วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558
อาหารผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต เป็นแรงดันเลือด ที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือด ไปเลี้ยงทั่วร่างกาย จะมี 2 ค่า ความดันตัวบน (แรงดันเลือด ขณะหัวใจห้องซ้ายล่าง บีบตัว) และความดันตัวล่าง (แรงดันเลือดขณะหัวใจ ห้องซ้ายล่าง คลายตัว) ปัจจุบัน ความดันตั้งแต่140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปถือเป็นความดันโลหิตสูง สาเหตุ ความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เกิดโดยไม่มีสาเหตุที่ทราบได้ชัดเจน ส่วนน้อย คือ ประมาณร้อยละ 5 จะรู้สาเหตุที่ทำให้ความดันสูง เช่น ไตวาย หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ หรือมีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต การแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ตัดเนื้องอกทิ้ง หรือขยายหลอดเลือดแดงของไตซึ่งตีบด้วยบอลลูนจะสามารถทำให้ความดันสูงหายขาด ไม่จำเป็นต้องใช้ยาลดความดันอีกต่อไป แต่ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบความดันสูงชนิดไม่หายขาด จำเป็นต้องใช้ยาลดความดันควบคุมไปตลอด เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ
1) กรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้ จากหลักฐานทางระบาดวิทยา พบว่าผู้ที่มีบิดา หรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง ได้มากกว่า ผู้ที่บิดามารดาไม่เปน็ ยิ่งกว่านั้นผู้ที่มี ทั้งบิดาและมารดา เป็นความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยง ที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาส เป็นความดันโลหิตสูง เมื่ออายุมากขึ้นๆ
2) สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ภาวะเครียด เป็นต้น ฯลฯ
อาการ
ความดันโลหิตสูงระดับอ่อน หรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรืออัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะความดันโลหิตสูง จึงมักได้รับการขนานนามว่า "ฆาตรกรเงียบ" ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิด อาการเหล่านี้ขึ้นได้ เช่น เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศรีษะ ปวดศีรษะ ตุบๆ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่จำเพราะ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้เช่น ไข้ เครียด ไมเกรน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อ
เกิดอาการผิดปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าพบความดันโลหิตสูงมาก จะได้รักษาได้ถูกต้อง และทันท่วงที ซึ่งเมื่อความดันโลหิต ลดลงมาเป็นปกติ อาการดังกล่าว ก็จะหายไปผลแทรกซ้อน ของโรคความดันโลหิตสูง…ภาวะความดันโลหิตสูง ที่เป็นอยู่นาน และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดการทำลาย ของอวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือด และตา เป็นต้น เพราะความดันโลหิตที่สูง ที่เป็นอยู่นาน จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดง หนาตัวขึ้น และรูเล็กลง ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ลดลงส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ ทำงานได้ไม่เป็นปกติ และหากการทำลายรุนแรงมากพอ อาจทำให้ถึงแก่กรรมได้ ระยะเวลาที่เป้นความดันโลหิตสูง จนเกิดผลร้าย 2 ดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับ ระดับความดันโลหิต เช่น ระดับอ่อน และ ปานกลาง จะใช้เวลานานมากกว่า 10 ปี ระดับรุนแรงจะใช้เวลาสั้นกว่านี้ หรือความดันโลหิต ชนิดร้ายแรง จะใช้เวลาแค่เป็นเดือน เป็นต้น
1. หัวใจ ความดันโลหิตสูง จะมีผลต่อหัวใจ 2 ทาง คือทำให้หัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งตัวขึ้น ทำให้เกิดการเจ็บหน้าอก จากหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลว ทำให้มีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น
2. สมอง ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของอัมพาต, อัมพฤกษ์ ที่พบบ่อย ซึ่งมักจะเกิดจาก หลอดเลือดเล็กๆ อุดตันโดยเกล็ดเลือด ซึ่งพบบ่อย หรือเกิดจาก หลอดเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดออกในเนื้อสมอง
3. ไต เป็นอวัยวะที่มีหลอดเลือด มากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่กรองของเสีย ออกจากเลือด ความดันโลหิตสูง ก็มีผลต่อหลอดเลือดที่ไต เช่นเดียวกับ หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงไต ไม่เพียงพอ มีผลให้ไต เสื่อมสมรรถภาพจนถึงขั้นไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการเริ่มแรก ของภาวะไตวายเรื้อรัง คือปัสสาวะบ่อย ตอนกลางคืน ขาบวมตอนสายหากเป็นมาก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงจากภาวะซีด ซึ่งมักพบใน ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง, และคลื่นไส้ อาเจียนซึมลงในผู้ป่วยไตวายระยะท้ายๆ
4. ตา ความดันโลหิตสูง จะมีผลต่อหลอดเลือดที่ตา เช่น เลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็กๆ ที่จอตา เช่น เลือดออกที่จอตา หลอดเลือดเล็กๆ ที่จอตา อุดตัน หรือทำให้จอตาหลุดลอกออกได้ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ หรือตามัว จนถึงตาบอดได้เบาหวาน ซึ่งมักพบร่วมกับ ความดันโลหิตสู งจะทำให้เกิด ผลแทรกซ้อนทางตาได้เร็ว
5. หลอดเลือด ความดันโลหิตสูง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดตีบแคบหรือโป่งพอง มีผลทำให้เลือด ไปเลี้ยงบริเวณแขนขา และอวัยวะภายในลดลง ผู้ป่วยเดินไม่ได้ไกล เพราะปวดขาจากการขาดเลือด ต้องนั่งพักจึงจะหายและเดินต่อได้จุดมุ่งหมาย ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง…ปัจจุบันความดันโลหิตสูง จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรค ที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อน ของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งรวมทั้งหลอดเลือด ที่สมองและไตด้วย จุดมุ่งหมายของการรักษา ภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อลดอัตราทุพลภาพ และอัตราตาย ซึ่งจะเกิดจาก ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ และหลอดเลือด การดูแลเฉพาะแต่ ความดันโลหิตสูงเท่านั้น จะทำ
ให้ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นแพทย์จึง ต้องตรวจค้นภาวะอื่นๆ ที่อาจพบในตัวผู้ป่วยด้วย เช่น เบาหวาน ไขมัน ในเลือดสูง ภาวะอ้วน ผนังหัวใจห้องซ้ายล่างหนา โรคเก๊าท์ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องดำเนินการควบคุม และรักษาคู่ไปกับการรักษาความดันโลหิต จึงจะได้ผลดี และมีประสิทธิภาพเต็มที่
การรักษา
การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย
1) การรักษาโดยไม่ใช้ยา นั่นคือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง วิถีการดำเนินชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจ
และหลอดเลือด ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป และ
2) การรักษาด้วยยา ซึ่งมีหลายกลุ่มแพทย์ สมารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
ข้อแนะนำ สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ต่อไปนี้เป็นขั้นตอน ที่ท่านควรปฏิบัติ เพื่อช่วยแพทย์ของท่าน ในการควบคุมความดันโลหิต
1. ควบคุมอาหารและลดน้ำหนัก
ไม่ให้เกินมาตรฐานมีการศึกษาที่สนับสนุนว่าความอ้วนหรือน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือด แม้ท่านจะไม่จัดว่าอ้วน แต่การลดอาหารประเภทไขมัน ก็เป็นสิ่งที่ดี หลีกเลี่ยงหรือลด การใช้เนย, ไขมัน และน้ำมัน ในการปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารทอดให้รับประทาน อาหารประเภท อบ, นึ่ง, ต้ม แทน รับประทานอาหาร ประเภทผัก, ถั่ว, ผลไม้ ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ดื่มน้ำ, กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน, นมพร่องไขมันและน้ำผลไม้
2. รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด
การรับประทานเกลือมาก จะทำให้ความดันโลหิตสูง และไตทำงานหนัก การลดปริมาณ เกลือในอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน หลีกเลี่ยงอาหารประเภท ของดองเค็ม เนื้อเค็ม ซุปกระป๋อง ซ้อสมะเขือเทศ อาหารที่โรยเกลือมากๆ อาหารที่ใช้เครื่องเทศ แทนเกลือหรือผงชูรส ปริมาณของเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ควรรับประทานไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน
3. พยายามลดความเครียด
ในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงาน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหักโหมมากเกินไป หากเป็นไปได้ พยายามเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ที่จะทำให้เครียดทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน พยายามตอบสนองอย่างมีสติ และนุ่มนวลต่อสภาพที่เครียด ซึ่งท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือหลีกเลี่ยงได้
4. ควรงดสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ อาจเพิ่มแรงต้านที่ผนังของหลอดเลือดแดง ซึ่งอาจมีส่วนช่วยทำให้เกิดความดันโลหิตสูง นอกจากนี้บุหรี่ยังเป็นสาเหตุที่สำคัญ ของการเกิดมะเร็งในปอด, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูงได้ บุหรี่ทำให้เกิดการทำลาย และส่งเสริมการหดตัว ของหลายหลอดเลือด ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อ การเกิดอัมพาตอีกด้วย จึงควรงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
5. งด หรือ ลดการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์ ในปริมาณมาก เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ควรงดหรือดื่ม ในปริมาณน้อย เช่นในวันหนึ่งๆ ไม่ควรดื่มสุราเกิน 60 มิลลิลิตร, เบียร์ 720 มิลลิลิตร., ไวน์ 240 มิลลิลิตร
6. ออกกำลังกายแต่พอประมาณ
การเดินวันละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง จะช่วยท่านลดน้ำหนักได้ ช่วยทำให้ ระบบไหลเวียนของเลือด ดีขึ้นและป้องกัน โรคของหลอดเลือดได้ ก่อนเริ่มออกกำลังกายใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน
7.รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
แจ้งให้แพทย์ของท่านทราบ ถึงยาต่างๆ ที่ท่านรับประทานอยู่ เช่น ยาคุมกำเนิด, ยาแก้ปวด เป็นต้น ฯลฯ รับประทานยา ตามที่แพทย์สั่ง อย่างเคร่งครัด หากมียาชนิดใด ที่ทำให้ท่านรู้สึกไม่สบาย ควรแจ้งให้แพทย์ของท่านทราบทันที เพราะท่านอาจต้องการ ยาในขนาดที่ลดลง หรือเปลี่ยนยา รับประทานยาให้สม่ำเสมอ จนกว่าแพทย์ของ ท่านจะบอกให้หยุด
8. ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
ในกรณีท่านมี เครื่องวัดความดัน โลหิตที่บ้าน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเรียนรู้วิธีใช้ เครื่องวัดความดัน สำหรับวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง อาจทำการวัดความดันโลหิตสัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อมีอาการเครียด, ปวดศรีษะ ไม่จำเป็นต้อง วัดความดันโลหิต ถี่เกินความจำเป็น และควรจดบันทึกวัน, เวลา, ค่าที่วัดได้ทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อแพทย์ของท่าน ในการควบคุมความดันโลหิต
แนวทางที่กล่าวมานี้ อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเมื่อมีความดันโลหิตสูงเพียงเล็กน้อย ความดันอาจลดลงเป็นปกติได้โดยไม่ต้องใช้ยา หรือในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาลดความดัน เมื่อปฏิบัติดังกล่าวแล้วข้างต้น อาจจะช่วยให้การลดความดันได้ผลดียิ่งขึ้น จนสามารถลดขนาดของยาที่ใช้ลงได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.health2click.com/articles/42157092/อาหารผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.html
ป้ายกำกับ:
เครื่องวัดความดัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น