Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สี่วายร้ายใกล้ตัว

เครื่องวัดความดัน
"สี่วายร้าย" ที่กล่าวถึงนี้ คือ ภาวะหรือ โรคที่ชอบร่วมก๊วนกันเป็นประจำ ได้แก่ ความอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ ทั้งสี่เป็นภาวะ หรือโรคที่เป้นภัยคุกคาม ต่อสุขภาพของคนเรา ได้มากมาย อย่างคาดไม่ถึง โดยโรคความดันโลหิตสูงจะเป็นโรคที่อันตรายมากเพราะไม่แสดงอาการ แต่เราสามารถตรวจเช็คได้ด้วย เครื่องวัดความดัน

โรคหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ เป็นภัยอันดับหนึ่ง จากสี่วายร้ายนี้ และกำลังคุกคามคนไทยมากขึ้น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไต เป็นภัยที่ไม่ยิ่งหย่อนไปจากโรคหัวใจ ที่น่าวิตกกังวลคือ ภัยเหล่านี้เป็นภัยเงียบ อยู่ในร่างกาย ของผู้มีสี่วายร้ายอย่างสงบ แต่ทำลายอย่างเลือดเย็น เมื่อเวลา พอเหมาะ ก็ออกฤทธิ์สำแดงอาการ จนบางครั้งตั้งตัวตั้งใจรับไม่ทัน ทำให้เสียชีวิต ผู้ที่รอดมาได้ก็ต้องเยียวยารักษากันตลอดไป


จริงหรือไม่ที่คนไทยผจญกับ "สี่วายร้าย" เพิ่มขึ้น ข้อมูลที่มีบ่งชี้ว่าเป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาศัยอยู่ในเมือง พบว่าคนอ้วนมีมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูง

โรคเบาหวาน และไขมัน ในเลือดผิดปกติก็เพิ่มขึ้น ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นเชื่อว่า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในเมือง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินและทำงานออกแรงน้อยลง

ทำไม "สี่วายร้าย" (ความอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ) จึงชอบร่วมก๊วนกัน? จากการศึกษาพบว่า ภาวะทั้งสี่ที่กล่าวถึงนี้ มีสาเหตุทำให้เกิดได้หลายอย่างเหมือนๆ กัน ทั้งพันธุกรรมและปัจจัยภายนอก รายละเอียดของความสัมพันธ์แสดงให้เห็นในแผนภูมิข้างล่าง จะเห็นได้ว่ากลไกร่วมที่สำคัญที่มีผลต่อการเกิดภาวะทั้งสี่คือ "การดื้ออินสุลิน"


เครื่องวัดความดัน
ความอ้วนซึ่งที่จริงแล้วควรเรียกว่า "โรคอ้วน" เป็นหมายเลขหนึ่งของสี่วายร้ายนี้ นั่นคือปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงไปถึงเบาหวาน ความดันโลหิตสูงซึ่งจะเช็คได้จาก เครื่องวัดความดัน และไขมันในเลือดผิดปกติ จนในที่สุดเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตัน ที่สำคัญต้องเข้าใจว่าสี่วายร้ายนี้ ถ้ามีอยู่หนึ่งก็อาจเพิ่มเป็นสอง สาม และสี่ได้ และไม่จำเป็นต้องอยู่พร้อมกันจึงจะเกิดปัญหา เพียงหนึ่งเดียวหรือหนึ่งปัจจัยก็ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตันได้ แต่ถ้าเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากหนึ่งเป็นสอง เป็นสาม และเป็นสี่ปัจจัยจะทำให้เกิดโรครวดเร็วขึ้น และรุนแรงได้มากเป็นลำดับ ดังนั้นหากมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งในสี่อย่างนี้ ก็ควรดูแลรักษาและควบคุมให้ได้ อย่างไรก็ตาม ความอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ อาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆ จากสาเหตุอื่นได้โดยไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน

ถ้าเรากินอาหารมากเกินไป จนร่างกายใช้พลังงานไม่หมด ร่างกายจะเปลี่ยน "พลังงานที่เหลือใช้" เป็น "พลังงานสะสม" ในรูปของไขมัน เก็บไว้ในเซลล์ไขมัน ตามที่ต่างๆ ดังนั้นเมื่อกินอาหารมากๆ แม้จะไม่กินไขมัน เราจึงมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีไขมันเก็บสะสมในผิวหนังและในร่างกายมากขึ้น ทำให้รูปร่างขยายออกตามแนวนอนกลายเป็นคนอ้วน หรือเรียกว่ามี "โรคอ้วน"

"โรคอ้วน" นอกจากทำให้เกิดเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่สามารถวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน และไขมันในเลือดผิดปกติแล้ว ยังมีผลร้ายอื่นๆ ต่อสุขภาพด้วย เช่นปวดหลัง ข้อเสื่อม บางคนเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากมีกรดยูริคสูง คือคนมีนิ่วในถุงน้ำดี คนที่อ้วนมากๆ จะมีปัญหาการหายใจ นอกจากนี้ยังบั่นทอนสุขภาพจิต หรือทำให้เกิดปมด้อย

ดังกล่าวข้างต้น โรคอ้วนเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ มีสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดคือ "ภาวะดื้ออินสุลิน" คนอ้วนมีภาวะดื้ออินสุลินเกิดขึ้นเนื่องจากตันรับอินสุลินบนไขมันมีจำนวนน้อยลง หรือการทำงานของอินสุลินด้อยประสิทธิภาพ สำหรับคนอ้วนที่มีภาวะดื้ออินสุลินจะเป็นอ้วนแบบลงพุง คือมีไขมันสะสมมากภายในช่องท้องและหน้าท้อง โดยสามารถใช้อัตราส่วนของรอบเอวและรอบสะโพก เป็นดัชนีบ่งชี้อ้วนแบบลงพุง โดยในผู้ชายอัตราส่วนของรอบเอวและรอบสะโพกมากกว่า 1.0 และในผุ้หญิงอัตราส่วนของรอบเอวและสะโพกมากกว่า 0.8 บ่งชี้ว่าอ้วนแบบลงพุง ซึ่งคนอ้วนแบบลงพุงจะพบสัมพันธ์กับการมีสหายร่วมก๊วน คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติได้บ่อย คนอ้วนที่มีไขมันมากที่ตะโพกและต้นขา (Gynoid Type of Obesity) จะไม่ค่อยพบความผิดปกติทั้งสามร่วมด้วย

"อินสุลิน" เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นโดยเบต้าเซลล์ของตับอ่อน นอกจากมีหน้าที่นำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานแล้ว ยังช่วยในขบวนการควบคุมและเผาผลาญไขมัน รวมทั้งควบคุมการสลายตัวของโปรตีนในร่างกายด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ "การดื้ออินสุลิน" ในคนอ้วนทำให้เกิดสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ

การเกิดโรคเบาหวานภาวะดื้ออินสุลิน
การเกิดโรคเบาหวานในคนอ้วนมักเกิดขึ้นช้าๆ ในระยะต้น เมื่อเกิดภาวะดื้ออินสุลิน ตับอ่อนจะสังเคราะห์และหลั่งอินสุลินมากขึ้น ถ้าปริมาณอินสุลินที่สูงขึ้นสามารถทำให้การออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อ ที่เซลล์ไขมัน และที่ตับเป้นปกติได้ บุคคลนั้นก็จะมีการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการครองธาตุอื่นๆ เป็นปกติ ไม่เกิดโรค คือเป็นคนอ้วนที่มีระดับอินสุลินในเลือดสูงเท่านั้น ถ้าปริมาณอินสุลินที่หลั่งมากขึ้น สามารถทำให้การออกฤทธิ์ดีขึ้นเพียงบางส่วน บุคคลนั้นก็จะเป็นคนที่มีการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลน้อยลง เริ่มมีภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติเล็กน้อย แต่ถ้าอินสุลินที่หลั่งมากขึ้นไม่เพียงพอที่จะออกฤทธิ์ควบคุมระดับน้ำตาลได้ จะเกิดโรคเบาหวาน เมื่อมีการดื้ออินสุลินอยู่นานเข้า ตับอ่อนจะเสื่อมสมรรถภาพไม่สามารถหลั่งอินสุลินชดเชยได้ จึงเกิดโรคเบาหวานที่รุนแรง

การเกิดโรคความดันโลหิตสูงในภาวะดื้ออินสุลิน
ระดับอินสุลินที่สูงกระตุ้นให้มีการดูดกลับของโซเดียมโดยไตมากขึ้น นอกจากนี้ภาวะดื้ออินสุลินยังทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติไวต่อการกระตุ้น และทำให้การหมุนเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงฝอยที่กล้ามเนื้อลดลง ทำให้มีความต้านทานปลายทางเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์คือความดันโลหิตสูง

การเกิดไขมันในเลือดผิดปกติในภาวะดื้ออินสุลิน
ความผิดปกติของไขมันที่พบบ่อยในคนอ้วน คือ ระดับไตรกรีเซอไรด์ และ/หรือ ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น แต่ระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำลง เนื่องจากตับนำกรดไขมันเพิ่มขึ้น และปล่อยเข้ากระแสเลือด นอกจากนี้พบว่าในภาวะดื้ออินสุลินทำให้เอ็นซายม์ ซึ่งย่อยสลายไขมันทำงานลดลงด้วย ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูง และ/หรือ ระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C) ต่ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงอุดตัน

การป้องกันโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติิ
เป็นที่น่ายินดีว่าเราสามารถป้องกัน "สี่สหาย" ก๊วนนี้ได้โดยการ รับประทานอาหาร อย่างถูกต้อง และปริมาณพอเหมาะกับร่างกาย ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติขั้นแรก หรือ ขั้นพื้นฐานของการป้องกัน การศึกษาในคนแถบตะวันตก และประเทศจีน ยืนยันว่า การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอป้องกันโรคเบาหวานได้จริง

เนื่องจากมีพันธุกรรมเป็นปัจจัยพื้นฐานในผู้ป่วยบางราย การป้องกันไม่ให้อ้วนหรือการรักษาโรคอ้วน และการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสุง และไขมันในเลือดผิดปกติ จึงทำได้ยากและไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี หากเกิดโรคแล้ว การรักษาต้องอาศัยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายเป็นหลักเช่นกัน เมื่อไม่สามารถควบคุมได้ดีจึงจำเป็นต้องใช้ยา
ศ.พญ. วรรณี นิธิยานันท์


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.eldercarethailand.com/content/view/306/28/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น