ความดันโลหิต (Hypertension)
ลักษณะทั่วไป
ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดัน (Sphygmomano meter) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ
1. ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะ สูงตามอายุ ความดันช่วงบนในคน ๆ เดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลัง
2. ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบัน ได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิต และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (โดยการวัดในท่านั่ง วัดอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป แล้วคิดเป็นค่าเฉลี่ย) ดังนี้
เครื่องวัดความดัน |
ความดันช่วงบน
- ปกติ มีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท (ทอรร์)
- ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 130-139 มม.ปรอท
- ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 140-159 มม.ปรอท
- ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 160-179 มม.ปรอท
- ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 180-209 มม.ปรอท
- ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 210 มม.ปรอทขึ้นไป
ความดันช่วงล่าง
- ปกติ มีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท
- ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 85-89 มม.ปรอท
- ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 90-99 มม.ปรอท
- ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 100-109 มม.ปรอท
- ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 110-119 มม.ปรอท
- ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป
ความดันโลหิตสูง จึงหมายถึง ความดันโลหิตที่วัดได้จาก เครื่องวัดความดัน ช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยมากผู้ป่วยจะมีความดันช่วงล่างสูง (Diastolic hypertension) โดยความดันช่วงบนจะสูงหรือไม่ก็ได้ บางคนอาจมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว แต่ความดันช่วงล่างไม่สูง เรียกว่า ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว (Isolated systolic hypertension) ซึ่งมักจะพบในผู้สูงอายุ, โรคคอพอกเป็นพิษ, ภาวะหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตีบตัน เราจะวินิจฉัยโรคนี้แน่นอน ต่อเมื่อวัดความดันแต่ละคราว อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป หาค่าเฉลี่ยของความดัน และนัดมาวัดซ้ำอีกอย่างน้อย 1-2 คราวภายใน 1 สัปดาห์ แล้วยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยความดันสูงกว่าปกติ ในการวัดแต่ละคราว ควรให้ผู้ป่วยนั่งพักสัก 5-10 นาทีเสียก่อนโรคความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 5-10% ของคนทั่วไป ส่วนมากจะเริ่มเป็นในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนน้อยที่อาจพบในคนอายุน้อย ซึ่งมักจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย
สาเหตุ
1. ส่วนใหญ่ (กว่า90%) ไม่ทราบสาเหตุ คือ ตรวจไม่พบความผิดปกติของร่างกายที่เป็นต้นเหตุของความดันสูง เรียกว่า "ความดันสูงไม่ทราบสาเหตุ" (Essential hypertension หรือ Primary hypertension) แต่อย่างไรก็ตามมักพบว่า ปัจจัยทางกรรมพันธุ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกล่าวคือ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องในครอบครัวเดียวกันเป็นโรคนี้ จะมีโอกาส เป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าวประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ อายุมาก ความอ้วน อารมณ์เครียด การกินอาหารเค็มจัด และการดื่มเหล้าจัด ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมของโรคนี้ ผู้ป่วยพวกนี้ จะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 25-55 ปี เริ่มพบมากในคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสพบได้มากขึ้น
2. ส่วนน้อย (ต่ำกว่า 10% ) อาจตรวจพบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าพบในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี หรือเริ่มมีความดันสูง เมื่ออายุ มากกว่า 55 ปี เรียกว่า "ความดันสูงชนิดมีสาเหตุ" (Secondary hypertension)สาเหตุที่อาจพบได้มีหลายอย่าง เช่น
2.1 ได้รับยาบางประเภท เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน), สเตอรอยด์ , ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์, ยาแก้คัดจมูก (decongestant) และยาแก้หวัดที่เข้ายาแก้คัดจมูก, ยาลดความอ้วน, อะดรีนาลิน ,ทีโอฟิลลีน, ยาฮอร์โมนไทรอยด์, ยาแก้ซึมเศร้าชนิด ไตรไซคลิก เป็นต้น
2.2 ความดันสูงในหญิงตั้งครรภ์ ควรใช้ เครื่องวัดความดัน หมั่นตรวจเช็ค
2.3 โรคไต เช่น หน่วยไตอักเสบ , กรวยไตอักเสบเรื้อรัง , ไตวายเรื้อรัง, หลอดเลือดเลี้ยงไตตีบตัว (Renal artery stenosis) ซึ่งมักได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ที่หน้าท้อง, วัณโรคของไต, เนื้องอกของไต เป็นต้น
2.4 หลอดเลือดแดงเอออร์ตาตีบตัว (Coarctation of aorta) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว (Aortic insufficiency) ซึ่งมักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว ส่วนความดันช่วงล่างเป็นปกติ
2.5 โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอกเป็นพิษ มักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว, โรคคุชชิง , เนื้องอกของ ต่อมหมวกไตชนิดที่เรียกว่า ฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออก หน้ามืด เป็นลม น้ำหนักลดร่วมด้วย) เป็นต้น
2.6 อื่น ๆ เช่น ภาวะความดันสูงในกะโหลกศีรษะ, ตะกั่วเป็นพิษ, ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เป็นต้น
3. ในผู้สูงอายุ มักมีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (atherosclerosis) เรียกว่า "ความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ"
4. ความดันโลหิตอาจสูงได้ชั่วคราว เมื่อมีภาวะที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น ไข้ ซีด ออกกำลังกายใหม่ ๆ อารมณ์เครียด (เช่น โกรธ ตื่นเต้น) เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องรักษา จะหายไปได้เองเมื่อปัจจัยเหล่านี้หมดไป
อาการ
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด ซึ่งมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น ส่วนน้อย อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเองบางคนอาจ มีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรน ได้ ในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือความดันสูงมาก ๆ อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น
สิ่งตรวจพบ
จะตรวจพบความดันโลหิตช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป หรือช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปหรือสูงทั้งช่วงบนและช่วงล่างโดยค่าเหล้านี้จะวัดได้จาก เครื่องวัดความดัน นอกจากนั้นมักไม่พบสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ยกเว้นในบางรายที่เป็นความดันสูงชนิดมีสาเหตุ อาจพบอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น พบน้ำตาลในปัสสาวะในผู้ป่วยเบาหวาน, ชีพจรที่ขาหนีบคลำไม่ได้หรือคลำได้แผ่วเบา ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตัว, ใช้เครื่องฟังได้ยินเสียงฟู่ (bruit) ที่ตรงหน้าท้องตรงบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือซ้าย ในผู้ป่วยที่มีเลือดเลี้ยงไตตีบตัว, ได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ตรงลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว เป็นต้น
อาการแทรกซ้อน
ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้ความดันสูงอยู่นาน ๆ มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต ประสาทตา เป็นต้น เนื่องจากความดันโลหิตสูง จะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม (เกิดภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็ง) หลอดเลือดตีบตัน เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่
1. หัวใจ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งจะมีอาการบวม หอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบตัน กลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรง ถึงกับเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
2. สมอง อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตกกลายเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบ ได้บ่อย ในรายที่มีเส้นโลหิตฝอยในสมองส่วนสำคัญแตก ก็อาจตายได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นเรื้อรัง บางคนอาจกลายเป็น โรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง ในรายที่มีความดันสูงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอาจทำให้เกิดอาการชัก หรือ หมดสติได้
3. ไต อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง เนื่องจากหลอดเลือดแดงเสื่อม เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตที่วายจะยิ่งทำให้ความดัน เลือดสูงขึ้น กลายเป็นวงจรที่เลวร้าย การ ตรวจปัสสาวะจะพบสารไข่ขาว จะยิ่งทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น กลาย เป็นวงจรที่เลวร้าย การ ตรวจปัสสาวะจะพบสารไข่ขาว(albumin) ตั้งแต่ 2+ ขึ้นไป การเจาะเลือดทดสอบการ ทำงานของไต จะพบระดับของสารบียูเอ็น (BUN) และครีอะตินีน (creatinine) สูง
4. ตา จะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้า ๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบตัน ต่อมาอาจแตกมี เลือดออกที่จอตา (เรตินา) ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ ซึ่งสามารถใช้เครื่องส่องตา (ophthalmoscope) ตรวจดูความผิดปกติภายในลูกตา ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ จะเกิดขึ้นรุนแรงหรือรวดเร็วเพียงใด ขึ้นกับความรุนแรงและระยะของโรคถ้าความดันมีขนาดสูงมาก ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้รวดเร็ว และผู้ป่วยอาจ ตายได้ภายในเวลาไม่กี่ปี (ถ้ารุนแรงมากอาจตายภายใน 6-8 เดือน) ส่วนในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อย หากปล่อยไว้ ไม่ รักษา อาจใช้เวลา 7-10 ปีในการเกิดภาวะแทรกซ้อนนอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน ภาวะไขมัน ในเลือดสูง) หรือสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าจัด ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้น จึงควรควบคุมโรคหรือพฤติกรรมเหล่านี้
การรักษา
1. สำหรับความดันโลหิตสูงเล็กน้อย (ความดันช่วงบน 130-159 มม.ปรอท หรือความดันช่วงล่าง 85-99 มม.ปรอท) ให้นัด มาใช้ เครื่องวัดความดัน วัดซ้ำอีกอย่างน้อย 2 คราวใน 4 สัปดาห์ ถ้าความดันต่ำกว่า 130/85 มม.ปรอท ให้นัดมาตรวจทุก 6 เดือน เป็นเวลา 1 ปี ถ้าความดันช่วงบน 130-159 หรือช่วงล่าง 85-99 ให้แนะนำการปฏิบัติตัวในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก, ลดกินอาหารเค็ม, งดบุหรี่และเหล้า,ออกกำลังกาย, ผ่อนคลายความเครียด ถ้าเป็นไปได้ ควรทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นตรวจ ปัสสาวะ, ตรวจเลือด (หาระดับน้ำตาล, โคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, กรดยูริก, ครีอะตินีน, โพแทสเซียม, ระดับความ เข้มข้นของเลือด หรือฮีมาโตคริต) และคลื่นหัวใจ (ECG) เพื่อหาสาเหตุที่ซ่อนเร้น และเป็นพื้นฐานสำหรับการติดตามผล ในระยะยาวหลังจากติดตามวัดความดัน 2-3 คราวในช่วง 3 เดือนต่อมา ถ้าหากวัดได้ค่าความดันในระดับต่าง ๆ ควรให้ การดูแลรักษาดังนี้
(1) ความดันช่วงบน 130-139 หรือช่วงล่าง 85-89 ให้แนะนำการปฏิบัติตัว โดยยังไม่ต้องให้ยารักษาควรติดตามวัดความดัน ในอีก 3 เดือนต่อมา ถ้าพบว่าความดันช่วงบน 140-159 หรือช่วงล่าง 90-99 ควรเริ่มให้ยารักษา ถ้าได้ค่าต่ำกว่านี้ ยังไม่ต้อง ให้ยารักษา แต่ควรติดตามทุก 3-6 เดือน (2) ความดันช่วงบน 140-159 หรือช่วงล่าง 90-99 แนะนำการปฏิบัติตัว จะเริ่มให้ยาเฉพาะในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย (เช่น เบาหวาน หัวใจห้องล่างซ้ายโต โรคหลอดเลือดในสมองตีบ เป็นต้น)ในรายที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงให้ติดตามวัดความดัน ในอีก 3 เดือนต่อมา ถ้าความดันยังอยู่ในช่วงดังกล่าวก็ควรเริ่มให้ยารักษา
(3) ความดันช่วงบน 160-209 หรือช่วงล่าง 100-119 ควรเริ่มให้ยารักษา
2. สำหรับผู้ป่วยที่วัดได้ความดันช่วงบน 160-209 มม.ปรอท หรือช่วงล่าง 100-119 มม.ปรอทตั้งแต่แรก ซึ่งถือว่าเป็น ความดันโลหิตสูงระดับปานกลางและรุนแรง ควรส่งตรวจเลือด ปัสสาวะคลื่นหัวใจ แนะนำการปฏิบัติตัว และให้ยารักษา
3. การให้ยารักษาความดัน ควรเริ่มจากไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ 12.5-25 มก. วันละครั้ง ตอนเช้าให้ความดันลดต่ำกว่า 140 (ช่วงบน) และ 90 (ช่วงล่าง) ถ้าไม่ได้ผล เพิ่มเป็นวันละ 50 มก. หรือเริ่มต้นด้วยกลุ่มยาปิดกั้นบีตา เช่น โพรพราโนลอล, อะทีโนลอล ถ้าไม่ได้ผล อาจหันไปใช้ยาต้านแคลเซียม หรือยาต้านเอซ แทน ในกรณีที่ใช้ยาเดี่ยวไม่ได้ผล อาจให้ยา 2-3 ชนิดร่วมกัน ดังนี้
- ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ร่วมกับ ยาปิดกั้นบีตา หรือรีเซอร์พีน หรือ ยาต้านแคลเซียม หรือยาต้านเอซ
- ยาต้านแคลเซียม ร่วมกับยาต้านเอซ
- ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ร่วมกับยาต้านแคลเซียม ร่วมกับยาปิดกั้นบีตา (หรือยาต้านเอซ)
- ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ร่วมกับยาต้านเอซ ร่วมกับยาปิดกั้นบีตา
- ยาปิดกั้นบีตา ร่วมกับยาต้านแคลเซียม ร่วมกับยาต้านเอซ
4. สำหรับผู้สูงอายุที่มีความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว (ความดันช่วงบนตั้งแต่ 160 มม.ปรอทขึ้นไปและช่วงล่าง ต่ำกว่า 90) ควรให้ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ หรือยาปิดกั้นบีตา (สำหรับไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ ควรให้ขนาดไม่เกิน วันละ 12.5 มก.)
5. ควรส่งผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เมื่อรักษาไม่ได้ผล, หรือเมื่อมีความดันช่วงบนตั้งแต่ 210 มม.ปรอทขึ้นไป หรือช่วงล่างตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป (ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงระดับรุนแรงมาก), หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ สมอง ไต หรือตาเกิดขึ้น, หรือพบความดันสูงในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี อาจต้องตรวจพิเศษ เพื่อค้นหาสาเหตุ และภาวะ แทรกซ้อน
ข้อแนะนำ
1. วิธีการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งการติดตามผลการรักษา ที่แน่นอนคือการตรวจวัดความดันเลือด การตรวจวัดความดันเลือด ความดันเลือด จะอาศัยแต่สังเกตดูอาการเพียงอย่างเดียวมักจะไม่แน่นอน เพราะโรคนี้ส่วน มากจะไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร คนทั่วไปมักมีความเข้าใจผิดว่า ความดันสูงจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ (ถ้าไม่ปวด ศรีษะ ก็นึกว่าความดันไม่สูง) ความจริงแล้ว ความดันสูงที่จะแสดงอาการปวดศรีษะนั้นนับว่ามีเพียงส่วนน้อย และอาการ ปวดศีรษะส่วนมากก็เกิดจากความเครียด , ไมเกรน และอื่น ๆ มากกว่าความดันสูง
2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขนาดเล็กน้อยและปานกลาง ส่วนใหญ่จะสามารถควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ด้วย การใช้ยาไฮโดรคลอโรไทอาไซด์,ยาปิดกั้นบีตา และรีเซอร์พีน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ต้องใช้ยาลดความดันชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีราคาแพงมาก
3. โรคแทรกซ้อนจะเกิดขึ้นต่อเมื่อปล่อยให้ความดันสูงอยู่นานเป็นแรมปี หากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง โอกาสที่จะเกิด โรคแทรกซ้อนก็จะลดน้อยลง และสามารถมีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติ ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยติดต่อรักษากับหมอ อย่าได้ขาด และหมั่นวัดความดันเป็นประจำ อาจเป็นเดือนละ 1-2 ครั้ง อาจวัดกันเองที่บ้าน หรือไหว้วานให้เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านช่วยวัดให้ก็ได้ ควรบันทึกลงสมุดบันทึกแล้วนำไปให้หมอดูในการตรวจครั้งต่อไป
4. ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเอง ถึงแม้จะรู้สึกว่าสบายดีแล้วก็ตาม การลดยาหรือหยุดยา ควรให้หมอผู้รักษาเป็นผู้พิจารณา โดยจะถือหลักว่า เมื่อให้ยาจนความดันลดเป็นปกติสักระยะหนึ่งแล้ว อาจลองลดหรือหยุดยาดู แล้วตรวจวัดความดัน เป็นระยะ ๆ ถ้าความดันปกติ ก็ให้หยุดยาไปเลย แต่ต้องหมั่นตรวจวัดความดันต่อไปเรื่อย ๆ ถ้าขึ้นสูงใหม่ ก็ให้ยาใหม่
5. ในการให้ยารักษาความดัน ควรเริ่มให้ทีละน้อยก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้เพื่อระวังไม่ให้ยาเกิน ขนาด จะทำให้ความดันตกมากเกินไป ผู้ป่วยจะมีอาการหน้ามืดเป็นลมเวลาลุกนั่งหมั่นตรวจความดันโลหิต เป็นระยะๆ
6. การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ถือเป็นหัวใจของการรักษาโรคนี้ นอกเหนือไปจากยา ควรแนะนำผู้ป่วยดังนี้
6.1 ลดอาหารเค็มและเกลือโซเดียม อย่ากินอาหารเค็มจัด (เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ฯลฯ) ควรกินอาหารที่มี รสจืด ถ้าไม่ใส่เกลือและน้ำปลาได้ยิ่งดี รวมทั้งอย่ากินผงชูรส ยาธาตุน้ำแดง และยาโซดามินต์ เพราะมีเกลือโซเดียมสูง เกลือโซเดียม (เกลือทะเล) จะทำให้ความดันสูงและดื้อต่อการรักษา
6.2 ลดน้นักถ้าอ้วน โดยการลดอาหารพวกไขมัน (เช่น อาหารมัน ของผัด ของทอด ของใส่กะทิ ขาหมู หมู 3 ชั้น) และอาหารพวกแป้งและน้ำตาล (เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน เครื่องดื่ม ของหวาน ผลไม้หวาน) ควรกินผักและผลไม้ (ที่ไม่หวาน) ให้มากขึ้น
6.3 งดเหล้า และบุหรี่ เพราะอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น
6.4 ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เล่นกีฬา เป็นต้น ควรเริ่มแต่น้อยก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย อย่าออกกำลังที่ต้องมีการเบ่ง (เช่น ยกน้ำหนัก วิดพื้น)
6.5 ทำจิตใจให้สงบ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น หรือเครียด ควรทำสมาธิบริหารจิต หรือสวดมนต์ ภาวนาตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อคลายความวิตกทุกข์ร้อน และทำให้จิตสงบเยือกเย็น การออกกำลังกาย ให้เกิด ความเพลิน ก็เป็นการบริหารจิตแบบหนึ่ง
6.6 ในสตรีที่กินยาคุมกำเนิด ควรเลิกกินยานี้แล้วหันไปคุมโดยวิธีอื่น (เช่น ใส่ห่วง ทำหมัน) แทนการปฏิบัติตัวดัง กล่าวอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องมีส่วนช่วยในการควบคุมความดันเลือดให้ปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ สำหรับคนที่มีความดันสูงเล็กน้อย ถ้าปฏิบัติตัวได้ดี ความดันอาจลดโดยไม่ต้องใช้ยารักษาก็ได้
7. คนที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดความดันอย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีพ่อแม่พี่น้องประวัตโรคนี้
การป้องกัน
ระวังอย่าให้อ้วน, อย่ากินอาหารเค็มจัด, อย่าดื่มเหล้าจัด, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, หาวิธีผ่อนคลายความเครียด
รายละเอียด
หัวใจของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง อยู่ที่การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง และกินยาอย่างสม่ำเสมอ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/sci/blood/tension.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น