เครื่องวัดความดัน |
โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันนั้นมีรายงานจากการศึกษาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยอาการส่วนใหญ่จะตรวจพบความดันโลหิต (Blood Pressure) อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน อย่างน้อยมากกว่า 2-3 ปี ในปี 1999 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่า คนที่มีความดันโลหิตที่วัดได้จาก เครื่องวัดความดัน มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและพบว่าอยู่ในระดับดังกล่าวเป็นเวลานาน นั้นหมายความว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ มาตามอีกด้วย ตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และอัมพาต เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต (Blood Pressure Factor)
- เรื่องของอายุ ส่วนใหญ่แล้วคนเราเมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตามลำดับ
ค่าบนหน้าปัด เครื่องวัดความดัน หน่วยเป็น mmHg |
- เรื่องของเวลา ความดันโลหิตในแต่ละวันจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากัน
- สภาพจิตใจและอารมณ์ก็มีส่วน เมื่อความเครียดอาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ โดยส่วนใหญ่วิธีแก้โดยการพักผ่อนความดันโลหิตก็จะกลับมาสู่ภาวะปกติ
- เมื่อมีอาการเจ็บป่วย หรือรู้สึกเจ็บปวดนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน
- ในส่วนของเพศ ส่วนใหญ่แล้วพบว่าเพศชายจะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงกว่าเพศหญิง
- พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว
- สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท
- เชื้อชาติ พบว่าชาวอเมริกันผิวดำ มีความดันโลหิตสูงกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
- ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย
ลักษณะความดันโลหิต |
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://siammetalliczone.com/โรคความดันโลหิตสูง-hypertension-คื/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น