วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558
5 สมุนไพรไทยพิชิตความดันโลหิตสูง
โดย...รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากถึงพันล้านคนสถตินี้ได้มาจากการใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวยเช็คซึ่งสองในสามของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก 1 คน ใน 3 คนมีภาวะความดันโลหิตสูงและประชากรวัยผู้ใหญ่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็พบ มี 1 คน ใน 3 คน ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรวมถึงคนไทยที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 22 และได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1.56 พันล้านคน ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ในแต่ละปีประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้ถึงเกือบ 8 ล้านคน ส่วนประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงนี้ ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจอีกด้วย จึงควรซื้อ เครื่องวัดความดัน มาไว้ตรวจเช็คเองจากที่บ้านเพราะจะได้ค่าแม่นยำที่สูง
ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้แนะนำสมุนไพรไทยใกล้ตัวไว้ในหนังสือบันทึกของแผ่นดินหลายเล่ม ซึ่งที่มีผลช่วยลดอาการความดันโลหิตสูง วันนี้จึงได้รวบรวมสมุนไพรที่น่าสนใจ 6 ชนิด มานำเสนอดังนี้
“กระเจี๊ยบแดง” ความโดดเด่นของกระเจี๊ยบ คือ ไม่ว่ากระเจี๊ยบแดงจะงอกงาม ณ ประเทศไหน คนในประเทศนั้นจะมีการใช้กระเจี๊ยบแดงที่เหมือนกัน คือ ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต เป็นยาขับปัสสาวะ และยังเชื่อว่ากระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณในการบำรุงไต และหัวใจ
จากการทดลองในสัตว์และมนุษย์ พบว่า กระเจี๊ยบแดงสามารถลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ขับยูริค รวมทั้งลดการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะภายหลังการผ่าตัดในไตได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการดื่มชากระเจี๊ยบวันละ2-3ครั้งเมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจจะพบว่าสามารถลดความดันโลหิต diastolic ลงตั้งแต่ร้อยละ 7.2 ถึง 13 เลยทีเดียว ดังนั้น ชากระเจี๊ยบจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
นักวิทยาศาสตร์วิจัยพบว่า การที่กระเจี๊ยบแดงสามารถลดความดันโลหิตได้ เนื่องมาจากสาร “แอนโธไซยานิน” (anthocyanins) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดนั่นเอง
“คึ่นไฉ่” ชาวเอเชีย นิยมใช้คึ่นไฉ่เป็นยาลดความดันโลหิตมากว่า 2000 ปีแล้ว ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานคึ่นไฉ่วันละ 4 ต้น เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ แพทย์อายุรเวทในอินเดียจะสั่งจ่ายเมล็ดคึ่นไฉ่เพื่อขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่บวมน้ำ
ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า คึ่นไฉ่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับบั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ขับระดู เป็นต้น
“บัวบก” เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากบัวบกทำให้การไหลเวียนของเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยมีการไหลเวียนดีขึ้น มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี จึงสามารถลดความดันโลหิตได้
ทั้งนี้ มีรายงานการวิจัยที่สนับสนุนว่า สารสกัดเอทานอลจากต้นบัวบก มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูข่าวเมื่อให้ทางหลอดเลือดดำ น้ำคั้นจากต้น และสารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูขาวและสุนัข บัวบกยังทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อคนที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดและคนที่เป็นริดสีดวงทวาร นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท ทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น มีฤทธิ์คลายความเครียด ซึ่งฤทธิ์คลายความเครียดนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วย
“คาวตอง หรือพลูคาว” หมอยาทั่วไป ทั้งอีสาน ภาคเหนือ หรือไทยใหญ่มีความเชื่อว่าการกินคาวตองสดๆ กับน้ำพริก ลู่ ลาบ หรือใช้รากต้มกับปลาไหล รากตำเป็นน้ำพริกกินจะเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ริดสีดวงทวาร แผลในกะเพาะอาหาร
พลูคาว นับเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมากตัวหนึ่ง ซึ่งจากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ต่างพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวเช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์ของหมอยาพื้นบ้าน ในประเทศเกาหลีก็ได้มีการใช้พลูคาวเป็นยาลดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเนื่องจากมีการสะสมของไขมัน (atherosclerosis) และมะเร็งอีกด้วย
“มะรุม” นับเป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยจากประสบการณ์การใช้ของชาวบ้านทั้งในไทยและต่างประเทศ และการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ส่วนของใบและรากของมะรุม มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B
สำหรับตำรับยาแก้ความดันโลหิตสูง ซี่งต้องกินอย่างต่อเนื่อง เช่น
ตำรับที่ 1 นำรากมาต้มกินเป็นซุป
ตำรับที่ 2 นำยอดมาต้มกิน
ตำรับที่ 3 นำยอดอุ๊ปใส่เนื้อวัวกิน ซึ่งต้องเป็นเนื้อวัวเท่านั้น
ตำรับที่ 4 นำรากมะรุมต้มกับรากย่านางกิน
ตำรับที่ 5 ใช้ยอดมะรุมสด โดยจะเป็นยอดอ่อนหรือยอดแก่ก็ได้ นำมาโขลกคั้นเอาน้ำ (ถ้าไม่มีน้ำให้เติมน้ำลงไปพอให้เหลวข้น) ผสมน้ำผึ้งพอหวาน กินวันละ 2 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว ยานี้จะช่วยลดความดัน เมื่อหยุดกินยาความดันโลหิตก็เพิ่มขึ้นมาอีก จึงต้องกินอย่างต่อเนื่อง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000054699
ป้ายกำกับ:
เครื่องวัดความดัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น