Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความดันสูง อันตรายมาก ควรตรวจเช็คด้วย เครื่องวัดความดัน

เครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดัน

ความดันโลหิตสูง คือ
ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป
โดยใช้ เครื่องวัดความดัน ขณะนั่งพัก 5–10 นาทีที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์

และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2สัปดาห์

แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูงได้ดังนี้


เครื่องวัดความดัน


ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ชนิด

1. ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนพบได้มากกว่า
ร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปี ขึ้นไปโดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
• พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
• โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง
• บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีพันธุกรรม
• ขาดการออกกำลังกาย
• มีความเครียดสูงและเรื้อรัง (มุ่งร้ายผู้อื่นหรือถูกกดดันด้วยเวลาจำกัด)
• ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม
• ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมากเกินไป

2. ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่เกิดจากสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจ เฉียบพลัน จากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุความดันโลหิตสูงจะกลับเป็นปกติ
ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ


มีอาการอย่างไร

โรคความดันโลหิตสูงที่ตรวจพบด้วย เครื่องวัดความดัน ระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อย คือ ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาตหรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น


เครื่องวัดความดัน


หลอดเลือดปกติ

โรคนี้ถ้าตรวจพบด้วย เครื่องวัดความดัน แล้วไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุหรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกทีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ ได้แก่

1. หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวายหรือมีหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง
2. สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตกทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตรวดเร็ว ความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะ และซึมลงจนไม่รู้สึกตัว
3. ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรังหรือเฉียบพลันซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น
4. ตา หลอดเลือดแดงในตาแตกและมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง
5. หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพองและหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต

วิธีรักษามีอะไรบ้าง
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ คือการเช็คด้วย เครื่องวัดความดัน แล้วควบคุมให้ต่ำกว่า 140 / 90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรัง ควรคุมให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท แนวทางการรักษา มีดังนี้

1. เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดันและปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่
• ลดน้ำหนักส่วนเกิน
• เลิกบุหรี่และเหล้า
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ถ้าเลิกออกกำลังกายความดันจะกลับมาเป็นใหม่
• ลดอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็มจัด) เพิ่มรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลาและดื่มนมไขมันต่ำ
• รู้จักคลายเครียด

2. ให้ยาลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่ความดันยังคงสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษาและควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่นขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น

3. ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะและเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น


เครื่องวัดความดัน

ดูแลสุขภาพอย่างไรจึงจะควบคุมโรคได้

1. กินยาและพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะมีความดันโลหิตเป็นปกติและไม่เปลี่ยนขนาดหรือชนิดยาเพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยาควรปรึกษาแพทย์
2. เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ ควรบริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัด โดยฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติหรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทนและบริโภคเกลือแกงต่อวัน 2/3 ช้อนชา (1,500 มิลลิกรัม) แต่ไม่เกิน 1 ช้อนชา (6 กรัมหรือ 2,500 มิลลิกรัม) จะช่วยลดความดันค่าบนเฉลี่ยได้ 2 – 8 มม.ปรอท การบริโภคอาหารเค็มจะทำให้ความดันโลหิตไม่ลงและดื้อต่อการรักษา
3. ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิต ผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัม ความดันโลหิตค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 8 – 14 มม.ปรอท
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 30–45 นาทีแบบต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3–4 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้น เมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน เช็คจะพบว่าสามารถลดความดันโลหิตค่าบนได้ 4 – 9 มม.ปรอท และช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากควรปรึกษาแพทย์ ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
5. เลิกสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เพราะภาวะแทรกซ้อนจะเกิดได้เร็วขึ้น
6. เลือกบริโภคอาหารลดความดันโลหิต (Dietary Approaches to Stop Hypertention , DASH) จะลดความดันโลหิตค่าบนได้ 8–14 มม.ปรอท โดยเพิ่มการบริโภคผักสด ผลไม้ ธัญพืชให้มากขึ้นในแต่ละมื้อและอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติแต่ควรลดการบริโภคเนื้อสัตว์ต่อมื้อไม่ให้มากเกินไป
7. วัดความดันโลหิตขณะนั่งพักที่บ้านเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1–2 ครั้ง หรือจากสถานบริการใกล้บ้าน และบันทึกผลให้แพทย์ดูเมื่อไปตรวจตามนัด
8. สร้างวิถีชีวิตให้เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตดี รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะ ชี่กง พบว่า การฝึกหายใจช้าน้อยกว่า10 ครั้ง/นาที วันละ15–20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับการกินยารักษาความดัน 1 ชนิด
9. เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์เรื่องโรคประจำตัว เนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

เครื่องวัดความดัน

ป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็นความดันโลหิตสูง

1. ควบคุมน้ำหนักตัว โดยมีรอบเอวน้อยกว่า 80 ซม. หรือ 32 นิ้วในผู้หญิง และ 90 ซม.หรือ 36 นิ้วในผู้ชาย
2. บริโภคอาหารแบบสมดุลครบ 5 หมวดและมีรสจืด หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และทุกๆมื้อหมุนเวียนบริโภคอาหารป้องกันความดันโลหิตสูง โดยเน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ถั่ว ที่ให้สารโพแทสเซียม เช่น ฟักทอง บร็อคโคลี่ ผักโขม มะเขือเทศ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง มะม่วง เป็นต้น และอาหารที่่ ี่ให้แมกนีเซียมซึ่งพบมากในผักใบเขียว ธัญพืชถั่วเปลือกแข็ง เช่น ข้าวกล้อง ถั่วแดง เต้าหู้ งา ดำ เป็นต้น รวมทั้งดื่มนมและผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำที่ให้้แคลเซียม เนื่องจากพบว่าผู้ที่ขาดสารโพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมมีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 – 60 นาที
4. งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์และหยุดสูบบุหรี่
5. ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะผู้มีประวัติครอบครัวความดันโลหิตสูงควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี และอายุ 35 ปีขึ้นไปควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง
6. ผู้ที่มีความดันโลหิตระหว่าง 120/80 ถึง 139/89 มม.ปรอท จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ควรเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยง


เครื่องวัดความดัน

ที่มา  chulalongkornhospital.go.th


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.never-age.com/2169-1-ความดันสูง%20อันตรายมาก.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น