เครื่องวัดความดัน |
ความดันโลหิตเป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายสามารถตรวจได้ด้วย เครื่องวัดความดัน จะมี 2 ค่า ความดันตัวบน (แรงดันเลือดขณะหัวใจห้องซ้ายล่างบีบตัว) และความดันตัวล่าง (แรงดันเลือดขณะหัวใจห้องซ้ายล่างคลายตัว) ซึ่งในคนปกติไม่ควรจะเกิน 130/85 มม.ปรอท (จากการประชุมร่วมขององค์การอนามัยโลก และ International Society of Hypertension ปี ค.ศ. 2003)
ส่วนระดับความรุนแรงของความดันโลหิตที่สูงนั้น ให้พิจารณาจากค่าที่วัดได้จาก เครื่องวัดความดัน คือความดันตัวบนและความดันตัวล่างทั้ง 2 ค่า โดยถือระดับความดันโลหิตที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ เช่น ความดันโลหิต 150/110 มม.ปรอท ความดันตัวบน 150 มม.ปรอท จะอยู่ในระดับอ่อน แต่ความดันตัวล่าง 110 มม.ปรอท จะอยู่ในระดับรุนแรง ดังนั้น ผู้ป่วยรายนี้ก็ต้องจัดอยู่ในกลุ่มความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง เป็นต้น (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ความดันโลหิตสูงในระดับต่าง ๆ ซึ่งแบ่งความรุนแรงในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป |
ระบาดวิทยาของโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบบ่อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาจากการเป็นประเทศเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรม รวมทั้งประชากรไทยเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตตามประเทศทางตะวันตก ทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทยร่วมกับทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจสถานะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยล่าสุดครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2551-2552 ซึ่งศึกษาในประชากรไทยอายุ 15ปีขึ้นไป จำนวน 6,692 คน และถือเกณฑ์ความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป พบอุบัติการณ์ของความดันโลหิตสูงเฉลี่ยทั้งประเทศ 21.4 ต่อประชากร 100 คน ความชุกจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงพบในเพศชาย (ร้อยละ 21.5) ใกล้เคียงกับในเพศหญิง (ร้อยละ 21.3) กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีความชุกมากที่สุดเฉลี่ยพบร้อยละ 29.8 ผู้ที่อาศัยในเขตเทศบาลจะมีอัตราเป็นความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 26.8) มากกว่าผู้ที่อาศัยนอกเขตเทศบาล (ร้อยละ 19.0) อย่างชัดเจน สำรวจพบเพียงร้อยละ 49.7 ของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ทราบว่าตนเองเป็นความดันโลหิตสูง และร้อยละ 82.7 ของผู้ที่ทราบว่ามีภาวะนี้ได้รับการรักษา และร้อยละ 50.2 ของกลุ่มที่ได้รับการรักษามีความดันโลหิตต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท
สาเหตุ
ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่ใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจเช็ตแล้วพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงแต่จะตรวจไม่พบสาเหตุเชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ
1.กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้จากหลักฐานทางระบาดวิทยา พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น ยิ่งกว่านั้นผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดาเป็นความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้น ๆ
2. สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่นภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ภาวะเครียด เป็นต้น
ส่วนความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุพบได้น้อยกว่าร้อยละ 10 ผู้ป่วยในกลุ่มนี้แม้จะพบเป็นจำนวนน้อยแต่ก็มีความสำคัญ เพราะบางโรคอาจรักาให้หายขาดได้สาเหตุที่พบบ่อย คือ โรคไต หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจตีบ และเนื้องอกของต่อมหมวกไต เป็นต้น
อาการ
ความดันโลหิตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ไปทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรืออัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะความดันโลหิตสูง จึงมักได้รับการขนานนามว่า “ฆาตกรเงียบ”
ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นได้ เช่น เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตุบ ๆ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่จำเพาะ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น ไข้ เครียด ไมเกรน เป็นต้น ดังนั้น เมื่อเกิดอาการผิดปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าพบความดันโลหิตสูงมากจะได้รักษาได้ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งเมื่อความดันโลหิตลดลงมาเป็นปกติ อาการดังกล่าวก็จะหายไป
ผลแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูง ที่เป็นอยู่นานและไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด และตา เป็นต้น เพราะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นาน จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น และรูเล็กลงทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่เป็นปกติ และหากการทำลายรุนแรงมากพออาจทำให้ถึงแก่กรรมได้
ระยะเวลาที่ใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจแล้วพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจนเกิดผลร้ายดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิต เช่น ระดับอ่อนและปานกลางจะใช้เวลานานมากกว่า 10 ปี ระดับรุนแรงจะใช้เวลาสั้นกว่านี้ หรือความดันโลหิตชนิดร้ายแรงจะใช้เวลาแค่เป็นเดือน เป็นต้น
เครื่องวัดความดัน |
2. สมอง ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของอัมพาต อัมพฤกษ์ ที่พบบ่อยซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดเล็ก ๆ อุดตันโดยเกล็ดเลือด ซึ่งพบบ่อยหรือเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตกทำให้เลือดออกในเนื้อสมอง
3.ไต เป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือดมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ความดันโลหิตสูงก็มีผลต่อหลอดเลือดที่ไตเช่นเดียวกับหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงโตไม่เพียงพอ มีผลให้ไตเสื่อมสมรรถภาพจนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มแรกของภาวะไตวายเรื้อรัง คือ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ขาบวมตอนสาย หากเป็นมากจะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงจากภาวะซีด ซึ่งมักพบในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังและคลื่นไส้ อาเจียน ซึมลงในผู้ป่วยไตวายระยะท้าย ๆ
4. ตา ความดันโลหิตสูงจะมีผลต่อหลอดเลือดที่ตา เช่น เลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็ก ๆ ที่จอตาอุดตัน หรือทำให้จอตาหลุดลอกออกได้ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ หรือตามัวจนถึงตาบอดได้ เบาหวาน ซึ่งมักพบร่วมกับความดันโลหิตสูง จะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางตาได้เร็ว
5. หลอดเลือด ความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดตีบแคบหรือโป่งพอง มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณแขนขา และอวัยวะภายในลดลงผู้ป่วยเดินไม่ได้ไกล เพราะปวดขาจากการขาดเลือด ต้องนั่งพักจึงจะหายและเดินต่อได้
ข้อมูล: เอกสาร "เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง" โดย สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย
ภาพประกอบ: www.shape-in.com, www.livestrong.com, www.blog.oransi.com
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.health2click.com/index.php?lite=article&qid=42098375
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น