เครื่องวัดความดัน |
หากพูดถึงโรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์-อัมพาต เชื่อว่าหลายคนต้องขยาด แต่เมื่อพูดถึง “โรคความดันโลหิตสูง” หลายคนกลับมองข้ามเพราะคิดว่าโรคความดันโลหิตสูงไม่ใช่โรคอันตราย และสามารถวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน แท้ที่จริงแล้วภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคร้ายดังกล่าวข้างต้น ล้วนมีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง
พญ.วิไล พัววิไล เลขาธิการสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย และ นพ. ถาวร สุทธิไชยากุล กรรมการกลางสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย พร้อมร่วมฝึกการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบชี่กง โดย อ.หยาง เผย เซิน จากศูนย์ชี่กงเพื่อสุขภาพ และสนุกกับเกมส์สุขภาพชิงรางวัลมากมาย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 200 คน โดยมี คุณศิริลักษณ์ สุธีกุล ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเปิดงาน ที่ รร.แกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน ถ.รัชดาภิเษก
พญ.วิไล พัววิไล เลขาธิการสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่ติดต่อสามารถเช็คได้ด้วย เครื่องวัดความดัน บางคนอาจไม่มีอาการใดๆเลย หลายคนจึงมองข้ามไม่คิดว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นอันตราย และไม่ใส่ใจดูแลควบคุมความดันโลหิตอย่างจริงจัง ทำให้ความดันโลหิตสูงกลายเป็นเพชฌฆาตเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยในอันดับต้นๆ เนื่องจากความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว เส้นหลอดเลือดแดงในสมองแตก
นอกจากนี้ยังนับว่าเป็นหัวขบวนของการเกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมา เพราะความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญทำให้หลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดหลอดเลือดแดงสมอง ตีบตันจนเกิดอัมพฤกษ์-อัมพาตอีก และยังทำให้ เป็นโรคไตเรื้อรัง เป็นต้นโดยปกติความดันโลหิตของคนเราจะเพิ่มสูงขึ้นปีละประมาณ 0.5-1 มม.ปรอท ดังนั้นยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จึงพบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่มากกว่า 90-95% มักจะไม่ทราบสาเหตุ แต่เชื่อว่าปัจจัยเสี่ยงอาจเกิดจาก กรรมพันธุ์ ภาวะอ้วน พฤติกรรมการกินอาหารเค็ม ไม่ออกกำลังกาย และภาวะเครียด เป็นต้น เมื่อรู้ว่าโรคความดันโลหิตสูงมีภัยอันตรายร้ายแรงถึงเพียงนี้ จึงไม่ควรนิ่งนอนใจและหมั่นตรวจเช็คความดันโลหิตด้วยตนเองเป็นประจำ โดยสามารถสั่งซื้อได้ที่เว็บไซด์ เครื่องวัดความดัน
ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่บางคนไม่มีอาการแสดงของโรค ถ้ามีอาการ เช่น มีอาการปวดศีรษะตอนเช้าแม้ว่าตอนกลางคืนนอนหลับดี หรือในบางคนอาจจะพบว่า ปวดศีรษะแบบมึนงง หรือปวดแบบตื้อๆ เวียนศีรษะเมื่อเครียด หรือนอนไม่หลับ เหนื่อยง่ายผิดปกติ แน่นหน้าอก ให้รีบพบแพทย์ เพราะความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา หรือควบคุมให้อยู่ในระดับเป้าหมายคือ ค่าตัวล่างต่ำกว่า 90 มม.ปรอท และค่าตัวบนต่ำกว่า 140 มม.ปรอท จะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะสำคัญต่างๆในร่างกายได้ โดยเฉพาะหัวใจ สมอง ไต และตา เป็นต้น เพราะความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่นานจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้นและรูหลอดเลือดเล็กลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ลดลง ทำให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานหนักขึ้นและถูกทำลาย หากรุนแรงก็อาจทำให้เสียชีวิตโดยฉับพลันได้จากโรคดังกล่าวข้างต้น
จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่าคนปกติเพิ่มขึ้น 3 เท่า มีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น6 เท่า และมีโอกาสเกิดโรคอัมพาตได้มากกว่าคนปกติเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ขณะเดียวกันก็มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายได้ เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตันหรือแตก 20-30 % และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 %
แต่ในทางตรงกันข้ามผลการศึกษาทางการแพทย์ระบุว่า หากสามารถคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับเป้าหมายหรือต่ำกว่า 140 /90 มม.ปรอท จะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาตลงได้ 35-40% ลดการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้มากกว่า 50% และช่วยลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ 20-25% ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงและมีโรคอื่นร่วมคือเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นอัมพาตแล้ว มีกล้ามเนื้อหัวใจตายไปแล้ว เป้าหมายความดันโลหิตควรต้องต่ำกว่า 130/80 ม.ม.ปรอท
การควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับเป้าหมาย สามารถทำได้โดย ลดอาหารเค็มและลดการรับประทานเกลือโซเดียม หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดน้ำหนักถ้าอ้วน ส่วนการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยอาจช่วยลดความดันโลหิตตัวบนได้บ้าง แต่ พ.ญ.วิไลไม่แนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์เพราะแอลกอฮอล์กดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจล้มเหลวเลวลงในผู้ที่มีหัวใจเริ่มจะล้มเหลว
นอกจากนี้ผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะแอลกอฮอล์ยังกระตุ้นหัวใจให้ใจเต้นผิดจังหวะมากยิ่งขึ้น และแอลกอฮอล์ยังทำให้ตับอักเสบเลวลง รวมความแล้วแอลกอฮอล์ให้ผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี จึงไม่แนะนำให้ดื่ม ผู้ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่แนะนำแล้วความดันโลหิตยังสูงอยู่ ควรต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งซึ่งมีหลายชนิด แพทย์จะเลือกสั่งยาตามความเหมาะสม ที่สำคัญต้องพบแพทย์ตามนัดและกินยาลดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อย่าหยุดยาเองเป็นอันขาดถึงแม้ความดันจะไม่สูงแล้ว เพราะถ้าหยุดยาเองความดันโลหิตจะขึ้นสูงอีก อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
“ปัจจุบันคนไทยเราโดยเฉพาะวิถีชีวิตคนเมืองที่ชีวิตเต็มไปด้วยความเร่งรีบ มักจะไม่ได้ทำอาหารรับประทานเอง การหลีกเลี่ยงอาหารเค็มจึงเป็นไปได้ยาก สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือซื้ออาหารสำเร็จ ควรหลีกเลี่ยงอาหารน้ำที่ต้องปรุงรสเค็มเพิ่ม เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ เกาเหลา แกงจืด รับประทานผัก ผลไม้มากๆ เพราะมีแร่ธาตุโปแตสเซียม ไฟเบอร์ (กากใย) จำนวนมาก (หลีกเลี่ยงผลไม้ที่หวานจัด เช่นทุเรียน) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ถ้าอ้วนให้ลดน้ำหนัก ลดเครียด และหยุดสูบบุหรี่ เป็นต้น” พญ.วิไล กล่าวสรุป
ปัจจุบันนี้มี ศูนย์สุขภาพความดัน (healthy bp club) ซึ่งก่อตั้งโดยความสนับสนุนของบริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด และได้รับความร่วมมือจากกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วย สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายในระยะยาว ปัจจุบันศูนย์ฯ มีสมาชิกมากกว่า 6,000 คน โดยสมาชิกทุกท่านจะได้รับจดหมายข่าวข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และนวัตกรรมการดูแลรักษาที่น่าสนใจ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
ที่มา : หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.thaihealth.or.th/Content/13367-แพทย์เตือนระวัง%20“ความดันโลหิตสูง”%20หัวขบวนแห่งโรคร้าย.html