คู่มือการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
ความดันโลหิต คืออะไร
ความดันโลหิต เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ซึ่งวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน โดยจะวัดได้ 2 ค่า คือ
• ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว (Systolic)
• ความดันโลหิตค่าล่าง คือแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว (Diastolic)
ในคนปกติ ความดันโลหิต ไม่ควรเกิน 130/85 มิลลิเมตรปรอท (จากการประชุมร่วมขององค์การอนามัยโลก และ International Society of Hypertension ปี 1999)
ตารางแสดงความดันโลหิตสูงในระดับต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามความรุนแรงในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ระดับความดันโลหิต ความดันตัวบน (มม.ปรอท) ความดันตัวล่าง (มม.ปรอท)
ระดับ 1 ความดันโลหิตสูงอย่างอ่อน 140 – 159 90 - 99
ระดับ 2 ความดันโลหิตสูงปานกลาง 160 – 179 100 – 109
ระดับ 3 ความดันโลหิตสูงรุนแรง ≥180 ≥109
ความดันโลหิตสูงเฉพาะตัวบน ≥140 ≤90
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย
1. ความดันโลหิตสูงเกิดจากการที่หลอดเลือดแดงแคบเล็กลงเพราะมีไขมันมาเกาะตามผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งไม่ยืดหยุ่น หรือมีการหดตัวของหลอดเลือดเล็ก ๆ ทั่วร่างกาย การที่หลอดเลือดแดงแคบเล็กลง หรือหลอดเลือดแดงแข็งไม่ยืดหยุ่น หรือหดตัวนั้น เป็นเหตุให้เลือดที่จะไปเลี้ยงร่าง
กายไหลผ่านหลอดเลือดได้ช้าและน้อยลง ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้นเพื่อที่จะได้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ จึงทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โดยจะสามารถวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน
ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะทำให้รู้หลอดเลือดแคบลง |
2. ระดับความดันโลหิต เกิดขึ้นโดยแรงดันเลือดจากหัวใจเข้าสู่หลอดเลือดแดง ปริมาณของของเหลวในระบบหลอดเลือด (ซึ่งขึ้นกับความเข้มข้นของโซเดียมในเลือด) และความต้านทานของกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือด กลไกที่มีปฏิกิริยาต่อการควบคุมระดับความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ได้แก่ ไต คือมีการหลั่งฮอร์โมน การปรับความสมดุลของน้ำและการขับโซเดียม และระบบประสาทอัตโนมัติ (sympathetic nervous system,SNS) เมื่อหน้าที่เหล่านี้สูญเสียความควบคุมหากเราใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจจะพบว่าเกิดความดันโลหิตสูงขึ้น
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน
หลักการรักษา คือ การกำจัดไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกจากร่างกาย ฟื้นฟูภาวะหลอดเลือดแข็งให้กลับมายืดหยุ่น ฟื้นฟูการหดตัวของหลอดเลือดเล็ก ๆ ทั่วร่างกาย ทำการบำรุงไตให้แข็งแรงขึ้น เมื่อร่างกายกลับคืนสู่ความสมดุล ความดันโลหิตก็จะกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ซึ่งแนวทางการรักษาจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องอาหาร วิถีชีวิตควบคู่กับการใช้ยาสมุนไพร จึงจะประสบความสำเร็จ
วิธีการรักษา
เครื่องวัดความดัน |
1. วัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน และเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่าต่าง ๆในเลือดดังนี้
• ไขมันแอลดีแอลและคลอเลสเตอร์รอล
• ไตรกลีเซอร์ไรด์
• เอชดีแอล (ไขมันดี)
• กรดยูริก
• น้ำตาลในเลือด
• เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด
• การทำงานของตับและไต
2. เก็บผลรายงานทางการแพทย์ไว้เพื่อประเมินผลเปรียบเทียบในภายหน้า
ปฏิบัติการรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1. ตื่นนอนตอนเช้าไม่ต้องแปรงฟันให้ดื่มน้ำสะอาดประมาณ 3 – 5 แก้ว ถ้าไม่ได้เป็นโรคกระเพาะ ให้บีบน้ำมะนาวลงไปด้วยจะช่วยล้างไขมันในลำไส้เล็กถึงลำไส้ใหญ่ทำให้ลำไส้สะอาดขึ้น ระบบดูดซึมสารอาหารจะดีขึ้น ขับถ่ายง่ายท้องไม่ผูก ระบบการไหลเวียนของเลือดจะดีขึ้น เลือดไม่ข้น ภายใน 1 วัน ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้ประมาณ 2.5 – 3 ลิตร ก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมาก เพราะจะทำให้ต้องลุกขึ้นปัสสาวะตอนดึก
2. ลดการบริโภคอาหารที่มี รสหวาน รสมัน และรสเค็ม
รสหวาน ได้แก่ น้ำตาลทุกชนิด ผลไม้ที่มีรสหวานทุกชนิด เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ มะม่วงสุก มะละกอสุก เป็นต้น เป็นสาเหตุให้ไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดสูง
รสมัน ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ หนังเป็ด หนังไก่ หัวกุ้ง ปลาหมึก ของทอดน้ำมันทุกชนิด เป็นต้น เป็นสาเหตุให้ไขมันแอลดีแอลและคลอเลสเตอร์รอล ในเลือดสูง
รสเค็ม ได้แก่ เกลือ น้ำปลา กะปิ ปลาร้า ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หัวใช้โป้ เป็นต้น เป็นสาเหตุให้โซเดียม (เกลือ) ในเลือดสูง ไตต้องทำงานหนักในการขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ
เพิ่มการบริโภคอาหารที่มีรส เปรี้ยว ขม ฝาด และรสจืด-หอมเย็น
รสเปรี้ยว ได้แก่ มะนาว มะขามเปรี้ยว มะกรูด มะขามป้อม มะเขือเทศ กระเจี๊ยบ เป็นต้น ช่วยล้างไขมันในลำไส้และร่างกาย (ยกเว้นรสเปรี้ยวจากของหมักดอง)
รสขม ได้แก่ มะระ มะระขี้นก ผักเซียงดา ผักง้วนหมู มะเขือพวง ใบยอ ฝักเพกา (มะริดไม้) ใบบัวบก เป็นต้น ช่วยบำรุงเลือด บำรุงตับและน้ำดี
รสฝาด ได้แก่ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก ฝรั่งดิบ ยอดจิก ยอดกระโดน ใบมะกอก ยอดมะม่วง เป็นต้น ช่วยล้างไขมันในลำไส้ (รับประทานมากทำให้ท้องผูก)
รสจืด-หอมเย็น ได้แก่ ใบเตย ดอกขจร ดอกโสน สายบัว ผักบุ้งไทย ดอกแค ผักกาดหอม ผักกาดขาว ดอกมะลิ ดอกพิกุล เป็นต้น ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกำลังทำให้สดชื่น
3. งดสูบบุหรี่ งดบริโภค เหล้า เบียร์ ไวน์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ของหมักดองทุกชนิด น้ำอัดลม กะทิ นม นมเปรี้ยว เนย ครีม ครีมเทียม น้ำตาลเทียม ช๊อคโกแลต
4. งดบริโภคอาหารที่ใส่หรือปนเปื้อนสารเคมี เช่น ผงชูรส สารกันบูด ยาฆ่าแมลง สารบอแร็กซ์ สารสังเคราะห์เพื่อปรุงรสแต่งกลิ่น สีสังเคราะห์ ดินประสิว สารฟอกขาว ยากันเชื้อรา เป็นต้น (ส่วนใหญ่จะมีในอาหารและขนมสำเร็จรูป)
5. รับประทานข้าวกล้อง ผักสด ผลไม้และธัญพืชไร้สารพิษให้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน บำรุงร่างกายด้วยสารอาหารจากธรรมชาติ (ต้านอนุมูลอิสระ)
6. รับประทานน้ำเอ็นไซน์จากพืชผักผลไม้ เพื่อบำรุงร่างกายเสริมสร้างภูมิต้านทาน เช่น น้ำใบบัวบก น้ำเก๊กฮวย น้ำใบย่านาง น้ำแครอท น้ำแอปเปิ้ลเขียว น้ำฝรั่ง (ไม่ใส่น้ำตาล) ฯลฯ
7. ออกกำลังกายเบา ๆ สม่ำเสมอ ตามที่ตนเองชอบ ถ้าสามารถฝึกโยคะ หรือชี่กงจะดีมาก (ได้ทั้งการออกกำลังกาย ฝึกสมาธิ และฝึกการหายใจที่ถูกต้องในคราวเดียวกัน)
8. ฝึกนั่งสมาธิเพื่อควบคุมอารมตนเอง ปล่อยวางไม่เครียด ไม่โกรธ ไม่น้อยใจ ไม่เสียใจ ไม่เอาแต่ใจตนเอง ไม่จู้จี้ขี้บ่น ฟังเพลง เบา ๆ เที่ยวชมธรรมชาติตามที่ชอบ มองโลกในแง่ดี คิดในแง่บวก หัวเราะยิ้มแย้มแจ่มใส สงสารเห็นใจคนอื่น แผ่เมตตา ให้อภัย วางใจเป็นกลาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น หากทำข้อนี้ได้ เมื่อคุณใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจเช็คก็จะพบว่าความดันโลหิตลดลง
9. สร้างความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อนร่วมงาน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนช่วยเหลือสังคมตามโอกาสและความเหมาะสม
10. สร้างขวัญและกำลังใจเพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บในร่างกาย ปลุกจิตสำนึกให้กล้าแกร่ง พยามยามคิดและสร้างความดีให้เกิดขึ้นทุกวัน
11. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น คาราโอเกะ ดิสโก้เทค เป็นต้น
12. รับแสงแดดยามเช้าและอากาศบริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท สถานที่อับชื้นมีกลิ่นเหม็น ควันพิษจากท่อไอเสีย การฉีดยาฆ่าแมลง ฯลฯ
13. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนห้องปรับอากาศเพราะอากาศไม่ถ่ายเท ไม่ควรเข้านอนเกิน 22.00 น
14. ขับถ่ายอุจจาระทุกวัน อย่าให้ท้องผูกเพราะสารพิษจะตกค้างในร่างกาย
15. ใช้ยาสมุนไพรในการขับถ่ายระบายของเสียออกจากร่างกาย (Detox) ในระยะแรกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ปรึกษาแพทย์แผนไทย)
16. ใช้ยาสมุนไพรทีมีสรรพคุณในการควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ (ปรึกษาแพทย์แผนไทย)
17. ใช้ยาสมุนไพรช่วยระบบการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น เพื่อบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด บำรุง ตับ บำรุงไต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดยเฉพาะหลอดเลือดให้ฟื้นคืนสภาพ (ปรึกษา แพทย์แผนไทย)
18. สามารถรับประทานวิตามินซี วิตามินอี น้ำมันปลาและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้จากธรรมชาติเสริมได้ เพื่อช่วยเสริม การรักษาให้เร็วขึ้น
ระหว่างปฏิบัติการรักษาตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำ เมื่อปฏิบัติไปแล้วประมาณ 6 เดือน ไปตรวจเช็คร่างกายอีกครั้งแล้วนำผลการตรวจเลือดเปรียบเทียบกับการตรวจครั้งแรกว่าผลเป็นอย่างไร ถ้าระดับไขมันในเลือดกลับคืนสู่ภาวะปกติและความดันโลหิตก็ไม่สูงแล้วก็แสดงว่าหายเป็นปกติเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการรักษา แต่ถ้ายังมีอยู่บ้างก็ต้องปฏิบัติการรักษาต่อไปจนกว่าจะหายเป็นปกติ เมื่อหายเป็นปกติแล้วก็ต้องปฏิบัติตัวให้ดีอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นอาจกลับมาป่วยเหมือนเดิมได้อีก
การดื่มน้ำให้ถูกวิธี
ก่อนรับประทานอาหาร 5 นาทีและระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำแล้ว เพราะธาตุไฟสำหรับย่อยอาหารกำลังทำงาน การดื่มน้ำจะไปรบกวนระบบการย่อยทำให้ตับเสื่อมเร็ว ระหว่างมื้ออาหารรับประทานน้ำซุปได้บ้างเพราะเป็นน้ำที่ผ่านไฟ (ต้ม) แล้ว รับประทานอาหารเสร็จดื่มน้ำประมาณครึ่งแก้วก็พอเพื่อไม่ให้อาหารติดคอ หลังอาหารประมาณ 40 นาที จึงค่อยทยอยดื่มน้ำ และให้ทำเช่นนี้ในการรับประทานอาหารทุกมื้อ ภายใน ๑ วัน ดื่มน้ำให้ได้ ๒.๕ ถึง ๓ ลิตร แบ่งดื่มเป็น เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอนไม่ ควรดื่มมากเพราะจะต้องลุกขึ้นปัสสาวะตอนกลางคืน (ไม่ควรดื่มน้ำแข็งหรือน้ำแช่เย็นจัด)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.lannahealth.com/?p=552
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น