เครื่องวัดความดัน |
โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ซึ่งวัดได้จาก เครื่องวัดความดัน จะมี 2 ค่า คือ
ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
ความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว
เครื่องวัดความดัน |
ในคนปกติ เครื่องวัดความดัน จะตรวจพบความดันโลหิตไม่ควรเกิน 130/85 มิลลิเมตรปรอท (จากการประชุมร่วมขององค์การอนามัยโลก และ International Society of Hypertension ปี 1999)
ส่วนความรุนแรงของความดันโลหิตที่สูงนั้น ให้พิจารณาจากค่าความดันตัวบนและความดันตัวล่างทั้งสองค่า โดยถือระดับความดันโลหิตที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ เช่น ความดันโลหิต 150/110 มิลลิเมตรปรอท ความดันตัวบน 150 มิลลิเมตรปรอท จะอยู่ในระดับอ่อน แต่ความดันตัวล่าง 110 มิลลิเมตรปรอท จะอยู่ในระดับรุนแรง ดังนั้น ผู้ป่วยรายนี้ก็ต้องจัดอยู่ในกลุ่มความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง เป็นต้น
ตาราง แสดงความดันโลหิตสูงในระดับต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามความรุนแรงในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ระบาดวิทยาของโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาจากการเป็นประเทศเกษตรกรรม มาสู่อุตสาหกรรม รวมทั้งประชากรไทยเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามประเทศทางตะวันตก ทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ
จากการสำรวจด้วย เครื่องวัดความดัน ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย ร่วมกับทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจสถานะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2534-2535 ซึ่งศึกษาในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 15,125 คน และถือเกณฑ์ความดันโลหิตที่สูงกว่า 160/95 มม.ปรอท พบว่า
· อุบัติการของความดันโลหิตสูงเฉลี่ยทั้งประเทศ 5.4 ต่อประชากร 100 คน
· ความชุกจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
· ความดันโลหิตสูงพบในหญิง (5.6%) มากกว่าชาย (5.2%) เล็กน้อย
· ภาคกลางเป็นพื้นที่มีความชุกมากที่สุด ประมาณ 3 เท่าของภาคอื่น ๆ
· ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จะมีอัตราการเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่านอกเขตเทศบาลอย่างชัดเจน และเป็นเช่นเดียวกันทุกภาค
· โดยที่เพศชายในเขตเทศบาล จะมีอัตราการเป็นความดันโลหิตสูง มากกว่านอกเขตเทศบาล ประมาณ 3.5 เท่า และในเพศหญิงเท่ากับ 2.8 เท่า
และที่น่าเป็นห่วง คือ จากกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ เครื่องวัดความดัน ตรวจพบความดันโลหิตสูง 1,606 ราย (ซึ่งรวมพวกที่มีประวัติความดันโลหิตสูง) มีเพียงร้อยละ 10.2 เท่านั้น ที่ทราบว่าตนเองเป็นความดันโลหิตสูง และร้อยละ 71.3ของผู้ที่ทราบว่ามีภาวะนี้ได้รับการรักษา และร้อยละ 61.5 ของกลุ่มที่ได้รับการรักษามีความดันโลหิตต่ำกว่า 160/95 มม.ปรอท
หน้าปัด เครื่องวัดความดัน |
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
มากกว่าร้อยละ 90 ของ เครื่องวัดความดัน ตรวจพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะตรวจไม่พบสาเหตุ เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ
1. กรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้ จากหลักฐานทางระบาดวิทยา พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดาเป็นความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้น ๆ
2. สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารรสเค็ม การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ภาวะเครียด เป็นต้น
ส่วนความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุพบได้น้อยกว่าร้อยละ 10 ผู้ป่วยในกลุ่มนี้แม้จะพบเป็นจำนวนน้อย แต่ก็มีความสำคัญ เพราะบางโรคอาจรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุที่พบบ่อย คือ
· โรคไต
· หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ
· ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
· หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจตีบ
· เนื้องอกของต่อมหมวกไต
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://koongpunjanmay.blogspot.com/2012/06/42-2-42-4-42-6-42-8-disease-13085.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น