Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สัญญาณอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูง หันมาใช้ เครื่องวัดความดัน กันเถอะ

เครื่องวัดความดัน
รองศาสตราจารย์นายแพทย์พีระ  บูรณะกิจเจริญ ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เขียนบทความสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไว้ว่า ในอดีตอาชีพของคนไทยส่วนใหญ่ คือ เกษตรกร ซึ่งมีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายกินอยู่อย่างไทย ทำให้สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำ

แต่ในสภาวะปัจจุบันความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้คนไทยเกิดความเครียด ส่งผลให้สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น โดยปกติค่าของความดันโลหิตมี 2 ตัว คือ ตัวบนและตัวล่าง กล่าวคือ ค่าความดันปกติตัวบนประมาณ 120-130 ความดันตัวล่างประมาณ 70-80 บางคนไปตรวจด้วย เครื่องวัดความดัน หมอบอกว่าความดันต่ำ จริงๆ แล้วความดันต่ำไม่ถือว่าเป็นโรค ความดันยิ่งต่ำยิ่งดี ซึ่งมักพบในนักกีฬาหรือคนตัวเล็ก แต่ในกรณีผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแล้วช็อก ความดันต่ำลง จะถือว่าเป็นอันตราย

ค่าของความดันตัวบนหากสูงเกิน 140 ถือว่าความดันสูงกว่าปกติ หากสูงเกิน 160 จะเป็นอันตรายอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ความดันตัวล่างจะเป็นตัวชี้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ ปกติจะมีค่าเกิน 90 โดยค่าเหล่านี้สามารถอ่านได้บนหน้าปัดของ เครื่องวัดความดัน

คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะตามมาด้วยอาการปวดศีรษะ เลือดกำเดาออกโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ไม่เป็นหวัด ไม่เป็นไข้ หรือบางคนอาจมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีอาการ ซึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ และความเครียด เมื่อเป็นแล้วจำเป็นต้องรักษาถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการ การรักษาโดยการกินยา ซึ่งยารักษามีหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับอาการของคนไข้แต่ละราย การรักษาความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะส่งผลแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ คือ

สมอง อาจทำให้เส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตกได้ ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

หัวใจ อาจทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกและกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหากหลอดเลือดที่หัวใจอุดตัน เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้หัวใจวายได้

ไต ไตมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งที่กระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตเสื่อมก็ทำให้การสร้างฮอร์โมนลดลง ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานาน ก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ทำให้คนไข้ซีด ขาบวม เหนื่อยง่าย และอาจเกิดภาวะไตวายได้

ตา ตาจะมัว

สำหรับความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ จะมีอันตรายทั้งเด็กและแม่ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือชักได้ เพราะฉะนั้น หญิงมีครรภ์ควรมีการฝากท้อง ซึ่งจะต้องได้รับการวัดความดันโลหิตด้วย เครื่องวัดความดัน ทุกครั้งที่มาตรวจ

โรคความดันโลหิตสูงมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ทราบสาเหตุ และที่ไม่ทราบสาเหตุ ผู้มีความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะเริ่มในอายุประมาณ 35 ปี ถ้าเกิดในอายุน้อยมักจะทราบสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุ อาการที่พบมีดังนี้ ได้ยินเสียงดังในหู ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย มีอาการเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาออก  การเต้นของชีพจรจะผิดปกติ หงุดหงิดง่าย ขาบวม เหนื่อยง่ายผิดปกติ เป็นต้น

โรคความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จึงโทษว่าเป็นเรื่องของพันธุกรรม ถ้าพ่อหรือแม่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกก็มีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่พ่อแม่ไม่เป็นความดันโลหิตสูง และสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด การรับประทานอาหารเค็ม สูบบุหรี่ ไม่ได้ออกกำลังกาย การรักษาจึงต้องควบคุมโดยการใช้ยาและต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต

ส่วนโรคความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะรักษาไปตามอาการ  เช่น ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องมาจากมีเนื้องอกในสมอง ทำให้ปวดศีรษะตามัวได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจะทำให้ความดันสูงได้ ถ้าได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ความดันในกะโหลกศีรษะไม่สูงแล้ว ความดันก็จะลงสู่ปกติ

ข้อควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง

เมื่ออายุ 35 ปี ควรจะตรวจความดันโลหิตทุกปี ควรระวังสาเหตุที่เสริมให้เป็นความดันได้ คือ ความเครียด คนที่โมโหง่าย คนอ้วน คนที่ชอบรับประทานเค็ม ไม่ควรดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสาเหตุเสริมไม่ให้อ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานยาเป็นประจำ ทั้งนี้ อย่าซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และควรมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง

(ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)


อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.siamedunews.com/articles/42228758/สัญญาณอันตรายจาก-โรคความดันโลหิตสูง.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น