มาถึงตอนนี้คงรู้แล้วว่าโรคความดันอันตรายอย่างไร วิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการลุกลามของโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ก้อคือการตรวจวัดความดันด้วย เครื่องวัดความดัน อย่างสม่ำเสมอ
แต่เรามักพบว่าเวลาไปวัดที่โรงพยาบาลหรือวัดด้วยตนเองที่บ้านกลับพบว่าทำไมสูงไป หรือต่ำไป ทำให้เราเกิดความกังวลใจยิ่งกว่าการมีอาการความดันโลหิตสูงเข้าไปอีก
ตอนนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีการใช้ เครื่องวัดความดัน ที่ถูกต้องให้เราได้สบายใจในการดูแลสุขภาพและความดันให้เหมาะสมต่อไป
ทำไมใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิตแล้วไม่คงที่ สูงไปหรือต่ำไป?
เมื่อ 10 ปีที่แล้วมาสมาคมโรคหัวใจ และหลอดเลือดประเทศอเมริกาได้มีคำแนะนำวิธีการวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตสมัยก่อนจะใช้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรบเป็นคนวัด และใช้เครื่องวัดความดันที่ทำจากสารปรอท จากการวิจัยพบว่าการวัดความดันโลหิตแบบเก่ายังมีข้อผิดพลาดดังนี้
- วิธีการวัดไม่ถูกต้อง
- เนื่องจากความดันโลหิตของคนไม่คงที่ตลอดเวลา บางครั้งสูงบางครั้งต่ำ
- ความดันมักจะสูงเมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ อาจจะเพราะความวิตกกังวลหรือเดินทางมาเหนื่อย
ผลจากความไม่แน่นอนของการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล จึงมีแนวความคิดขึ้นสองแนวคือ
- ให้มีการวัดความดันที่อื่น นอกเหนือจากโรงพยาบาล และมีการวัดหลายๆครั้งเพื่อจะได้ค่าแท้จริงของความดันโลหิต
- ใช้ เครื่องวัดความดัน โลหิตชนิดอัตโนมัติ เครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้มักจะมีความแม่นยำสูงกว่า
ชนิดของเครื่องวัดความดัน มี 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 ลักษณะหน้าปัทม์ที่อ่านเป็นแท่งแก้วยาว ภายในจะมีปรอทเป็นตัวบอกค่าความดัน
ชนิดที่ 2 ลักษณะหน้าปัทม์ เหมือนหน้าปัทม์นาฬิกา ชนิดนี้อาศัยลมดันเข็มนาฬิกา
อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าปัทม์แบบเดียวกับชนิดที่ 2 แต่นำสมัยกว่า ราคาก็แพงกว่ามาก เป็นชนิดอัตโนมัติ โดยอาศัยเสียงหรือแสงเป็นตัวบอกค่าความดัน
ส่วนประกอบของเครื่องวัดความดัน
1. ขีดหน้าปัทม์บอกความดัน
2. ลูกยางบีบลม
3. ผ้าพันแขน
ขั้นตอนต่างๆ ในการใช้ เครื่องวัดความดัน ชนิดอัตโนมัติที่ถูกต้องและแม่นยำสามารถดูได้ตามคลิปด้านล่าง
คลิปรีวิวการใช้งาน เครื่องวัดความดัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://utaisuk.blogspot.com/2013/01/blog-post_25.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น