เครื่องวัดความดัน ชนิดอัตโนมัติที่กำลังนิยมใช้ในปัจจุบัน |
โรคความดันโลหิตสูงสามารถเช็คได้ด้วย เครื่องวัดความดัน เป็นโรคที่อันตราย เพราะคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้ไม่ทราบว่าตัวเองเป็น บางคนเป็นหนักมากเมื่อรู้ตัวว่าเป็นความดันก็เส้นสมองแตกไปแล้ว คนที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปขอแนะนำให้ตรวจวัดด้วย เครื่องวัดความดัน เป็นระยะ ๆ เพราะหากตรวจพบว่ามีระดับสูงจะได้รักษาได้ทันท่วงที
เครื่องวัดความดัน รุ่นดั้งเดิมซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว |
วันนี้ (17 พ.ค.) เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก (World Hypertension Day) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้จัดงาน “ความดันคุมได้ หัวใจเต้นดี” บริการตรวจวัดด้วย เครื่องวัดความดัน ฟรี มีนิทรรศการความรู้เรื่องความดันโลหิตสูง บริการให้คำปรึกษาจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และ พยาบาลวิชาชีพ
องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2542 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้ด้วย เครื่องวัดความดัน มากกว่า 140 /90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ ความดันโลหิตสูงเปรียบเสมือนเพชฌฆาตเงียบ ก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นการควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
ตารางแสดงช่วงของความดันโลหิต |
พญ. นพวรรณ กิติวัฒน์ ให้ความรู้ว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก และมักจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะมีโรคความดันโลหิตสูงตามมาด้วย ส่งผลให้การรักษายากขึ้น
พูดง่าย ๆ ว่าหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ก็เหมือนมีน้ำเชื่อมอยู่ในกระแสเลือด นอกจากจะส่งผลเสียและก่อให้เกิดการเสื่อมสลายของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่ต้องแช่อยู่ในน้ำเชื่อมเป็นเวลานานแล้ว ผนังหลอดเลือดที่มีน้ำเชื่อมอาบอยู่เป็นเวลานานก็ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเช่นกัน
โรคความดันโลหิตสูงพบมากในผู้สูงอายุ สมัยนี้คนที่อายุเกิน 60 ปี จะเป็นโรคนี้ถึง 60% และในผู้ที่มีอายุเกิน 80 ปี มีสูงถึง 75% เมื่อมีความดันสูง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
รูป เครื่องวัดความดัน แบบปรอทซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้วเนื่องจากเป็นสารอันตราย |
การปรับพฤติกรรมเพื่อช่วยลดความดันโลหิตสูง
1. ลดน้ำหนัก – หากเป็นคนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์
2. มีโภชนาการที่ดี – ทานอาหารที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวที่ต่ำ มีผัก ถั่วต่าง ๆ ผลไม้ และคาร์โบไฮเดตรที่ไม่ได้รับการขัดสี
3. ลดปริมาณเกลือโซเดียม – ไม่ควรทานเกลือเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีการถนอมอาหาร เช่น อาหารกระป๋อง เพราะจะมีปริมาณโซเดียมมากเพื่อการถนอมอาหาร
4. ออกกำลังกาย – อย่างน้อย 30 นาทีเกือบทุกวัน
5. สร้างสุขนิสัยการนอนที่ดี – ควรพักผ่อนให้เพียงพอและผ่อนคลายความเครียด เช่น ทำโยคะ หรือไทชี
6. ลดปริมาณแอลกอฮอล์ – ควรดื่มไม่เกินวันละ 60 มิลลิลิตร หรืองดการดื่มเลยจะดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://th.theasianparent.com/ความดันโลหิตสูง-ภัยเงียบของคนกรุง/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น