Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เครื่องวัดความดัน กับโรคความดันโลหิตสูง

เครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดัน


            โรคความดันโลหิตสูงหรือภาวะความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป และพบได้สูงถึงประมาณ 25-30%  ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด  อย่างไรก็ตาม สามารถพบได้ในเด็ก แต่พบน้อยกว่าผู้สูงอายุโรคนี้สามารถตรวจวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน

            ความดันโลหิตสูง คือเมื่อความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยค่าความดันโลหิตปกติอยู่ที่ 100-140 มิลลิเมตรปรอท (ค่าความดันในเส้นเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัว) และตัวล่างอยู่ที่ 60-90 มิลลิเมตรปรอท (ค่าความดันในเส้นเลือดแดงขณะหัวใจคลายตัว) ตัวเลขเหล่านี้จะอ่านได้บนหน้าปัด เครื่องวัดความดัน ตามรูปด้านบนและด้านล่างโรคความดันโลหิตสูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่งพบได้สูงถึง 90-95% ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และชนิดทราบสาเหตุ ซึ่งพบได้ประมาณ 5-10% ของโรคนี้ ดังนั้นในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงเป็นชนิดไม่ทราบสาเหตุ แน่ชัด


เครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่        
            - พันธุกรรม
            - โรคเบาหวาน
            - โรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน
            - โรคไตเรื้อรัง
            - โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
            - สูบบุหรี่ หรือการติดสุรา ยาเสพติด
            - กินอาหารเค็มสม่ำเสมอ
            - ขาดการออกกำลังกาย (เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคเบาหวานด้วย)
            - ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์


อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ส่วนใหญ่โรคความดันโลหิตสูงตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจพบโดยบังเอิญด้วย เครื่องวัดความดัน เพราะโรคความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการแสดง อย่างไรก็ตาม อาการที่อาจพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ได้แก่ ปวดศีรษะ (มักปวดบริเวณด้านหลังของศีรษะ) เวียนศีรษะ ได้ยินเสียงหึ่งๆ ในหู หรือส่วนใหญ่เป็นอาการของผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง เช่น จากโรคหัวใจ และจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือเป็นอาการจากโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบได้ร่วมกัน เช่น อาการจากโรคเบาหวาน หรือจากโรคอ้วน ในกลุ่มของโรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ จะมีอาการตามโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคไต หรืออาการจากการที่มีฮอร์โมนผิดปกติ หรือโรคที่มีการตีบของหลอดเลือดแดงใหญ่ เป็นต้น



 การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง 

โรคความดันโลหิตสูงวินิจฉัยจากการที่มีความดันโลหิตสูงตลอดเวลา ซึ่งตรวจพบติดต่อกัน 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งควรห่างกัน 1 เดือน อย่างไรก็ตามถ้าหากตรวจพบว่าความดันโลหิตสูงมากด้วย เครื่องวัดความดัน (ความดันตัวบนสูงกว่า 180 mmHg หรือ ความดันตัวล่างสูงกว่า 110 mmHg) หรือมีความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะจากผลของ   ความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ก็ถือว่าวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และต้องรีบได้รับการรักษา แพทย์วินิจฉัยโรค   ความดันโลหิตสูงได้จาก ประวัติอาการ ประวัติเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการรับประทาน/ใช้ยา การตรวจวัดความดันโลหิต (ควรวัดที่บ้านร่วมด้วยถ้าหากมีเครื่องมือ เพราะบางครั้งค่าที่วัดได้ที่โรงพยาบาลสูงกว่าค่าที่วัดได้ที่บ้าน) เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง ควรตรวจร่างกาย และส่งตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ จำเป็นต้องตรวจหาผลกระทบของความดันโลหิตสูงต่ออวัยวะต่างๆ ได้แก่ หัวใจ ตา และไต เช่น ตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลและไขมันในเลือด ดูการทำงานของไต และค่าเกลือแร่ในร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจดูการทำงานของหัวใจ และเอกซเรย์ปอด ทั้งนี้การตรวจเพิ่มเติมต่างๆ จะขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

เครื่องวัดความดัน
เครื่องวัดความดัน

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง คือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งเรื่องการกิน การออกกำลังกายโดย
         1.ควรควบคุมน้ำหนัก


         2.ลดอาหารเค็ม หรือเกลือแกง น้อยกว่า 6 กรัม ต่อวัน) กินอาหารจำพวกผัก และผลไม้มากขึ้น
         3.ออกกำลังกาย โดยออกนานกว่า 30 นาที และออกเกือบทุกวัน
         4.ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
         5.พักผ่อนให้เพียงพอ
         6.รักษาสุขภาพจิต และอารมณ์
         7.ตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งรวมถึงตรวจวัดความดันโลหิต เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี หลังจากนั้นตรวจสุขภาพบ่อยตามแพทย์
          และพยาบาลแนะนำ


ขอขอบคุณเครดิต
แพทย์หญิงพัชรพร  จารุอำพรพรรณ


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.somdej.or.th/index.php/2014-11-05-03-09-32/14-sample-data-articles/497-2015-01-16-08-23-38

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น