จึงควรมี เครื่องวัดความดัน ไว้ตรวจเช็คอาการ กล่าวคือ เริ่มจากความจำสั้นเรื่อยไปจนถึงความผิดปกติทางความคิด อ่าน การใช้ภาษา การตัดสินใจ จนช่วยตัวเองไม่ได้ แม้แต่กระทั่งแต่งตัว ทานข้าว เข้าห้องน้ำ และมีอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหวและมีอารมณ์แปรปรวน
ยาต่างๆนานาที่มีในขณะนี้ล้วนแล้วแต่เป็นยาช่วยทางอ้อม ในการกระตุ้นสมองให้กระชุ่มกระชวย เหมือนดื่มโอเลี้ยงซักแก้ว ไม่ได้ช่วยแก้ไขสาเหตุ เพราะถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบปัจจัยการเกิดที่ชัดเจน ทั้งนี้โดยหวังว่าจะทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ และช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นและจะสามารถบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับจิต อารมณ์แปรปรวนได้ ซึ่งทำให้ลดภาระของผู้ดูแลได้
ยาที่ใช้กันทั่วโลกในขณะนี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Cholinesterase Inhibitor ซึ่งทำให้สาร Acetylcholine เพิ่มในสมอง และเป็นยาที่ถูกยอมรับให้ใช้ในสหรัฐฯ อังกฤษ และอื่นๆ ตกอยู่ในกลุ่ม cognitive enhancer ยาทั้งหมดในกลุ่มช่วยกระตุ้น แต่ ไม่มีผลในการชะลอโรคหรือไม่สามารถป้องกันการดำเนินของโรคในผู้ป่วย แม้เริ่มให้ในผู้ป่วยตั้งแต่มีอาการเริ่มแรก (mild cognitive impairment) ผลข้างเคียงมีทั้งอาการจิตประสาท การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและการทรงตัวไม่ดีและล้ม
ถ้าหากนำมาใช้ต้องทำการประเมินผลที่ได้ว่าเป็นที่พอใจหรือไม่ทุกๆ 2-3 เดือน และมีการยอมรับจากตัวผู้ป่วยและครอบครัวที่ดูแลหรือไม่ ไม่เช่นนั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องให้ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ยาในกลุ่มพาร์กินสัน เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเช่นกัน และการรักษาถ้าต้องการเอาใจเพื่อให้ผู้ป่วยพอใจในการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ อาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วและรุนแรงขึ้นไปอีก
เมื่อนำมาประเมินการใช้และประโยชน์ที่มีต่อคนไข้ในประเทศไทยปรากฏว่า ยาในกลุ่มนี้ [donepezil (Aricept), rivastigmine (Exelon), galantamine (Reminyl)] จะให้อรรถประโยชน์จากจำนวนปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงหรือเหมือนกันทุกตัว กล่าวคือประมาณ 0.6 เดือนเท่านั้น ที่สำคัญยาทั้งกลุ่มไม่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย นั่นก็คือ ยาจะชะลอการดำเนินของโรคสู่ระยะที่ต้องให้คนช่วยตลอดเวลาในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายจากเตียงหรือเก้าอี้ได้ เพียงประมาณ 2 เดือนเท่านั้น
จากการประมาณการจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทย มีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่อยู่ในระยะแรกถึงระยะกลางจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 245,374 คน และถ้ารัฐรับภาระด้านงบประมาณของยาในกลุ่มนี้ โดยเลือกยาที่ถูกที่สุด จะต้องใช้เงินเป็นจำนวน 12,768 ล้านบาทในปีแรก และถ้าจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 71,400 รายต่อปี จะทำให้รัฐมีภาระด้านงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 3,627 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ไม่รวมถึงผลข้างเคียงจากตัวยาเอง ซึ่งอาจทำให้บางรายมีความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นผู้ที่กินยาชนิดนี้จึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน ไว้ติดบ้านจะได้ตรวจเช็คได้ตลอดเวลา หัวใจเต้นผิดปกติจนถึงต้องใส่แบตเตอรี่หัวใจ หกล้ม กระดูกหัก และบางรายแทนที่จะช่วยบรรเทาอาการทางจิตอารมณ์ กลับมีลักษณะแปรปรวนมากขึ้น หรือมีภาพหลอน ทำให้กลับต้องใช้ยาโรคจิต (Anti-psychotic) ซึ่งมีผลข้างเคียงคือเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ สั่น แข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือมีอาการของโรคพาร์กินสัน อัตราที่ผู้ป่วยต้องเข้าสถานพักฟื้นคนชรา (Nursing Home) ในต่างประเทศ (วารสาร Archives of Internal Medicine 2009 และวารสาร Lancet 2004) หลังจากที่ใช้ยาไป 3 ปี เนื่องจากโรครุนแรงขึ้น ช่วยตัวเองไม่ได้เท่ากับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา และอาการทางพฤติกรรม จิต อารมณ์ ก็ไม่ได้ดูดีกว่ากลุ่มที่ใช้ยา
ข้อมูลของประเทศไทยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นงานวิจัยของ ภญ.เสาวลักษณ์ ตรุงคราวี และคณะ จากกระทรวงสาธารณสุข ที่กล่าวทั้งหมดจะเห็นได้ว่าทั้งคนไข้และหมอเองไม่มีทางเลือกมาก การใช้ยาในกลุ่มดังกล่าวและยาอีกตัวคือ memantine (Ebixa) ซึ่งไม่มี ผลทางการกระตุ้นให้ผู้ป่วยดีขึ้นแต่อาจมีผลชะลอโรคได้บ้างผ่านทางกระบวนการต้านฤทธิ์สารพิษในสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆสาเหตุที่เชื่อกันในขณะนี้ แต่ข้อมูลที่มีก็พบว่าชะลอการดำเนินของโรคได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น
ล่าสุดในปี 2014 ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย US Preventive Service Task Force ในวารสารทางการของสมาคมแพทย์สหรัฐฯ (Ann Intern Med 2014) สรุปเช่นกันว่ายากลุ่มนี้ไม่ได้มีประโยชน์ใดๆในการชะลอโรคอัลไซเมอร์ และผลที่ได้ในการกระตุ้นสมองก็แทบ ไม่เห็นผลชัดเจน เช่นเดียวกับที่มีการสรุป วิเคราะห์รวบรวม หลักฐานก่อนหน้านี้ ในปี 2013 (Carlos H Rojas-Fernandez. Evid Based Ment Health 2013)
เพราะฉะนั้นก่อนที่แพทย์จะสั่งยาต้องคิดหนักแล้วละครับ นอกจากความจริงที่ว่า ยาเหล่านี้ไม่ใช่ยารักษาแต่เป็นยากระตุ้นสมอง (cognitive enhancer) ช่วยปลายเหตุเล็กๆน้อยๆ ยังมีผลข้างเคียงพ่วงเข้ามาทางหัวใจ หกล้มหกลุกจนกระดูกหัก
และซ้ำร้ายได้ยาทางสงบจิตอารมณ์ (กลุ่ม anti-) เข้าไปอีกอาการทางหัวใจยิ่งมากขึ้น กลายเป็นนอกจากเสียเงินเดือนละเกือบหมื่นสำหรับยาตัวเดียว (ไม่รวมค่าหมอสำหรับโรงพยาบาลเอกชน ค่าเดินทาง ค่าเสียเวลาพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล จิปาถะ) นอกจากไม่ช่วยโรคเท่าใดนักและแถมมีผลข้างเคียงอีก ยังสิ้นเปลืองอย่างมาก
ประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับยาสมองเสื่อมอย่างเดียวเป็นพันๆล้านนะครับ (ตัวเลขจริงคงต้องสอบถาม อย.และกระทรวงการคลัง)
ขอขอบคุณเครดิต http://www.thairath.co.th/content/518444
ป้ายกำกับ:
เครื่องวัดความดัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น