วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558
กรมควบคุมโรคระบุ พบความดันโลหิต-เบาหวาน-อ้วนพุ่ง กรุงเทพฯโรคไม่ติดต่อมาครบ!
โรคความดันโลหิตสูง อันตรายใกล้ตัวบางคนไม่ทราบว่าตนเป็นโรคนี้เพราะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นจึงหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำด้วย เครื่องวัดความดัน เพราะจะทำให้เราทราบผลการตรวจและสามารถป้องกันได้อย่างทันที่วงที
(30 ก.ย.58) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) พร้อมด้วย นพ.อัษฏางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีคร. และ นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ คร. ร่วมแถลงข่าวผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ โดยนพ.โสภณ กล่าวว่า ประเทศไทยมีคนเสียชีวิตราว 430,600 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 หรือประมาณ 314,000 คน เสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อ คร.จึงได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บในปี 2558 โดยติดตามสถานการณ์และแนวโน้มของพฤติกรรมเสี่ยง และโรคไม่ติดต่อสำคัญที่พบมาก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยสำรวจในประชากรอายุ 15-79 ปี จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 22,502 คนใน 12 เขตสุขภาพช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา
นพ.โสภณ กล่าวว่า จากผลสำรวจพบว่าประชาชนทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุดถึงร้อยละ 15.3 หรือประมาณ 5.7 ล้านคน ซึ่งมากว่าปี 2553 ที่พบร้อยละ 9.1 หรือประมาณ 4.1 ล้านคน ขณะผู้ที่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคเบาหวานพบร้อยละ 8.3 หรือประมาณ 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่พบร้อยละ 4.2 หรือประมาณ 1.9 ล้านคน โดยการเพิ่มขึ้นนั้นอาจมาจากการตรวจสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน โดยผลสำรวจพบร้อยละ 30.5 มีภาวะน้ำหนักเกินที่ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป และผู้ที่ถือว่าอ้วนลงพุงมีอยู่ร้อยละ 7.5 ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนนี้ มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยง ทั้งระดับไขมันในเลือดสูงหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน เป็นต้น
ด้านนพ.อัษฎางค์ กล่าวว่า สำหรับพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ พบว่ามาจากการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการสำรวจปี 2558 พบว่า การสูบบุหรี่ในปัจจุบันสูงถึงร้อยละ 21.3 มากกว่าปี 2553 ที่พบร้อยละ 18.7 ส่วนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 12 เดือนที่ผ่านมาพบร้อยละ 36.2 มากกว่าปี 2553 พบร้อยละ 29.5 ขณะที่เมื่อสอบถามว่าช่วง 7 วันที่ผ่านมามีการรับประทานผักและผลไม้น้อยกว่า 5 หน่วยมาตรฐานต่อวันพบเพียงร้อยละ 75.7 ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 พบร้อยละ 78.5 อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ยึดหลักง่ายๆ 3 อ. 2 ส. คือ 3. ประกอบด้วย ออกกำลังกายให้เหมาะสมและเพียงพอ วันละ 30 นาที การบริโภคอาหารให้เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม และปรับอารมณ์ให้ไม่เครียดมากเกินไป ขณะที่ 2 ส. คือ ลดการสูบบุหรี่ และลดการดื่มสุรา
ขณะที่นพ.ภานุวัฒน์กล่าวว่า หากนับเป็นรายภาคจะพบว่า แต่ละภาคมีภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เฉลี่ยไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลับพบปัญหาโรคไตมากกว่าภาคอื่นๆ อาจเพราะพฤติกรรมการบริโภคเค็มมากกว่า รวมทั้งมีปัจจัยด้านพันธุกรรม ขณะที่โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง จะพบมากในภาคกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะความอ้วน เนื่องจากวิถีชีวิตคนภาคกลาง การรับประทานผักและผลไม้น้อย นอกนั้นภาคอื่นๆก็จะประปราย ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองพบได้ทุกภาค เพียงแต่ภาคกลางมากที่สุด ขณะที่พื้นที่กรุงเทพมหานคร แม้ไม่ได้สำรวจในครั้งนี้ แต่จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีประชากรมาจากทุกภาคของประเทศ ถือเป็นแหล่งรวมของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงทำให้พบได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาวะอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443612847&grpid=&catid=19&subcatid=1906
ป้ายกำกับ:
เครื่องวัดความดัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น