เครื่องวัดความดัน |
ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง อันเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ ( คล้ายแรงลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า ) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้ เครื่องวัดความดัน ( sphygmomanometer ) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ ๒ ค่า คือ
๑. ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี ( systolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ ความดันช่วงบนในคนคนเดียวกันอาจมีค่าต่างกันเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลัง
๒. ความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี ( diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว
สาเหตุ
๑. ส่วนใหญ่ ( ประมาณร้อยละ ๙๕ ) จะไม่พบโรค หรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ( primary hypertension ) หรือความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ( essential hypertension ) แต่อย่างไรก็ตาม มักพบว่าปัจจัยทางกรรมพันธุ์อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค กล่าวคือ ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติดังกล่าวประมาณ ๓ เท่า
นอกจากนี้ อายุมาก ความอ้วน การกินอาหารเค็มจัดหรือมีเกลือโซเดียมสูง และการดื่มแอลกอฮอล์จัดก็อาจเป็นปัจจัยเสริมของการเกิดโรคนี้เมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน จะพบว่าความดันโลหิตสูงขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะเริ่มเป็นความดันโลหิตสูงเมื่ออายุประมาณ ๑๕ – ๕๕ ปี พบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสพบได้มากขึ้น
๒. ส่วนน้อย ( ประมาณร้อยละ ๕ ) อาจตรวจพบโรคหรือภาวะผิดปกติหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง เรียกว่า ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ( secondary hypertension ) ความดันโลหิตสูงชนิดมีสาเหตุ
สาเหตุที่ใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจพบได้มีหลายสาเหตุ
๒.๑ ได้รับยาประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาสเตอรอยด์ แอดรีนาลีน เป็นต้น
๒.๒ ความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์
๒.๓ โรคไต เช่นหน่วยไตอักเสบ
๒.๔ หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตัว ( Coarctation of aorta ) ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ( Aorticinsufficiency ) ซึ่งมักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว
๒.๕ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น คอพอกเป็นพิษ มักจะทำให้ความดันช่วงบนสูงเพียงอย่างเดียว
๒.๖ ภาวะที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น ไข้ ซีด หลังออกกำลังกายใหม่ ๆ อารมณ์เครียด
๒.๗ ภาวะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว ( atherosclerosis ) มักจะทำให้ความดันช่วงบนสูง เพียงอย่างเดียว พบในคนสูงอายุ
อาการ
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอย่างไรมักจะพบโดยบังเอิญขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่นซึ่งแพทย์จะใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจส่วนน้อยอาจมีอาการ ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเอง อาจปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรน ในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือความดันสูงมาก ๆ อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาออก เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น
สิ่งตรวจพบ
ใช้ เครื่องวัดความดัน จะตรวจพบความดันโลหิตช่วงบนมีค่าตั้งแต่ ๑๔๐ มม. ปรอทขึ้นไป หรือช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ ๙๐ มม. ปรอทขึ้นไป หรือสูงทั้งช่วงบนและช่วงล่าง
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่นาน ๆ มักจะเกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ไต ประสาทตา เป็นต้น เนื่องจากการใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจพบความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดแดงแทบทุกส่วนของร่างกายเสื่อม เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ( atherosclerosis ) หลอดเลือดตีบ เลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่ได้
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่
๑. หัวใจ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต จนกระทั่งเกิด ภาวะหัวใจวาย ซึ่งจะมีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ อาจทำให้หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันกลายเป็น โรคหัวใจ ขาดเลือด มีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงเกิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
๒. สมอง อาจเกิดภาวะ หลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตก กลายเป็น โรคอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ในรายที่มี เส้นโลหิตฝอยในสมองส่วนสำคัญแตก ก็อาจตายได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นเรื้อรัง บางคนอาจกลายเป็น โรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง ในรายที่มีความดันสูงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจทำให้เกิดอาการชัก หรือหมดสติ ได้โรคเหล่านี้ดูแล้วน่ากลัวมาก จึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน มาไว้ตรวจเช็คด้วยตัวคุณเองจากที่บ้าน
๓. ไต อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ไตที่วายยิ่งทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น
๔. ตา เกิดภาวะเสี่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้า ๆ
๕. หลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หลอดเลือดแดงใหญ่เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และภาวะเลือดเซาะ ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งอาจเกิดอันตรายถึงตายได้ นอกจากนี้หลอดเลือดแดงส่วนที่มาเลี้ยงขาและปลายเท้า ก็อาจเกิดภาวะแข็งตัวและตีบได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.prueksaveda.com/_m/article/content/content.php?aid=539322137
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น