เครื่องวัดความดัน |
ทุกครั้งที่หัวใจบีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายจะทำให้เกิดแรงดันหรือความดันขึ้นในหลอดเลือดต่างๆ แรงดันเหล่านี้สามารถตรวจเช็คได้ด้วย เครื่องวัดความดัน
ทุกครั้งที่หัวใจบีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายจะทำให้เกิดแรงดันหรือความดันขึ้นในหลอดเลือดต่างๆ ความดันนี้เองที่เราเรียกว่า ความดันโลหิต ความดันโลหิตนี้สามารถใช้เครื่องมือแพท์ชนิดหนึ่งในการตรวจเช็คซึ่งเรียกว่า เครื่องวัดความดัน ค่าความดันโลหิตจะประกอบด้วยค่าสองค่าเสมอคือ ตัวบน และ ตัวล่าง เช่น คุณหมอจะบอกว่า ความดันโลหิตของคุณร้อยยี่สิบ กับแปดสิบครับ 120 ก็คือ ตัวบน และ 80 ก็คือ ตัวล่าง ทั้งสองค่านี้มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร คนไข้ควรจะต้องจดจำค่าทั้งสองของตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการติดตามการรักษา ค่าความดันโลหิตปกติได้มาจากค่าเฉลี่ยของคนปกติเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจถ้าความดันโลหิตของคุณแตกต่างไปจากค่าปกติไปบ้าง อย่างไรก็ตามเป็นที่ตกลงกันว่าถ้าใช้ เครื่องวัดความดัน เช็คแล้วพบว่าตัวบน สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือ ตัวล่าง สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท จะถือว่าความดันโลหิตสูงผิดปกติ เนื่องจากความดันโลหิตไม่ใช่ค่าคงที่มีขึ้นมีลงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีหลายภาวะที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเครียด ความกังวล ตื่นเต้นของคนไข้ที่มาพบแพทย์ ดังนั้นคุณหมอต้องวัดให้แน่นอนว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงแล้วหาค่าเฉลี่ยเป็นวิธีการวัดความดันโลหิตที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ความดันโลหิตสูงปลอม
มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิตที่คลินิกหรือโรงพยาบาลพบว่ามีความดันโลหิตสูง แต่เมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน วัดความดันโลหิตเองที่บ้าน หรือวัดโดยเครื่องวัดความดันโลหิตต่อเนื่อง 24 ชม. กลับพบว่าปกติ ปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ความดันโลหิตสูงปลอม หรือ White Coat Hypertension ซึ่งมีผลทำให้การวินิจฉัยและการปรับขนาดยาของแพทย์ไม่ถูกต้องได้ ดังนั้นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงควรมีเครื่องมือวัดความดันโลหิตที่บ้านโดยเลือกเครื่องที่ได้รับมาตรฐานและนำเครื่องมาตรวจสอบกับเครื่องของแพทย์เป็นครั้งคราว
โรคความดันโลหิตต่ำเป็นอย่างไร
มีคนไข้จำนวนมากที่ได้รับการบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ ในความเป็นจริงแล้วโรคความดันโลหิตต่ำนี้ไม่มีในวงการแพทย์มีแต่ภาวะความดันโลหิตต่ำซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยๆ คือการที่ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ หรือการเสียเลือดเป็นจำนวนมาก คนไข้ที่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น วิงเวียนบ่อยๆ ส่วนมากแล้วอาการดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตเลย แต่มักเกิดจากความเครียด กังวล หรือขาดการออกกำลังกายมากกว่าการที่วัดความดันโลหิตได้ 90/60 มม.ปรอท ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีภาวะความดันโลหิตต่ำเสมอไป ดังที่กล่าวแล้วว่าค่าความดันโลหิตไม่ใช่ค่าคงที่ และมีคนปกติเป็นจำนวนมากที่มีค่าความดันโลหิต 90/60 มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร
ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่ามีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านพันธุกรรม ถ้าบิดาหรือมารดามีความดันโลหิตสูง ท่านจะมีโอกาสที่จะมีความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไป ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือาหารรสเค็ม เพราะถ้าร่างกายได้รับเกลือมากเกินไปเมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน เช็คจะพบว่าเกลือทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงเป็นโรคหรือภาวะที่อันตรายทั้งนี้เนื่องจากว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงนั้น ส่วนมากมักจะไม่มีอาการอะไรเลย มีคนไข้ส่วนน้อยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดหัวแล้วตรวจพบว่ามีความดันโลหิตสูง เนื่องจากไม่มีอาการอะไรจึงทำให้คนไข้ส่วนใหญ่ละเลย ไม่เห็นความสำคัญของการรักษาซึ่งจะมีอันตรายต่างๆ ตามมาภายหลัง
ความดันโลหิตสูง ทำไมต้องรักษา
การที่มีความดันโลหิตสูงอยู่นานๆ หากไม่ได้รับการรักษาแล้วจะทำให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆ ผลตามมาก็คือเกิดโรคหัวใจจากเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย ตาบอด ไตพิการ เนื้อสมองตายเนื่องจากเส้นเลือดตีบ หรือแตก เกิดเป็นอัมพาตช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่วนใหญ่ป้องกันได้โดยการรักษาความดันโลหิตให้ปกติ ดังนั้นการรักษาความดันโลหิตสูงในวันนี้ ทั้งๆ ที่ไม่มีอาการอะไร ก็เพื่อป้องกัน “โรคแทรก” จากความดันโลหิตสูงที่อาจเกิดขึ้นในวันข้างหน้านั่นเอง หากปล่อยให้เกิดโรคแทรกขึ้นแล้ว การรักษาความดันโลหิตสูงจะได้ประโยชน์น้อยลง
ความดันโลหิตสูง สูงเท่าไรจึงต้องรีบรักษา
คนไข้ความดันโลหิตสูง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาทุกราย เราอาจแบ่งระดับความดันโลหิตสูงได้เป็น 3 ระดับดังนี้ ความดันโลหิตสูงน้อย หมายถึง ความดันโลหิตระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงมาก จะมากกว่า 180/110 มม.ปรอทขึ้นไป ส่วนที่อยู่ระหว่างนั้นจัดว่าสูงระดับปานกลาง ผู้ที่มีความดันโลหิตระดับสูงปานกลางและสูงมากทุกรายควรได้รับการรักษา ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อมูลชัดเจนว่าการรักษาจะช่วยป้องกันโรคแทรกจากภาวะความดันโลหิตสูงได้ สำหรับกรณีที่จัดอยู่ในประเภทสูงน้อยนั้น การรักษาอาจไม่ได้ประโยชน์มากนักในแง่ของการป้องกันโรคแทรก แต่ถึงแม้จะไม่รักษาก็มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจวัดดด้วย เครื่องวัดความดัน โลหิตอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากคนที่มีความดันโลหิตสูงน้อยนี้ส่วนหนึ่งความดันโลหิตจะสูงขึ้นกลายเป็นสูงปานกลาง หรือ สูงมาก โดยมากแล้วความดันโลหิตสูง ไม่ต้องการรักษาที่รีบด่วน ควรรักษาโดยค่อยๆ ลดความดันโลหิตลงเข้าใกล้ค่าปกติช้าๆ ได้ โดยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าค่าความดันโลหิตจะลงมาสู่ปกติ การรีบลดความดันโลหิตลงเร็วๆ บางครั้งอาจจะมีผลเสียร้ายแรงได้
ลดความดันโลหิตลงมาต่ำแค่ไหน
ปัจจุบันนี้แนะนำให้ลดความดันโลหิตลงมาให้เป็นปกติให้มากที่สุด คือน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท แต่ต้องไม่เกิดผลแทรกซ้อนจากยาหรือความดันโลหิตต่ำเกินไป อย่างไรก็ตามค่านี้ไม่ใช่เลขตายตัว แพทย์จะพิจารณาผู้ป่วยเป็นรายๆไป เนื่องจากการลดความดันโลหิตมากเกินไปก็อาจมีผลเสียได้ เช่น ในผู้ป่วยสูงอายุบางราย สำหรับผู้ป่วยไตเสื่อม เบาหวาน หรือมีโรคหัวใจเกิดขึ้นแล้ว ควรควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุด
รักษาอย่างไรดี ยาอะไรดีที่สุด
การรักษาความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การไม่ใช้ยา และการใช้ยา การรักษาโดยการไม่ใช้ยาได้แก่การลดอาหารรสเค็ม ลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม งดบุหรี่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ สิ่งต่างๆเหล่านี้นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตได้บ้างแล้วยังช่วยให้สุขภาพทั่วไปดีอีกด้วย แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการใช้ยาลดความดันโลหิต เมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องใช้ยา ยาลดความดันโลหิตที่ดีคือยาที่สามารถลดความดันโลหิตได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยความดันโลหิตไม่แกว่งขึ้นลงมากนัก รับประทานสะดวก และมีผลแทรกซ้อนจากยาน้อย เป็นที่น่าเสียดายว่ายาทุกชนิดมีผลแทรกซ้อนทั้งสิ้นมากบ้างน้อยบ้าง แต่อย่าลืมว่าการปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่ตลอดก็เป็นผลเสียร้ายแรงเช่นกัน ดังนั้นควรติดตามการรักษา โดยพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ซื้อยารับประทานเองไม่หยุดหรือเปลี่ยนยาเอง
รักษานานเท่าไรจึงจะหาย
ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาไปตลอดชีวิต การรักษาไม่ได้หมายความว่าจะต้องรับประทานยาขนาดเท่าเดิมตลอดไป คนไข้หลายรายที่ภายหลังรักษาแล้ว แพทย์สามารถลดขนาดยาลงได้ คนไข้ส่วนน้อยที่อาจหยุดยาได้ การที่หยุดยาไม่ได้หมายความว่าท่านหายขาดจากโรคนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคนี้ ไม่ว่าท่านจะได้ยาหรือไม่ได้ยาก็ตาม คือการพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากหยุดยาแล้วความดันโลหิตกลับสูงอีกท่านก็จำเป็นที่ต้องได้รับยาอีก ขอเน้นว่าความดันโลหิตสูงไม่หายขาด การรักษานอกจากยาแล้วการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก ทำให้จิตใจผ่องใส และ งดรับประทานอาหารรสเค็มจะช่วยได้มาก
จะตรวจรักษาที่ไหนดี
ท่านสามารถรับการตรวจสุขภาพทั่วไป ตรวจวัดด้วย เครื่องวัดความดัน โลหิตได้ที่โรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลใกล้บ้านท่าน การรักษาความดันโลหิตสูงเป็นการรักษาระยะยาว จึงควรติดตามกับสถานพยาบาลที่ท่านสะดวกมากที่สุด หากท่านมีปัญหาหรือข้อสงสัยประการใดโปรดปรึกษาอายุรแพทย์ หรือ อายุรแพทย์โรคหัวใจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.rsuhealth.com/health-knowledge/blood-pressure.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น