ประโยชน์จากการรักษาโรคความดันโลหิต
เมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจพบความดันโลหิตสูง ควรทำการรักษาเพราะการลดความดันโลหิต จะสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 30-35% และสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ 20-25% และลดโรคหัวใจวายได้ 50 %
เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการดังนั้นจึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน ไว้ตรวจเช็ค เพราะผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์เมื่อมีโรคแทรกซ้อนแล้วเช่น ไตวาย หัวใจวายเป็นต้น การตรวจวัดความดันประจำปีจะช่วยให้เรารักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น การพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ระดับความดันโลหิต โรคต่างๆที่พบร่วม ปัจจัยเสี่ยงต่างที่เป็นดังแสดงในตารางข้างล่าง
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(1)
|
โรคร่วมต่างๆที่เป็นอยู่(2)
|
การสูบบุหรี่
|
กล้ามเนื้อหัวใจหนา
|
ไขมันในเลือดสูง
|
เคยเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ
|
โรคเบาหวาน
|
เคยผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจ
|
หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ชายมากกว่า 55 ปี
|
หัวใจวาย
|
อ้วนดัชนีมวลกายมากกว่า 30
|
เคยเป็นอัมพาต
|
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ(หญิงก่อน 65 ชายก่อน 55)
|
โรคไต
|
ความดันโลหิตสูง
|
หลอดเลือดขาตีบ
|
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
|
มีการเปลี่ยนแปลงทางตา
|
พบไข่ขาวในปัสสาวะ |
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและโรคที่พบร่วมก็จะจัดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
- กลุ่ม A ผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(ตารางช่อง 1) และไม่มีโรคร่วม (ตารางช่อง 2)
- กลุ่ม B ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อแต่ไม่มีโรคร่วม
- กลุ่ม C ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีโรคต่างๆตามตาราง
หลังจากท่านได้จัดว่าท่านอยู่ในกลุ่มไหนแล้วก็จะมาพิจารณาว่าจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูงเมื่อใด
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่
http://siamhealth.net/public_html/Disease/heart_disease/Hypertension/treatment.htm#.VdWRcW5dxe8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น