เครื่องวัดความดัน |
ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายโดยจะสามารถวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน ดังนั้นควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้งความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากวัดด้วย เครื่องวัดความดัน แล้วพบว่าสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงจึงควสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน
ค่าจำกัดความดันโลหิตสูง
ค่าความดัน sysytole | ค่าความดนตัวล่าง diastole | ||
ค่าความดันที่ต้องการ optimal | <120 | และ | <80 |
ค่าความดันปกติ normal | 120-129 | และหรือ | 80-84 |
ค่าความดันปกติแต่สูง high normal | 130-149 | และหรือ | 85-89 |
ความดันสูงระดับ1 grade1hypertension | 150-169 | และหรือ | 90-99 |
ความดันสูงระดับ2 grade2hypertension | 170-189 | และหรือ | 100-109 |
ความดันสูงระดับ3 grade3hypertension | >180 | และหรือ | >110 |
ความดันสูงตัวบน isolated hypertension | >140 | และ | <90 |
เมื่อท่านใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิตแล้ว ดูว่าความดันโลหิตท่านอยู่ในช่วงไหน โดยดูทั้งความดันตัวบนและตัวล่าง หากว่าค่าใดสูงให้เอาค่านั้น เช่าหากวัดได้ค่าความดันโลหิต150/120 mmHg จะจัดว่าท่านอยู่ในความดันโลหิตระดับ 3 แม้ว่าความดันตัวบนของท่านจะอยู่ในระดับ 1
เมื่อสมัยก่อนจะเน้นเรื่องความดันตัวล่างคือ diastole ว่าหากสูงจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ปัจจุบันทั้งความดันตัวบน( systole ) และความดันตัวล่าง(diastole) สูงจะทำให้เกิดทั้งโรคหัวใจ และหลอดเลือด พบว่าหากเป็นความดันโลหิตสูงโรคเดียวจะพบว่าเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากภาวะนี้พบได้ในประเทศแทบเอเซีย แต่หากมีโรคอื่น เช่น ไขมัน เบาหวาน หรือสูบบุหรี่จะพบโรคหัวใจมากกว่าโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเป็นภาวะที่พบในประเทศยุโรปและอเมริกา
ความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่างหรือ ช่วงระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง อันไหนมีความสำคัญ
- ในการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ความดันโลหิตตัวบน systolic และความดันโลหิตตัวล่าง diastolic ที่วัดได้จาก เครื่องวัดความดัน หากค่าใดค่าหนึ่งสูงจะมีผลทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคสมองเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการรักษาจะต้องรักษาให้ทั้งสองค่าอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด
- สำหรับความแตกต่างระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง(ความดันโลหิตตัวบนลบตัวล่าง)นั้นเมื่อวัดด้วย เครื่องวัดความดัน ไม่ควรเกิน50-55 หากค่านี้เกินในคนอายุมากว่า55ปีจะถือว่าเป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะถือว่าน่าจะมีโรคหลอดเลือดแข็งหรือตีบแล้ว
เครื่องวัดความดัน |
ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่
เมื่อท่านตรวจด้วย เครื่องวัดความดัน พบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)* | |||
ความรุนแรงของความดันโลหิต | Systolic | Diastolic | จะต้องทำอะไร |
ความดันโลหิตที่ต้องการ | น้อยกว่า 120 | น้อยกว่า 80 | ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี |
ความดันโลหิตสูงขั้นต้นPrehypertensionl | 130-139 | 85-89 | ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี |
ความดันโลหิตสูง | |||
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) | 140-159 | 90-99 | ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน |
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) | >160 | >100 | ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน |
ความดันโลหิตสูงในเด็ก
เราใช้ เครื่องวัดความดัน วัดไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูงการค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรกจะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน
คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม่
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/hypertension.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น