Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เครื่องวัดความดัน...ความดันโลหิตสูง...ทำอย่างไรให้อายุยืนยาว?

เครื่องวัดความดัน

ในร้านยา จะมีคนไข้ ผู้สูงอายุ มาขอคำปรึกษาในเรื่องโรคความดันเลือด ที่มันดูยุ่งยาก น่ากลัว และทำความเข้าใจได้ยากจังเลย ดังนั้นเภสัชกรร้านยาขอทะยอยลงความรู้เรื่องโรคหัวใจ ความดัน อย่างง่ายๆ มาแบ่งปันกันนะครับ


ความดันหัวใจ ความดันเลือดคืออะไร 

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต โดยสามารถวัดได้จาก เครื่องวัดความดัน เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ


เครื่องวัดความดัน
รูปความดันโลหิต แค่ไหนถึงจะเสี่ยงภัย ภาพมาจาก http://www.samaphan.com/microlife/html/healthguide.html


เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน มาไว้ตรวจเช็ค

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิต



ความดันโลหิตสูง...ปฏิบัติอย่างไร

ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ตัวเลขเหล่านี้จะแสดงผลอยู่บนหน้าปัดของ เครื่องวัดความดัน


สาเหตุของความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ

ส่วน ใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุ พบมากถึง ร้อยละ 95 แต่มีปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุ ได้แก่ ความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีความดันโลหิตสูงมาก่อน ส่วนสาเหตุอื่นๆที่พบ เช่น โรคไต โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบประสาท สารเคมี หรือยาบางชนิด


อาการ

หาก เป็นไม่รุนแรง อาการจะไม่เด่นชัด อาจมีอาการเวียนศีรษะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นมากๆ จะมีเลือดกำเดาไหล หอบ นอนราบไม่ได้ อาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย


การรักษา

1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายเป็นประจำ การงดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์ ตลอดจนการฝึกสมาธิ ฝึกจิตไม่ให้เครียด
2. การรักษาทางยา โดยแพทย์ และไม่แนะนำให้หยุดยาเองเป็นอันขาด เพราะจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย


การป้องกัน

1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
2. งดสูบบุหรี่
3. จำกัดเกลือไม่ให้เกินวันละ 1 ช้อนชา
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
6. รับประทานอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง เช่น ถั่ว ส้ม น้ำเต้าหู้ ในรายที่ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ
7. รับประทานผัก ผลไม้ เช่น ผักบร็อกโคลี กล้วย องุ่น
8. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเช่น นมขาดไขมัน
9. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด ฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย
10. หมั่นใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
11. คอยสังเกตอาการผิดปกติ เช่นตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์


เครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดัน


การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

1. ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน


  • ดูแลน้ำหนักร่างกายให้พอดี คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ควรพยายามลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธีควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกาย
  • หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การเดินเร็วก้าวยาว ๆ ท่าบริหารร่างกายแบบง่าย ๆ ควรเริ่มต้นทีละน้อยก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จะทำให้หัวใจและปอดทำงานดีขึ้น ช่วยการสูบฉีดโลหิตหมุนเวียนทั่วร่างกาย
  • ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือหรือน้ำปลาน้อยที่สุด รวมทั้งงดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดยการรับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ดื่มน้ำให้พอเพียง


2. ผู้ที่สูบบุหรี่ ต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่จะส่งเสริมให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเร็วขึ้น และยังทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา
3. ควรงดเหล้า เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำให้ความดันขึ้น และทำให้ดื้อต่อยาที่รักษา
4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. การบริโภคอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ และมีเส้นใยอาหารสูง จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ร้อยละ 10
6. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง
7. หมั่นใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ อาจเป็นเดือนละ 1–2 ครั้ง ควรบันทึกลงสมุดบันทึกไว้ด้วย
8. สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานส้ม กล้วยเป็นประจำถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อทดแทนโปตัสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ


แหล่งข้อมูล 
ความดันโลหิตสูง...ปฏิบัติอย่างไร, สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 
http://v2.agingthai.org/page/701

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2013/07/26/entry-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น