วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558
การวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน
การปฏิบัติก่อนการวัดความดันโลหิต
1. ผู้ป่วยต้องไม่สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ หรือออกกำลังกาย ภายใน 30 นาที ก่อนการวัด
2. ผู้ป่วยต้องพักผ่อนก่อนวัดอย่างน้อย 5 นาที
3. ขนาดของผ้าพัน (cuff) ที่เหมาะสม กล่าวคือ ถุงยางภายในผ้าพัน ( bladder )
ควรยาวพันได้รอบแขนโดยไม่ทับกัน หรืออย่างน้อยพันรอบ 2/3 ของแขนหรือขา
และความกว้างควรมากกว่า 20 % ของเส้นผ่าศูนย์กลางตรงจุดกึ่งกลางของแขนและขา
4.หลีกเลี่ยงการวัดความดันโลหิตที่แขนหรือขาซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือเป็นโรคอยู่ด้านเดียวกับเต้านม
รักแร้หรือตะโพกที่ได้รับการผ่าตัด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เข้าเฝือก มี arteriovenous shunt
วิธีทำ
1. บอกผู้ป่วยให้ทราบ
2. ให้ผู้ป่วยนอนหรือนั่งในท่าที่สบายก่อนการวัดอย่างน้อย 5 นาที
3. ล้างมือ และเช็ดมือให้แห้ง
4. เลือกตำแหน่งที่วัดความดันโลหิตให้เหมาะสม ส่วนใหญ่วัดที่แขนถ้าไม่มีข้อห้าม
5. วางแขนผู้ป่วยให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ แขนเหยียด ฝ่ามือหงายขึ้น
6. ดึงแขนเสื้อขึ้น เปิดให้เห็นต้นแขน
7. ใช้ปลายนิ้วคลำหา brachial artery ปกติอยู่ตรงร่องด้านในเหนือข้อพับแขนเล็กน้อย
8. พันผ้าพันที่ไม่มีลมข้างใน รอบต้นแขน เหนือข้อพับแขน 1 นิ้ว โดยให้จุดกึ่งกลางของถุงยาง
ในผ้าพันอยู่เหนือหลอดเลือดแดงbrachial และสายยางที่ต่อกับลูกยางชี้ลงทางปลายแขน
9. พันผ้าพันให้เรียบไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
10. วาง เครื่องวัดความดัน โลหิตให้อยู่ในระดับสายตา
11. หมุนปุ่ม ( valve ) ตามเข็มนาฬิกาเพื่อปิดไม่ให้ลมออกจากถุงยางในผ้าพัน ขณะที่บีบลูกยาง
12. ถ้าเป็นการวัดความดันโลหิตครั้งแรกหรือไม่ทราบค่าความดันโลหิตตัวบน ( systolic )
มาก่อนให้ใช้ปลายนิ้วชี้ และนิ้วกลางคลำชีพจรที่หลอดเลือดแดง brachial หรือ radial
ขระที่บีบลูกยางให้ลมเข้าอย่างรวดเร็วจนคลำชีพจรไม่ได้ แล้วบีบลูกยางต่อไปจน
ความดันเพิ่มขึ้นมากกว่าจุดที่คลำชีพจรไม่ได้ 30 มิลลิเมตรปรอท คลายปุ่มปล่อยลมออกช้าๆ
อ่านค่าความดันเมื่อปลายนิ้วรับรู้กับการเต้นของชีพจรตุบแรกอีกครั้ง เป็นค่าความดันโลหิต
ตัวบนที่ได้จากการคลำแล้วหมุนปุ่มปล่อยลมออกจนหมดอย่างรวดเร็วรออย่างน้อย 30 วินาที
ก่อนวัดครั้งต่อไป การวัดความดันโลหิตโดยการคลำจะได้ค่าความดันโลหิตตัวบนเท่านั้น
13. ใส่หูฟัง โดยหันปลายหูฟังด้านที่จะใส่เข้ากับหูให้เฉียงออกทางด้านนอกเล็กน้อย
14. วางหูฟังด้าน bell บนหลอดเลือดแดง brachial จะทำให้ได้ยินเสียงชัดเจนกว่าใช้ด้าน
diaphragm เพราะเสียงที่ได้ยินจากการวัดความดันโลหิตเป็นเสียงที่มีความถี่ต่ำ
ห้ามวางบนผ้าพันหรือเสือผ้า ใช้มือจับให้ bell แนบสนิทกับเนื้อ
15. หมุนปุ่มตามเข็มนาฬิกา บีบลูกยางให้ลมเข้าถุงยางในผ้าพันอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง
ความดันที่ เครื่องวัดความดัน เพิ่มสูงกว่าค่าความดันใลหิตตัวบน 30 มิลลิเมตรปรอท หยุดบีบลูกยาง
ขณะนี้จะไม่ได้ยินเสียงตุบตุบ เพราะไม่มีเลือดไหลผ่านหลอดเลือด
16. คลายปุ่มทวนเข็มนาฬิกาช้าๆ เพื่อปล่อยลมออก ให้ความดันลดลงในอัตรา 2-3 มิลลิเมตรปรอท ต่อวินาที
17. ขณะที่ปรอทหรือเข็มของ เครื่องวัดความดัน ค่อยๆ ลดลง ให้อ่านค่าความดันตรงเสียงที่ได้ยินครั้งแรกผ่านหูฟัง ( phase 1 ) คือค่าsystolic pressure (เป็นค่าความดันโลหิตตัวบนตรงกับระยะ
ที่หัวใจบีบตัว) และจะได้ยินเสียงตุบตุบต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งเสียงหายไป ให้อ่านค่าตรงที่เสียงหาย
( phase 5 ) คือค่า diastolic pressure(เป็นค่าความดันโลหิตตัวล่างตรงกับระยะที่หัวใจคลายตัว)
กรณีที่ฟังได้ทั้งเสียงเปลี่ยน ( phase 4 ) และเสียงหาย ให้อ่านทั้ง 2 ค่า เป็นค่า diastolic pressure
ที่ได้ยินครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
18. หลังจากอ่านค่า diastolic pressure คลายปุ่มปล่อยลมออกให้หมดอย่างรวดเร็วปรอทหรือเข้มอยู่ที่เลขศูนย์ทุกครั้ง
19. หากต้องการวัดซ้ำ ควรรออย่างน้อย 30 วินาที
20.นำผ้าพันออกจากแขนผู้ป่วย พับให้เรีบยร้อย และเก็บ เครื่องวัดความดัน โลหิตเข้าที่
21. ล้างมือ และเช็ดมือให้แห้ง
22. รายงานค่าความดันโลหิตที่ผิดปกติให้หัวหน้าทีมการพยาบาลทราบ เช่น
systolic pressure สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท
diastolic pressure สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
systolic pressure ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
23. บันทึกผลที่วัดลงบนแผ่นบันทึกสัญญาณชีพ หรือแผ่นบันทึกการพยาบาล
เช่น ความดันโลหิต 150/90 มม. ปรอทหรือ 150/110/90 มม.ปรอท
( ความดันโลหิตตัวล่าง ฟังได้ทั้งเสียงเปลี่ยน คือ 110 และเสียงหาย คือ 90)
กรณีที่แขนขวาความดันโลหิตไม่เท่ากันให้เขียนบอกว่าวัดจากแขนใด
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://student.mahidol.ac.th/~u4809053/4.htm
ป้ายกำกับ:
เครื่องวัดความดัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น