Pocket WiFi

Pocket WiFi
Pocket WiFi แชร์เน็ทแรงได้ทุกที่ รายรื่นไม่มีสะดุด

เครื่องวัดความดัน

        เครื่องวัดความดัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"พานาโซนิค" มุ่งลูกค้าองค์กร ชูดีไวซ์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด สมบุกสมบันตอบโจทย์

เครื่องอ่านบาร์โค้ด

"พานาโซนิค" เดินหน้าปลุกปั้นตลาด "โน้ตบุ๊ก-สมาร์ทโฟน" สมบุกสมบัน ดัน 3 รุ่นใหม่ลงตลาด เจาะกลุ่มลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรม-ขนส่ง รวมถึง เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ยังคงควักกระเป๋าลงทุนต่อเนื่องสวนทางเศรษฐกิจซบทั้งเผยตลาดเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10.6% ทุกปี คาดภายในปี 2561 ทะลุ 700 ล้านบาท


นายสาทิพย์ กองจันทรา ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท พานาโซนิค ซิสเต็ม โซลูชั่น เอเชีย แปซิฟิก จำกัด เปิดเผยว่าปัจจัยจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้องค์กรต่าง ๆ ชะลอการลงทุนด้านไอทีทำให้ภาพรวมตลาดไอที เช่น คอมพิวเตอร์ แทบไม่เติบโตจากปีที่ผ่านมา แต่เมื่อเจาะลงไปตลาดอุปกรณ์ไอทีที่รองรับความสมบุกสมบันหรือสามารถใช้งานได้ในสภาวะต่าง ๆ และมีประสิทธิภาพความคงทนสูงไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบข้างต้น เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อธุรกิจทำให้องค์กรต่าง ๆ มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, ประกอบรถยนต์ รวมถึงผู้ให้บริการคลังสินค้า และระบบขนส่งต่างลงทุนในดีไวซ์สมบุกสมบันอย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มนี้ต้องใช้อุปกรณ์ที่ทนทานต่อทุกสภาพงาน และมีความคงทนสูง ทำให้มูลค่าตลาดอุปกรณ์ไอทีสมบุกสมบันที่ประกอบด้วยโน้ตบุ๊ก, แท็บเลต และแฮนด์เฮลด์
(เครื่องอ่านบาร์โค้ด, โทรศัพท์มือถือ) มีมูลค่ามากกว่า 425 ล้านบาทในปี 2556 ที่ผ่านมา และเติบโตเฉลี่ย 10.6% ทุกปี คาดว่าในปี 2561 จะมีมูลค่าถึง 700 ล้านบาท แต่มีผู้เล่นไม่ถึง 10 ราย

โดยในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่าตลาดอยู่ที่ 225 ล้านดอลลาส์สหรัฐ (ราว 7.4 พันล้านบาท) ในปี 2556 และในปี 2561 จะมีมูลค่าถึง 300 ล้านดอลลาร์ (ราว 1 หมื่นล้านบาท) หรือเติบโตภายใน 5 ปีที่ 35% เนื่องจากพื้นที่นี้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวนมาก และมีการลงทุนจากแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อสร้างศูนย์ผลิตในพื้นที่นี้ต่อเนื่อง ซึ่งอุปกรณ์ที่มีการเติบโตมากที่สุด คือ กลุ่มแฮนด์เฮลด์เพราะรวมเอาฟังก์ชั่นโทรศัพท์ และการตรวจสอบสินค้าไว้ด้วยกัน ส่วนโน้ตบุ๊ก และแท็บเลตมีอัตราการเติบโตคงที่

ล่าสุดบริษัท เครื่องอ่านบาร์โค้ด นำอุปกรณ์แฮนด์เฮลด์สมบุกสมบันรุ่น Toughpad FZ-E1 และ FZ-X1 เป็นสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8.1 ใช้ซีพียูควอดคอร์ความเร็ว 2.3 GHz กับแอนดรอยด์ 4.2.2 ใช้ซีพียูควอดคอร์ความเร็ว 1.7 GHz ตามลำดับเข้ามาทำตลาด คุณสมบัติเหมือนกันทุกประการคือ หน้าจอ 5 นิ้ว รองรับการเชื่อมต่อทุกรูปแบบ มีกล้องความละเอียด 8 ล้านพิกเซล มีตัวอ่านบาร์โค้ด และแถบแม่เหล็ก ทั้งสามารถอยู่ในน้ำลึกได้ 30 นาที และทนแรงกระแทกขั้นสูง ราคา 55,000 บาท รวมถึงโน้ตบุ๊กรุ่น Toughbook CF-54ราคา 75,000-120,000 บาท

ปัจจุบัน พานาโซนิค มีกลุ่มอุปกรณ์สมบุกสมบันในประเทศไทยอยู่ 13 รุ่น เริ่มทำตลาดมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน นำเข้าโดย บมจ.เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) และมีดีลเลอร์ช่วยทำตลาดอีกราว 20 ราย มีการจัดอบรมการใช้งานกับลูกค้า และให้ทดลองใช้เครื่องตัวอย่างเป็นเวลาครึ่งปี โดยลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ รองลงมาเป็นธุรกิจค้าปลีก, บริการขนส่ง และหน่วยงานทหาร ซึ่งสินค้าที่มีอัตราเติบโตจากปีก่อนมากที่สุดคือ แท็บเลตอยู่ที่ 20% รองลงมาเป็นแฮนด์เฮลด์ 10% และโน้ตบุ๊ก 5%

"ผู้เล่นในตลาดนี้มีไม่มาก แต่ความต้องการใช้งานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าแฮนด์เฮลด์ เพราะกลุ่มค้าปลีก, ขนส่ง รวมถึงศูนย์บริการรถยนต์มีการเพิ่มขึ้นตลอด กลุ่มนี้อยากได้เครื่องประสิทธิภาพสูงเพื่อเช็กสต๊อก หรือคำนวณค่าเพื่อตรวจสภาพรถยนต์ เราจึงมีแฮนด์เฮลด์ที่มีฟังก์ชั่นโทรศัพท์ออกมา ส่วนโน้ตบุ๊ก ปัจจุบันเราเป็นหนึ่งในผู้นำตลาด การออกรุ่นใหม่มาทำให้รักษาตำแหน่งนี้ไว้ พร้อมตั้งเป้าสร้างรายได้เติบโต 200% จากปี 2557"

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง และประเทศมาเลเซียทำหน้าที่ Configuration Center หรือจุดปรับแต่งอุปกรณ์ให้เข้ากับพื้นที่ที่ทำตลาด เช่น เปลี่ยนคีย์บอร์ดเป็นภาษาไทยหรือเพิ่มลดคุณสมบัติอุปกรณ์ หลังจากเครื่องทั้งหมดผลิตจากประเทศญี่ปุ่น โดยในสิงคโปร์ทำรายได้มากที่สุด รองลงมาเป็นมาเลเซีย และไทย แต่มีโอกาสอย่างยิ่งที่ไทยจะขึ้นมาทำรายได้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น