เครื่องวัดความดัน |
สถานการณ์ประเทศไทย...
จากข้อมูลสถิติสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าสถานการณ์ป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภาค เมื่อในปี 2543 และปี 2553 พบว่า อัตราผู้ป่วยในต่อประชากรแสนคนด้วยโรคความดันโลหิตสูง จาก 259.02 เป็น 1,349.39 ซึ่งถือว่ามีอัตราการเพิ่มที่สูงกว่า 5 เท่า พบว่าสิ่งที่น่าวิตกอย่างยิ่ง คือ ในจำนวนผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60 ในเพศชาย และร้อยละ 40 ในเพศหญิง ไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 8-9 ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้รับการรักษาส่งผลให้มีอาการของโรครุนแรงขึ้น
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะตรวจไม่พบสาเหตุ เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ
1. กรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้
2. สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารรสเค็ม การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ ภาวะเครียด เป็นต้น ส่วนความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุพบได้น้อยกว่า ร้อยละ10 ผู้ป่วยในกลุ่มนี้แม้จะพบเป็นจำนวนน้อย แต่ก็มีความสำคัญ เพราะบางโรคอาจรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุที่พบบ่อยคือ โรคไตหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจตีบ เนื้องอกของต่อมหมวกไต
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับอ่อน หรือปานกลาง มักจะไม่แสดงอาการ แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ อัมพฤกษ์ อัมพาต
ความดันโลหิตสูงจึงมักได้รับการขนานนามว่า "ฆาตกรเงียบ"
ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น เช่น เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตุบ ๆ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น เป็นไข้ ภาวะเครียด ไมเกรน เป็นต้น ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าพบความดันโลหิตสูงมากจะได้รับการรักษาได้ถูกต้องและทันท่วงที
ผลแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นานและไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด และตา เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่พบ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน ไต เป็นต้น เพราะความดันโลหิตที่สูงที่เป็นอยู่นานจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้นและหลอดเลือดแดงเล็กลง ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ลดลง ส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้ไม่เป็นปกติความดันโลหิตสูงจนเกิดผลร้ายดังกล่าวขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิต เช่น ระดับอ่อน และปานกลาง จะใช้เวลานานมากกว่า 10 ปี ระดับรุนแรงจะใช้เวลาสั้นกว่านี้ถ้าอาการรุนแรงมากอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้
ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
1. ต้องรู้ความดันโลหิตของท่านเอง ทั้งตัวบนและตัวล่าง ตรวจวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน อย่างสม่ำเสมอ
2. อย่าให้น้ำหนักตัวของท่านมากกว่ามาตรฐาน
3. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ไม่เติมเกลือ น้ำปลาในอาหารอีก เลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรสมากๆ เลี่ยงอาหารประเภทดองเค็ม เนื้อเค็ม เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหรทอด
5. ไม่สูบบุหรี่ ซิการ์ ยาเส้น และงดดื่มแอลกอฮอล์
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามแพทย์แนะนำ เช่น เดินวันละ 20-30 นาที
7. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง โดยไม่ใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจวัดความดันโลหิตหรือไม่ได้พบแพทย์ ไม่ควรเปลี่ยนที่รักษาบ่อยๆ
8. พบแพทย์ตามนัด แม้ยาจะยังไม่หมดก็ตาม หากมีปัญหาเกี่ยวกับยาที่ใช้โปรดปรึกษาแพทย์
9. แนะนำให้บิดา มารดา ญาติ พี่น้องของท่านไปตรวจวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน เนื่องจากความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใดๆ จะทราบเมื่อใช้ เครื่องวัดความดัน ตรวจวัดความดันโลหิตเท่านั้น
10. ใช้ชีวิตตามปกติ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สร้างเสริมสุขภาพที่ดีขึ้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.cbh.moph.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น