เมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจแล้วพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วไม่ได้รักษา หรือรักษาแล้วแต่ควบคุมได้ไม่ดีจะมีโอกาสเกิดความผิดปกติต่ออวัยวะต่อไปนี้เร็วขึ้นได้แก่
- สมองเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก
- หัวใจ ทำให้เกิดหัวใจโต หัวใจวายหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย
- ตา อาจมีเลือดออกที่จอตา ตาบอด
- ไตทำให้ไตวาย
ผลแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นาน และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด และตา เป็นต้น เพราะความดันโลหิตที่สูงที่เป็นอยู่นานจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น และรูเล็กลง ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆลดลง ส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่เป็นปกติ และหากทำลายรุนแรงมากพอ อาจทำให้ถึงแก่กรรมได้
ระยะเวลาที่เป็นความดันโลหิตสูง จนเกิดผลร้ายดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิต เช่น ระดับอ่อน และปานกลาง จะใช้เวลานานมากกว่า10 ปี ระดับรุนแรงจะใช้เวลาสั้นกว่านี้
1. หัวใจ
ความดันโลหิตสูง จะมีผลต่อหัวใจ2ทาง คือ ทำใหัหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัว และแข็งตัวขึ้น ทำให้เกิดการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลว ทำให้มีอาการเหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น
2. สมอง
ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของอัมพาต อัมพฤกษฺ ที่พบบ่อย ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดเล็ก ๆ อุดตัน โดยเกล็ดเลือด ซึ่งพบบ่อย หรือเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดออกในสมอง
3. ไต
เป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือดมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ความดันโลหิตสูงก็มีผลต่อหลอดเลือดที่ไต เช่นเดียวกับหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ มีผลให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ จนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มแรกของภาวะไตวายเรื้อรัง คือ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ขาบวมตอนสาย หากเป็นมากจะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงจากภาวะซีด ซึ่งมักพบในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และคลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
4. ตา
ความดันโลหิตสูงจะมีผลต่อหลอดเลือดที่ตา เช่น เลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็กๆ ที่จอตาอุดตัน หรือ ทำให้จอตาหลุดลอกออกได้ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ หรือตามัวจนถึงตาบอดได้ เบาหวาน ซึ่งมักพบร่วมกับความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางตาได้เร็ว
5. หลอดเลือด
ความดันโลหิตสูง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ หรือโป่งพอง มีผลททำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณแขนขาและอวัยวะภายในลดลง ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ไกลเพราะปวดขาจากการขาดเลือด ต้องนั่งพักจึงจะหาย และเดือนต่อได้
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงพบได้ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เช่นในส่วนของสมองซึ่งที่พบบ่อยได้แก่เส้นเลือดสมองแตกหรืออุดตัน และมักจะตามมาด้วยอาการอัมพฤกษ์อัมพาต นอกจากนั้นก็เป็นในส่วนของหัวใจ ซึ่งได้แก่หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวาย และไตซึ่งได้แก่อาการไตวาย เป็นต้น ซึ่งหากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นแสดงว่าระดับความดันโลหิตสูงมากแล้ว ในการรักษา แพทย์จะแก้ไขภาวะแทรกซ้อนก่อนต่อมาก็คือควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติมากที่สุดเพื่อไม่ให้มีอันตรายต่อไปจากภาวะแทรกซ้อนอีกอย่างไรก็ตามหากสามารถตรวจพบว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้และการรักษาก็จะได้ผลดีที่สุดด้วย
ภาวะแทรกซ้อน
- หัวใจทำงานหนักขึ้นทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด
- อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำใหเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง
- เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก
- หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อมตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้
การมีความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานๆโดยไม่ได้รับการควบคุม หรือควบคุมไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลเสียกับอวัยวะต่างๆได้ดังต่อไปนี้
- หัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นขนาดหัวใจใหญ่ขึ้น ระยะต่อมาจะทำให้การทำงานของหัวใจลดลงเกิดภาวะหัวใจวายได้
- หลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย
- สมองและระบบประสาททำให้มีเลือดออกในสมองเกิดอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต หมดสติ หรือเสียชีวิตโดยเฉียบพลันหรืออาจทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันเกิดอัมพาต
- หลอดเลือดแดงใหญ่ทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือหลังอย่างรุนแรงพร้อมกับมีการตกเลือด และอาจทำให้เสียชีวิต
- ไตวายความดันโลหิตสูงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือดแดงขนาดเล็กของไตทำให้การทำงานของไตลดลงจนถึงขั้นเป็นไตวาย
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุบัติการณ์เกิดโรคของหลอดเลือดสมองโรคไต รวมถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆส่งผลให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะถึงขั้นพิการซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถฟื้นฟูให้เหมือนปกติได้หรือบางครั้งอาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนต่างๆผู้ที่ความดันโลหิตสูงนานๆมักจะมีภาวะหลอดเลือดแดงเล็กแข็งตัวร่วมด้วยเป็นผลให้เกิดพยาธิสภาพที่อวัยวะที่สำคัญปัจจุบันพบว่าโรคไตเป็นภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นมากหากเกิดอาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะเลือดเป็นพิษจากปัสสาวะและเสียชีวิตได้และในกรณีที่เกิดพยาธิสภาพในสมองก็อาจทำให้เกิด Stroke มีผลทำให้เนื้อสมองเกิดภาวะขาดออกซิเจนและถูกทำลายการที่ค่าความดันโลหิตมีการเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วในช่วงเช้ายิ่งทำให้โอกาสที่หลอดเลือดแดงเล็กในสมองแตกและก่อให้เกิดอันตรายในช่วงเวลาดังกล่าวยิ่งมีมากโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจะพบความเสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า
ภาวะแทรกซ้อน
- หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด
- อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำใหเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง
- เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อม ทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก
- หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้
ร้อยละ 70 ของผู้เป็นความดันโลหิตสูง…มักเป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจแอบแฝงที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ควรละเลยจากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจวายถึง 60-75 % เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูง มักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นเพราะไม่แสดงอาการเลยไม่ได้ให้ความสนใจ แต่เมื่อเราเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา นั่นอาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งการควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรค อัมพฤกษ์ อัมพาตหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ความดันโลหิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
1. อายุส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90
2. เวลาความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลง ๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่นในตอนเช้าความดันซีสโตลิกอาจจะวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน 130 มม. ปรอท ขณะนอนหลับอาจใช้ เครื่องวัดความดัน วัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจใช้ เครื่องวัดความดัน วัดได้ต่ำถึง 100 มม. ปรอท เป็นต้น
3. จิตใจและอารมณ์พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มากขณะได้รับความเครียด
4. เพศพบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง
5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรค
ความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว สิ่งแวดล้อมที่เคร่งเครียดก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูง ขึ้นด้วยเช่นกัน
6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท
7. เชื้อชาติ พบว่าชาวนิโกรอเมริกันความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
8. ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับ ประทานเกลือน้อยอาการของผู้ป่วยความดันโลหิต ซึ่งอาจส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงงเวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับกรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรงได้แก่ภาวะหัวใจวานหรือ หลอดเลือดในสมองแตก
กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หลอดเลือดสมองตีบ
เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้ภาวะแทรกซ้อน
- หัวใจทำงานหนักขึ้นทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโตและหัวใจวายได้ในที่สุด
- อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตกทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ถ้าเป็นเรื้อรังอาจก ลายเป็นโรคความจำเสื่อมสมาธิลดลง
- เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่เพียงเนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมทำให้ไตวายเรื้อรัง และภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก
- หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆจนตาบอดได้
การป้องกัน…รักษาโรคหัวใจแทรกซ้อนจากการเป็นความดันโลหิตสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเหยาะ หรือว่ายน้ำปั่นจักรยานควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้ง/สัปดาห์
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
- ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
- ลดความเครียดของงานและภาวะแวดล้อม
- ลดน้ำหนักตัวโดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐานความอ้วน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิต
- รับประทานยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน และปรับยาให้เหมาะสม
ภาวะแทรกซ้อน
หัวใจทำงานหนักขึ้นทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ทำให้เกิดหัวใจโตและหัวใจวายได้ในที่สุดอาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตกทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อมสมาธิลดลงเลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอเนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีกหลอดเลือดแดงในตาเสื่อมลงอย่างช้าๆอาจมีเลือดที่จอตาทำให้ประสาทตาเสื่อมตามัวลงเรื่อยๆจนตาบอดได้
เครื่องวัดความดัน |
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการเพราะความดันโลหิตสูงขึ้นช้าๆใช้เวลาเป็นเดือนหรือปีแต่หากความดันโลหิตสูงมากและสูงอย่างรวดเร็วอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะได้ พบว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์และปัจจัยแวดล้อม เช่น การรับประทานเค็มภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ ความเครียด การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดข้อยาคุมกำเนิด ยาแก้หวัดบางชนิดเมื่อเป็นความดันโลหิตสูงแล้วจำเป็นต้องรักษาถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการการรักษาทำได้โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรมลดปัจจัยแวดล้อมก่อนและโดยการกินยาซึ่งยารักษามีหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาให้ตามความเหมาะสมกับลักษณะผู้ป่วยแต่ละรายเป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงคือการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้คือ
สมอง อาจทำให้เส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตกได้ ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
หัวใจ อาจทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกและกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหากหลอดเลือดที่หัวใจตีบ เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอทำให้หัวใจวายได้ในที่สุด
ไต ความดันโลหิตที่สูงอยู่นานจะทำให้ไตเสื่อมเมื่อไตเสื่อมจะทำให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงซึ่งจะกระตุ้นให้ไตสร้างฮอร์โมนบางชนิดทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีกทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั่วร่างกายขณะเดียวกันไตมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่กระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดงหากไตเสื่อมจะทำให้การสร้างฮอร์โมนนี้ลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซีด เหนื่อยง่ายขาบวม และเกิดภาวะไตวายได้ในที่สุด
ตา ตาจะมัว สำหรับความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์จะมีอันตรายทั้งเด็กและแม่อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือชักได้ เพราะฉะนั้นหญิงมีครรภ์ควรมีการฝากท้องซึ่งจะต้องใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาตรวจ
- ระบบตา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด บนจอรับภาพ และเกิดโรคประสาทตา
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจโต โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลวกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจวายทำให้เสียชีวิตได้
- ระบบประสาททำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้ ส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้
- ระบบไต เกิดการตีบของหลอดเลือดที่นำไปเลี้ยงไต ทำให้ไตพิการและไตวายได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://kmhealth.bcnsurat.ac.th/?p=21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น